โดยทั่วไปเราจะทำการปิดหรือรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ Windows XP โดยการคลิกปุ่ม Start จากนั้นคลิก Turn Off Computer แล้วเลือก Turn Off เพื่อปิดเครื่อง หรือ Restart เพื่อรีสตาร์ทเครื่อง นอกจากนี้เรายังสามารถใช้คำสั่ง shutdown.exe ซึ่งได้สาธิตไปแล้วก่อนหน้านี้ (อ่านรายละเอียด) และคำสั่ง Tsshutdn.exe ซึ่งจะเป็นเนื้อหาของเรื่องนี้
ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการใช้งานขอเริ่มต้นด้วยการแนะนำคำสั่ง Tsshutdn ดังต่อไปนี้
คำสั่ง Tsshutdn
คำสั่ง Tsshutdn.exe เป็นคำสั่งแบบคอมมานด์ไลน์ สามารถใช้ในการปิดหรือรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือทำการล็อกออฟผู้ใช้ (Users) ออกจากระบบ เช่นเดียวกันกับคำสั่ง shutdown.exe
คำสั่ง Tsshutdn.exe นั้นถูกออกแบบมาสำหรับใช้งานบนระบบเซิร์ฟเวอร์แต่ว่าสามารถทำงานบน Windows XP ได้อย่างไม่มีปัญหา และสามารถทำงานได้ทั้งแบบโลคอลและรีโมท และมีมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows XP
รายละเอียดรคำสั่ง Tsshutdn.exe
คำสั่ง Tsshutdn.exe นั้นมีอ็อปชันให้เลือกใช้งานหลายตัว โดยสามารถดูวิธีการใช้งาน โดยการพิมพ์คำสั่ง Tsshutdn.exe /? หรือ Tsshutdn.exe /help ที่คอมมานด์พรอมท์
หมายเหตุ: หากรันคำสั่ง Tsshutdn.exe โดยไม่ใส่อ็อปชันจะเป็นการปิดเครื่องใน 60 วินาที โดยสามารถยกเลิกได้โดยการกด Ctrl + C
รูปแบบคำสั่ง
TSSHUTDN [wait_time] [/SERVER:servername] [/REBOOT] [/POWERDOWN] [/DELAY:logoffdelay] [/V]
อ็อปชัน
wait_time เวลาที่ใช้ในการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ค่าดีฟอลท์ 60 วินาที
/SERVER:servername ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ "servername" แบบรีโมท หากไม่ใส่จะทำการปิดเครื่องโลคอล
/REBOOT ทำการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์
/POWERDOWN ทำการปิดเครื่อง
/DELAY:logoffdelay เวลาที่รอหลังจากทำการล็อกออฟเซสชันการเชื่อมต่อทั้งหมดค่าดีฟอลท์ 30 วินาที
/V รายละเอียดหรือข้อความที่จะแสดงให้ผู้ใช้ทราบเมื่อทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
การใช้งานแบบ Local
ในการใช้งานคำสั่ง Tsshutdn แบบโลคอลนั้นให้ทำการรันคำสั่งตามหัวข้อที่ต้องการด้านล่าง
• ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และปิดโปรแกรมในเวลา 10 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>Tsshutdn.exe 10
• ทำการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์และปิดโปรแกรมในเวลา 5 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>Tsshutdn.exe 5 /REBOOT
• ทำการล็อกออฟผู้ใช้ที่กำลังใช้งานในเวลา 15 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>Tsshutdn.exe /DELAY:15
การใช้งานแบบ Remote
ใน การใช้งานคำสั่ง Tsshutdn แบบรีโมทนั้นจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อผ่านทาง Remote IPC ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสั่งการ
โดยสามารถใช้งานคำสั่ง Tsshutdn.exe แบบรีโมทได้ 2 รูปแบบตามหัวข้อด้านล่าง
• ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ staff1 และปิดโปรแกรมในเวลา 1 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>Tsshutdn.exe -s -m \\staff1 -f -t 01
• ทำการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ staff1 และปิดโปรแกรมในเวลา 5 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>Tsshutdn.exe -r -m \\staff1 -f -t 05
หมายเหตุ:
วิธีการเปิดคอมมานด์พรอมท์ให้คลิกที่ Start พิมพ์ cmd ในกล่อง run เสร็จแล้วคลิก OK
Copyright © 2009 All Rights Reserved.
Tuesday, March 10, 2009
ปิดหรือรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ Windows XP ด้วยคำสั่ง Tsshutdn
Related Posts:
วิธีการสร้างยูสเซอร์จากคอมมานด์พร้อมท์บน Windows XPบน Windows XP การสร้างยูสเซอร์ใหม่ (Create New User) นั้นสามารถทำได้ทั้งแบบ GUI โดยใช้เครื่งมือ Computer Management (อ่านรายละเอียดได้จาก Create new user in Windows XP with computer management และแบบคอมมานด์ไลน์โดยใช้คำสั่ง n… Read More
วิธีทำให้โฟลเดอร์เป็น Private Folder บน Windows XPผู้ใช้ Windows XP ที่มีการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกันกับผู้ใช้คนอื่น สามารถกำหนดให้โฟลเดอร์ส่วนตัวที่ต้องการให้เป็น Private Folder เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้คนอื่นแอคเซสข้อมูลในโฟลเดอร์ดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อควรทราบ… Read More
เทคนิคการรันสคริปท์โดยใช้ Run asโดยทั่วไปนั้นผู้ใช้ส่วนมากจะทำการล็อกออนเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยยูสเซอร์ที่ธรรมดา ซึ่งไม่มีสิทธิ์ในการคอนฟิกหรือแก้ไขระบบ แต่ในบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องทำงานบางอย่างในด้านการจัดการระบบ เช่น การติดตั้งโปรแกรมต่างๆ หรือรันวิ… Read More
จัดการ User Account ด้วยคำสั่ง net.exeบทความนี้ ผมมีวิธีการจัดการ User Account ด้วยคำสั่ง net.exe มาฝากครับ จัดการ User Account ด้วยคำสั่ง net.exe คำสั่ง net.exe เป็นคำสั่งแบบ Command-line สามารถใช้จัดการ User Account ได้โดยการใช้คู่กับพารามิเตอร์ user เช่น การเ… Read More
ไมโครซอฟท์หยุดให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่ผู้ใช้ Windows XP ในเวลาไม่ถึง 2 ปีไมโครซอฟท์จะให้การสนับสนุนทางเทคนิคแบบ Extended support แก่ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP Service Pack 3 (SP3) ไปจนถึงวันที่ 8 เมษายน 2557 ซึ่งนับจากวันที่เขียนเรื่องนี้ (12 เมษายน 2555) จะเหลือระยะเวลาอีกไม่ถึง 2 ปี Win… Read More
0 Comment:
Post a Comment