Monday, March 9, 2009

Windows Server 2008 Remove Active Directory Domain Services Role

บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog

การลบ Active Directory Domain Services
ในบทความนี้ผมจะแสดงถึงขั้นตอนการลบ Active Directory Domain Services บน Windows Server 2008 โดยในที่นี้จะเป็นการลบโดเมนคอนโทรลเลอร์ตัวสุดท้ายออกจากโดเมน

• ขั้นตอนการลบ Active Directory Domain Services
1. ทำการล็อกออนเข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ด้วยยูสเซอร์ที่เป็นโดเมนแอดมิน จากนั้นพิมพ์ dcpromo ในกล่อง Start Search แล้วคลิก dcpromo จากรายการโปรแกรมดังรูปที่ 1.

Dcpromo
รูปที่ 1. Dcpromo

2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Welcome to Active Directory Domain Services Installation Wizard ให้คลิก Next

ADDS Installation Wizard
รูปที่ 2. Welcome to ADDS Installation Wizard

3. ในกรณีที่โดเมนคอนโทรลเลอร์ (Domain Controller) ตัวที่จะทำการลบเป็นโกลบอลแคตาล็อกเซิร์ฟเวอร์ (Global Catalog) ของโดเมน วินโดวส์จะแสดงหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ดังรูปที่ 3. ให้คลิก OK เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป

หมายเหตุ: ในกรณีที่โดเมนคอนโทรลเลอร์ (Domain Controller) ตัวที่จะทำการลบเป็นโกลบอลแคตาล็อก (Global Catalog) เซิร์ฟเวอร์ แต่ไม่ได้เป็นโดเมนคอนโทรลเลอร์ตัวสุดท้ายของโดเมน ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ใช้สามารถเข้าถึงโกลบอลแคตาล็อกเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นๆ ได้

Global Catalog
รูปที่ 3. Global Catalog

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Delete the Domain ให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ Delete the Domain because this server is the last Domain controller in the domain เสร็จแล้วคลิก Next

หมายเหตุ: ในที่นี้โดเมนคอนโทรลเลอร์ไม่ได้เป็นโดเมนคอนโทรลเลอร์ตัวสุดท้ายของโดเมน ไม่จำต้องเลือกเช็คบ็อกซ์ Delete the Domain because this server is the last Domain controller in the domain

Delete the Domain
รูปที่ 4. Delete the Domain

5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Delete Application Partition ให้คลิก Next
6. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Confirm Deletion ในที่นี้เลือกเช็คบ็อกซ์ Delete all apllication partitions on this Active Directory domain controller เสร็จแล้วให้คลิก Next

Confirm Deletion
รูปที่ 5. Confirm Deletion

7. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Administrator Password ให้ป้อนรหัสผ่านที่จะใช้เป็นรหัสผ่านของแอดมินในกล่อง Password และ Confirm Password เสร็จแล้วคลิก Next

Administrator Password
รูปที่ 6. Administrator Password

8. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Summary ให้คลิก Next แล้วรอจนการลบ Active Directory Domain Services แล้วเสร็จ
9. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Completing the Active Directory Domain Services Installation Wizard ให้คลิก Finish

Completing Remove ADDS
รูปที่ 7. Completing Remove ADDS

10. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ถัดไปให้คลิก Restart Now

Restart Now
รูปที่ 8. Restart Now

หลังจากเซิร์ฟเวอร์รีสตาร์ทแล้วเสร็จให้ทำการล็อกออนด้วยแอคเคาท์ Administrator และรหัสผ่านที่กำหนดในขั้นตอนที่ 7 ด้านบน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
• แนะนำ Active Directory เว็บไซต์ Windows Server 2003 Active Directory
• การติดตั้ง ADDS บน Windows Server 2008 Windows Server 2008 Active Directory Domain Services

Copyright © 2009 All Rights Reserved.

Related Posts:

  • การแสดง Administrative Tools บน Windows Server 2008การแสดง Administrative Tools Administrative Tools นั้น เป็นแหล่งที่เก็บชอร์ตคัทคำสั่งต่างๆ สำหรับใช้ในการจัดการระบบ โดยดีฟอลท์นั้น Windows Server 2008 จะไม่แสดง Administrative Tools บน Start Menu การกำหนดให้แสดง Administrat… Read More
  • How to disable IPv6 in Windows Vista and Windows Server 2008การดิสเอเบิล IPv6 ใน Windows Vista และ Windows Server 2008 โดยดีฟอลต์บน Windows Vista และ Windows Server 2008 จะทำการติดตั้ง Internet Protocol version 6 (TCP/IPv6) โดยอัตโนมัติ และไม่สามารถทำการยกเลิกการติดตั้ง (Uninstall) ได… Read More
  • Things to know about Windows Vista & Windows Server 2008 SP2สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ Windows Vista และ Windows Server 2008 SP2 บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog ก่อนทำการติดตั้ง Windows Vista และ Windows Server 2008 SP2 นั้นมีความต้องการระบบก่อนติดตั้งและสิ่งต่างๆ ที่ต้องทราบ ดัง… Read More
  • Windows Vista and Windows Server 2008 SP2 RTM ReleasedWindows Vista and Windows Server 2008 Service Pack 2 ออกแล้ว บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog วันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ออก Windows Vista และ Windows Server 2008 Service Pack 2 เวอร์ชัน Release to Manufa… Read More
  • Installing Windows Server 2008 Beta 3Windows Server 2008 (หรือที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่า Longhorn) นั้นเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายตัวใหม่ของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นการพฒนาต่อจาก Windows Server 2003 โดยได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิการทำงานที่สูงขึ้น และยังได้เพิ่มฟีเจอร์ใ… Read More

0 Comment: