บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
การเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าโดเมน Windows Server 2008 จากคอมมานด์ไลน์
การเพิ่มเครื่องไคลเอ็นต์คอมพิวเตอร์เข้าเป็นสมาชิกของโดเมนในสภาพแวดล้อมแบบ Windows Server 2008 โดเมน นั้นสามารถที่จะกระทำได้จากเครื่องไคลเอ็นต์เอง (อ่านรายละเอียดได้ที่ Add Windows 7 to AD Domain) อย่างไรก็ตามแอดมินยังสามารถใช้เครื่องมือชื่อ Netdom.exe ทำการเพิ่มไคลเอ็นต์คอมพิวเตอร์เข้าเป็นสมาชิกของโดเมนจากระยะไกลได้ โดย Netdom.exe นั้นเป็นเครื่องมือแบบคอมมานด์ไลน์ และแอดมินสามารถใช้ในการเพิ่มไคลเอ็นต์ได้จากบนเครื่อง Windows Server 2008 ที่เป็น Domain Controller หรือ Member Server ก็ได้
รูปแบบคำสั่ง Netdom.exe:
netdom join machine /Domain:DomainName [/OU:ou path] [/UserD:UserName] [/PasswordD:[password / *] ] [/UserO:UserName] [/PasswordO:[password / *]] [REBoot:Time in seconds] [SecurePasswordPrompt]
พารามิเตอร์:
/ComputerName: ชื่อเครื่องไคลเอ็นต์คอมพิวเตอร์ที่ต้องการเพิ่มเข้าเป็นสมาชิกของโดเมน
/DomainName: ชื่อของโดเมน
/OU: ชื่อโอยูที่ต้องการเพิ่มเครื่องไคลเอ็นต์คอมพิวเตอร์เป็น (อ็อปชัน*)
/UserD: โดเมนแอคเคาท์ที่จะใช้ในการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าเป็นสมาชิกของโดเมน
/PasswordD: พาสเวิร์ดของโดเมนแอคเคาท์ที่จะใช้ในการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าเป็นสมาชิกของโดเมน
/UserO: โลคอลแอคเคาท์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะทำการเพิ่มเข้าเป็นสมาชิกของโดเมน
/PasswordO: พาสเวิร์ดของโลคอลแอคเคาท์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะทำการเพิ่มเข้าเป็นสมาชิกของโดเมน
/REBoot: จำนวนเวลาเป็นวินาทีที่ให้รอ ก่อนทำการรีบูตเครื่องไคลเอ็นต์คอมพิวเตอร์หลังจากเพิ่มเข้าเป็นสมาชิกของโดเมนเสร็จแล้ว ค่าดีฟอลท์เป็น 30 วินาที (อ็อปชัน*)
/SecurePasswordPrompt: แสดงป็อปอัพสำหรับป้อนค่า Credential ซึ่งจะใช้ในกรณีล็อกออนด้วยสมาร์ทการ์ด และกำหนดให้ระบบถามรหัสผ่าน หรือ /PasswordD:* หรือ PasswordO:* (อ็อปชัน*)
หมายเหตุ:
* เป็นค่าที่ใส่หรือไม่ก็ได้
ตัวอย่างการใช้ Netdom.exe:
ต้องการเพิ่มไคลเอ็นต์คอมพิวเตอร์รายละเอียดดังนี้
Computer name: dellvista
Domain name: blog.thwab.com
Domain Account: administrator
Local Acount: pcad
Password: ให้ถามพาสเวิร์ดในการทำงาน
Reboot: ใช้ค่าดีฟอลท์ คือ 30 วินาที
คำสั่งที่ใช้เพิ่มไคลเอ็นต์คอมพิวเตอร์จะเป็นดังนี้
netdom join dellvista /Domain:blog.thwab.com /UserD:administrator /PasswordD:* /UserO:administrator /PasswordO:*
หลังจากทำการรันคำสั่งสำเร็จแล้ว เครื่องไคลเอ็นต์คอมพิวเตอร์จะทำการรีสตาร์ทโดยอัตโนมัติใน 30 วินาที หลังการรีสตาร์ทแล้วเสร็จ ให้ทดลองทำการล็อกออนเข้าเครื่องด้วยโดเมนแอคเคาท์
Copyright © 2009 All Rights Reserved.
Wednesday, March 25, 2009
Home »
Windows Server 2008
» Join Computer to AD Domain from Command Line
Join Computer to AD Domain from Command Line
Related Posts:
ทำความรู้จักกับ System Update Readiness ToolSystem Update Readiness Tool เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาวินโดวส์ไม่สามารถทำการติดตั้งอัพเดทได้ที่มีสาเหตุมาจากความไม่สอดคล้องกันของทรัพยากรต่างๆ ของระบบ เนื่องจากบนระบบวินโดวส์นั้น เมื่อใช้งานไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง อาจจ… Read More
การติดตั้ง WSUS 3.0 SP2 บน Windows Server 2008 R2 Enterpriseบทความนี้จะแสดงวิธีการติดตั้งหน้าที่ Windows Server Update Services (WSUS) 3.0 SP2 บนระบบ Windows Server 2008 R2 Enterprise x64 ซึ่งเป็นระบบเวอร์ชวลแมชชีน (Virtual Machine) ดาวน์โหลด WSUS 3.0 SP2 ใน Windows Server 2008 R2 En… Read More
ไมโครซอฟท์ออก System Update Readiness Tool [August 2011] เพื่อแก้ปัญหาการติดตั้ง Update, Service Pack และ Software บน Windows 7ไมโครซอฟท์ออก System Update Readiness Tool เวอร์ชันอัพเดท August 2011 เพื่อแก้ปัญหาการติดตั้ง Update, Service Pack และ Software ผ่านทาง Windows Update บน Windows 7 โดย System Update Readiness Tool ที่ออกในครั้งนี้มีทั้งเวอร์ช… Read More
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดทสำหรับแก้ปัญหาการติดตั้ง Service Pack 2 บน Windows Vista และ Windows Server 2008ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ได้เปิดให้ดาวน์โหลด System Update Readiness Tool ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดเมื่อผู้ใช้ทำการติดตั้ง Windows Vista Service Pack 2 (SP2) หรือ Windows Server 2008 Service Pack 2 (SP2) โดยป… Read More
วิธีแก้ปัญหา The trust relationship between this workstation and the primary domain failed บน Windows Server 2008 R2บทความนี้ผมมีประสบการณ์การแก้ปัญหาล็อกออน Windows Server ที่เป็นสมาชิกของแอคทีฟไดเร็กตอรีโดเมนแล้วได้รับข้อความว่า "The trust relationship between this workstation and the primary domain failed" โดยการใช้คำสั่ง NETDOM มาฝากคร… Read More
0 Comment:
Post a Comment