ปัจจุบัน เว็บไซต์ต่างๆ นั้นมีการใช้ Adobe Flash กันอย่างขว้างขวาง และเว็บเบราเซอร์แทบจะทุกตัวก็จะมีฟีเจอร์รองรับการทำงานของ Adobe Flash (ต้องทำการติดตั้งเพิ่มเติมด้วยตน) แต่ถ้าโปรแกรมปลั๊กอิน Adobe Flash Player มีข้อผิดพลาด (Bug) หรือมีช่องโหว่ (Vulnerability) ก็อาจจะมีผลกระทบด้านประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งอาจจะทำให้เว็บเบราเซอร์ไม่มีเสถียรภาพในการทำงาน หรือมีผลกระทบด้านความปลอดภัยซึ่งไวรัสหรือแฮกเกอร์อาจใช้โจมตีระบบได้ ตามลำดับ
ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้ Firefox จะต้องทำการตรวจสอบและอัพเดทโปรแกรมปลั๊กอิน Adobe Flash Player ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ค่อยสะดวกและปลอดภัยนัก เนื่องจากถ้าผู้ใช้ไม่ได้ทำการอัพเดทจะทำให้ข้อผิดพลาดหรือมีช่องโหว่ (Vulnerability) ยังคงมีอยู่บนระบบ ซึ่ง Mozilla ได้ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้พัฒนาฟีเจอร์ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบเวอร์ชันของโปรแกรมปลั๊กอิน Adobe Flash Player หากตรวจพบว่าเป็นเวอร์ชันเก่าก็จะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเพื่อทำการอัพเดท โดยฟีเจอร์ดังกล่าวนี้จะมีใน Firefox 3.5.3 และ 3.0.14 (ซึ่งจะออกในวันที่ 9 กันยายน ที่จะถึงนี้ ) เป็นต้นไป
สาเหตุที่ Mozilla ได้เพิ่มฟีเจอร์ตรวจสอบเวอร์ชันของโปรแกรมปลั๊กอิน Adobe Flash Player ใน Firefox เนื่องจาก มีการใช้ Adobe Flash กันอย่างขว้างขวางในเว็บไซต์ต่างๆ และที่สำคัญ จากผลการศึกษาของ Mozilla พบว่า มีผู้ใช้ Firefox ถึง 80 % ที่ไม่ได้ทำการอัพเดท ปลั๊กอิน Adobe Flash Player
โดยหลังจากที่ผู้ใช้ทำการอัพเดท Firefox เป็นเวอร์ชัน 3.5.3 หรือ 3.0.14 ถ้าโปรแกรม ปลั๊กอิน Adobe Flash Player ที่ใช้อยู่เป็นเวอร์ชันเก่า Firefox จะแสดงไดอะล็อกข้อความดังรูปด้านล่าง
Firefox Flash warning
สำหรับผู้ใช้ Firefox ที่ไม่ได้ติดตั้ง ปลั๊กอิน Adobe Flash Player หรือทำการอัพเดทเป็นเวอร์ชันปัจจุบันแล้ว หลังลังจากทำการอัพเดท Firefox เป็นเวอร์ชัน 3.5.3 หรือ 3.0.14 โปรแกรมก็จะทำงานตามปกติ นอกจากนี้ Mozilla ยังร่วมมือกับผู้พัฒนาปลั๊กอินรายอื่นๆ เพื่อให้ Firefox ทำการตรวจสอบเวอร์ชันของปลั๊กอินในลักษณะเดียวกับปลั๊กอิน Adobe Flash Player โดยจะมีในเวอร์ชันต่อๆ ไปของ Firefox
ท้ายนี้ผมขอย้ำว่า การอัพเดทซอฟต์แวร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบวินโดวส์ โปรแกรมประยุกต์ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ โปรแกรมแอดออน ฌโปแรกรมปลั๊กอิน เป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในกาใช้งานของท่านเอง
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
ที่มา
• Helping users keep plugins updated
© 2009 TWA Blog. All Rights Reserved.
0 Comment:
Post a Comment