การใช้งาน Remote Desktop Connection บน Windows 7
ผมได้เคยโพสต์วิธีการเปิดใช้งาน Remote Desktop ใน Windows 7 ซึ่งจะเป็นการเปิดรับการรีโมทจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในบทความเรื่อง Enable Remote Desktop in Windows 7 และได้แนะนำโปรแกรมไคลเอ็นต์ Remote Desktop Connection ของ Windows 7 ในบทความเรื่อง Introducing Windows 7 Remote Desktop Connection บทความนี้จะเป็นการสาธิตวิธีการใช้งานรีโมทจาก Windows 7 ไปยังวินโดวส์เวอร์ชันอื่นๆ (Windows XP, Windows Server 2003/2008 และ Windows7)
หมายเหตุ: ข้อมูลในบทความนี้จะอยู่บนพื้นฐาน Windows 7 Ultimate (RTM)
โดยการใช้งาน Remote Desktop Connection บน Windows 7 มีขั้นตอนดังนี้
1. เปิดโปรแกรม Remote Desktop ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้
1.1 คลิก Start คลิก All Programs คลิก Accessories แล้วคลิก Remote Desktop Connection ซึ่งจะได้หน้าต่างดังรูปที่ 1
1.2 คลิก Start พิมพ์ mstsc ในช่อง Search programs and files แล้วกด Enter หรือคลิกที่ mstsc ในรายการโปรแกรม
2. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Remote Desktop Connection ให้ใส่หมายเลขไอพีหรือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเชื่อมต่อ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Connect
รูปที่ 1 Windows 7 Remote Desktop Connection
3. การทำงานของ RDC จะขึ้นอยู่กับว่าเครื่องรีโมทคอมพิวเตอร์ที่ทำการเชื่อมต่อใช้ระบบปฏิบัติการเวอร์ชันไหน ดังนี้
หมายเหตุ:
1. โดยดีฟอลท์ Server authentication จะเป็น Warn me
2. การคอนฟิก Server authentication จะคอนฟิกจากแท็บ Advanced
• เครื่องรีโมทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือ Windows Server 2003
- Windows 7 คอนฟิก Server authentication เป็น Connect and don't warn me ก็จะทำการเชื่อมต่อโดยไม่ทำการแจ้งเตือนแต่อย่างใด
- Windows 7 คอนฟิก Server authentication เป็น Warn me โปรแกรมจะทำการจะทำการแจ้งเตือนดังรูปที่ 2 ถ้าผู้ใช้ต้องการเชื่อมต่อให้คลิก Yes
รูปที่ 2 The identity of the remote computer cannot verified. Do you want to connect anyway?
- Windows 7 คอนฟิก Server authentication เป็น Do not connect จะไม่สามารถทำการเชื่อมต่อกับระบบ Windows XP และ Windows Server 2003 ได้ ซึ่งโปรแกรมจะแจ้งข้อผิดพลาดดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 Your remote desktop connection failed because the remote computer cannot authenticated.
• เครื่องรีโมทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Vista หรือ Windows Server 2008 ที่ตั้งค่า Remote Desktop เป็นระดับ Allow connections from computers running Remote Desktop with Network Level Authentication (more secure)
- Windows 7 คอนฟิกของ Server authentication เป็น Connect and don't warn me
สามารถใช้เชื่อมต่อได้ โดยไม่ทำการแจ้งเตือนแต่อย่างใด
- Windows 7 คอนฟิกของ Server authentication เป็น Warn me สามารถใช้เชื่อมต่อได้ โปรแกรมจะทำการจะทำการแจ้งเตือนดังรูปที่ 4 ถ้าผู้ใช้ต้องการเชื่อมต่อให้คลิก Yes
รูปที่ 4 The identity of the remote computer cannot verified. Do you want to connect anyway?
- Windows 7 คอนฟิก Server authentication เป็น Do not connect จะไม่สามารถเชื่อมต่อได้ โดยโปรแกรมจะทำการแจ้งเตือนดังรูปที่ 5
รูปที่ 5 Your remote desktop connection failed because the remote computer cannot be authenticated
• เครื่องรีโมทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Vista หรือ Windows Server 2008 ที่ตั้งค่า Remote Desktop เป็นระดับ Allow connections from computers running any version of Remote Desktop (less secure)
- Windows 7 คอนฟิกของ Server authentication จะเป็น Connect and don't warn me
สามารถใช้เชื่อมต่อได้ โดยไม่ทำการแจ้งเตือนแต่อย่างใด
- Windows 7 คอนฟิกของ Server authentication จะเป็น Warn me โปรแกรมจะทำการแจ้งเตือนดังรูปที่ 4 ด้านบน ถ้าผู้ใช้ต้องการเชื่อมต่อให้คลิก Yes
- Windows 7 คอนฟิก Server authentication เป็น Do not connect จะไม่สามารถเชื่อมต่อได้ โดยโปรแกรมจะทำการแจ้งเตือนดังรูปที่ 5 ด้านบน
4. ในกรณีที่เชื่อมต่อกับเครื่องรีโมทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows XP หรือ Windows Server 2003 ในหน้า Log On to Windows (รูปที่ 8) ให้ป้อน User name และ Password (ที่มีสิทธิ์ใช้งานแบบรีโมท) เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อทำการล็อกออน
รูปที่ 8 Windows Security
กรณีการเชื่อมต่อกับเครื่องรีโมทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows Vista หรือ Windows Server 2008 ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Windows Security ดังรูปที่ 9 ให้ใส่ User name และ Password เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อทำการล็อกออน
รูปที่ 9 Windows Security
5. หลังจากล็อกออนเสร็จแล้วสามารถใช้งานต่างๆ ได้เสมือนนั่งทำงานหน้าเครื่อง และเมื่อใช้งานเสร็จแล้วให้ทำการ Log Off ทุกครั้ง
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
© 2009 TWA Blog. All Rights Reserved.
0 Comment:
Post a Comment