Thursday, September 17, 2009

แนะนำไคลเอ็นต์ Remote Desktop บน Windows 7

ผมได้เคยโพสต์วิธีการเปิดใช้งาน Remote Desktop ใน Windows 7 ซึ่งจะเป็นการเปิดรับการรีโมทจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในบทความเรื่อง Enable Remote Desktop in Windows 7 สำหรับบทความนี้จะเป็นการแนะนำโปรแกรมไคลเอ็นต์ Remote Desktop ของ Windows 7 ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับใช้ทำการรีโมทไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ พร้อมรายละเอียดการคอนฟิกครับ

หมายเหตุ: ข้อมูลในบทความนี้จะอยู่บนพื้นฐาน Windows 7 Ultimate (RTM)

Remote Desktop Connection
โปรแกรม Remote Desktop Connection (RDC) ใน Windows 7 นั้นจะเป็นเวอร์ชัน 6.1.7600 (รูปที่ 2) ซึ่งมีการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น และได้รับการปรับปรุงด้านความปลอดภัยให้สูงยิ่งขึ้น รองรับการทำ Network Level Authentication โดยดีฟอลท์ และในส่วนของของ Server authentication เป็นกำหนดให้เป็น Warn me โดยดีฟอลท์เช่นกัน

แนะนำ Network Level Authentication (NLA)
Network Level Authentication (NLA) คือ วิธีการรับรองความถูกต้องแบบใหม่ที่ต้องให้การรองรับความถูกต้องของผู้ใช้สมบูรณ์ก่อนที่จะทำสร้างการเชื่อมต่อ Remote Desktop อย่างเต็มรูปแบบและแสดงหน้าจอเข้าสู่ระบบ NLA เป็นวิธีการรองรับความถูกต้องที่มีความปลอดภัยขึ้นซึ่งสามารถช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์ระยะไกลจากแฮกเกอร์และโปรแกรมที่เป็นอันตราย ข้อดีของ NLA ได้แก่
  • ใช้ทรัพยากรจากคอมพิวเตอร์ระยะไกลน้อยกว่าในตอนเริ่มต้น คอมพิวเตอร์ระยะไกลใช้ทรัพยากรแบบจำกัดก่อนที่จะรับรองความถูกต้องให้กับผู้ใช้
  • ช่วยทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้นด้วยการลดความเสี่ยงของการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ
  • สามารถใช้การรับรองความถูกต้องของคอมพิวเตอร์ระยะไกลเพื่อปกป้องผู้ใช้จากการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ระยะไกลที่ติดตั้งโดยแฮกเกอร์ได้

การเรียกใช้งานไคลเอ็นต์ Remote Desktop Connection ทำได้โดยการคลิก Start คลิก All Programs คลิก Accessories แล้วคลิก Remote Desktop Connection ซึ่งจะได้หน้าต่างดังรูปที่ 1


รูปที่ 1 Remote Desktop Connection


รูปที่ 2 About Remote Desktop Connection

การคอนฟิก Remote Desktop Connection
การคอนฟิก Remote Desktop Connection นั้นทำได้โดยการคลิกที่ไอคอนออปชันดังรูปที่ 1 โดยจะมีแท็บต่างๆ จำนวน 6 แท็บ ดังนี้

General
แท็บ General จะใช้ในการคอนฟิก Logon Settings และ Connection Settings ในกรณีที่ต้องการบันทึก Credential (User name และ Password) ไว้เพื่อความสะดวกในการใช้งานในครั้งต่อๆ ไป ให้เลือก Allow me to save my credentials


รูปที่ 3 General tab

Display
แท็บ Display จะใช้ในการคอนฟิกการแสดงผลของการเชื่อมต่อ โดยสามารถทำการแสดงสีได้ตั้งแต่ High Color (15 bit) จนถึงระดับ Highest Quality (32 bit)


รูปที่ 4 Display tab

Local Resources
แท็บ Local Resources เป็นส่วนของการคอนฟิกทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่บนเครื่องโลคอลคอมพิวเตอร์ โดยมีให้อยู่ 3 กลุ่ม ดังนี้ Remote Audio, Keyboard และ Local devices and resources


รูปที่ 5 Local Resources tab

1. Remote Audio
เป็นการคอนฟิกว่าจะให้เิปิดเสียงแบบไหน ซึ่งมี 3 ตัวเลือก ดังนี้
1.1 Play on this computer
1.2 Do not play
1.3 Play on remote computer


รูปที่ 6 Audio

2. Keyboard
เป็นการคอนฟิกการทำงานของคีย์บอร์ด ซึ่งมี 3 ตัวเลือก ดังนี้
2.1 On the local computer
2.2 On the remote computer
2.3 Only when using the full screen

3. Local devices and resources
เป็นการคอนฟิกการ การรีไดเร็กทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่บนเครื่องโลคอลคอมพิวเตอร์ (เครื่องต้นทาง) ไปใช้งานยังเครื่องรีโมทคอมพิวเตอร์ (เครื่องปลายทาง) เมื่อทำการเชื่อมต่อแบบรีโมท เช่น Printers, Smart cards, Ports และ Drives รวมถึงการแชร์ Clipboard


รูปที่ 7 Local devices and resources

Programs
แท็บ Programs จะใช้ในการคอนฟิก โปรแกรมที่ต้องการให้รันเมื่อทำการเชื่อมต่อสำเร็จ ตัวอย่างเช่น ทำการรันโปรแกรม notepad เป็นต้น


รูปที่ 8 Programs tab

Experience
แท็บ Experience จะใช้ในการคอนฟิกความเร็วของการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย โดยมีค่าให้เลือกตั้งแต่ความเร็วต่ำสุดคือ Modem (56 Kbps) จนถึงความเร็วสูงสุดคือ Lan (10 Mbps or higher) ในหน้านี้ให้ตั้งค่าให้เหมาะสมกับความเร็วของระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่


รูปที่ 9 Experience tab

Advanced
แท็บ Advanced จะใช้ในการคอนฟิกการทำ Server authentication และ Connect from anywhere

Server authentication
โดยดีฟอลท์ Server authentication จะกำหนดเป็น Warn me ซึ่งจะแจ้งเตือนผู้ใช้ดังรูปที่ 11 เมื่อทำการเชื่อมต่อกับเครื่องรีโมทคอมพิวเตอร์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งผู้ใช้จะเป็นคนเลือกว่าจะทำการเชื่อมต่อหรือไม่


รูปที่ 10 Advanced tab


รูปที่ 11 Security Warning

Connect from anywhere
จะเป็นการคอนฟิก RD Gateway Server Settings โดยค่าดีฟอลท์จะเป็น Automatically detect RD Gateway Server Settings หากต้องการตั้งค่าแบบกำหนดเอง ให้ติดต่อผู้ดูแลระบบเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับ RD Gateway Server


รูปที่ 12 RD Gateway Server Settings

© 2009 TWA Blog. All Rights Reserved.

Related Posts:

  • วิธีติดตั้ง KMS Host สำหรับใช้ Activate โปรแกรม Microsoft Office 2013วันนี้ผมมีวิธีการติดตั้ง KMS Host สำหรับใช้เปิดใช้งาน (Activate) โปรแกรมตระกูล Microsoft Office 2013 รุ่นโวลุ่มไลเซนส์มาฝากครับ โดยการเปิดใช้งานวิธีนี้สามารถใช้ได้กับโปรแกรมรุ่นโวลุ่มไลเซนส์ต่างๆ อย่างเช่น Office Professional… Read More
  • วิธีตั้ง Default Logon Domain บนหน้า Windows Logon เมื่อใช้งาน Windows ในสภาพแวดล้อมหลาย AD Domainวันนี้มีวิธีตั้งโดเมนล็อกออนเริ่มต้น (Default Logon Domain) บนหน้าจอ Windows Logon เมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ Windows ในสภาพแวดล้อมแบบหลายแอคทีฟไดเร็กตอรีโดเมน (Active Directory Domain) มาฝาก ซึ่งผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ด… Read More
  • การอัปเดท Windows 8 ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์ WSUSการอัปเดท Windows 8 โดยทั่วไปทำได้ 3 วิธี คือทำการอัปเดทผ่านเว็บไซต์ Windows Update หรือดาวน์โหลดอัปเดทจากศูนย์ดาวน์โหลดของไมโครซอฟท์แล้วทำการติดตั้งด้วยตนเอง 2 วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป หรือทำการอัปเดทผ่านเซิร์ฟเวอร์ Wi… Read More
  • การบูท Windows 8 จาก Virtual Hard Diskบทความนี้ ผมมีวิธีการติดตั้ง Windows 8 บนฮาร์ดดิสก์เสมือน (Virtual Hard Disk หรือ VHD) มาฝากครับ ซึ่งการติดตั้ง Windows บนฮาร์ดดิสก์เสมือนนั้นเป็นทางเลือกสำหรับงานด้านทดสอบซอฟต์แวร์ เนื่องจากเป็นวิธีที่มีผลกระทบกับการทำงานของ… Read More
  • รายชื่อคำสั่งใหม่บน Windows 8วิธีการเปิดโปรแกรมบน Windows นั้นทำได้หลากหลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ดูแลระบบหรือผู้ใช้ขั้นสูงคือ การเปิดโปรแกรมจากคำสั่งรัน (Run) เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็วและยังใช้เปิดโปรแกรมได้หลากหลาย อย่างเช่น งาน … Read More

0 Comment: