Wednesday, April 22, 2009

Windows Server 2003 System State Backup

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำ Knowledge Management ของทีมบริหารเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2003

การจัดการความรู้ในการแบ็คอัพ System State ของทีมบริหารเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2003
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog

ขั้นตอนที่ 1. รวบรวมรายละเอียดเซิร์ฟเวอร์
System State ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ คือ ข้อมูลต่างๆ ของระบบ เช่น Registry, COM Wass Registration database และ System boot file ถ้าเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะรวมถึง Certificate Service database ถ้าเป็นโดเมนคอนโทรลเลอร์จะรวมถึง Active Directory services database และ SYSVOL directory ด้วย โดยขั้นแรกให้รวบรวมเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2003 ที่ต้องทำการแบ็คอัพ System State โดยในที่นี้มีจำนวน 8 ตัว คือ

1. WSVR1 เป็น Domain Controller / DNS Server หมายเลขไอพี 192.168.2.9
2. WSVR2 เป็น Domain Controller หมายเลขไอพี 192.168.1.176
3. WSVR3 เป็น Domain Controller หมายเลขไอพี 192.168.2.6
4. WSVR4 เป็น Member Server / File Server หมายเลขไอพี 192.168.2.7
5. WSVR5 เป็น Domain Controller / File Server หมายเลขไอพี 192.168.2.8
6. WSVR6 เป็น Member Server / ISA Server หมายเลขไอพี 192.168.2.3
7. WSRV7 เป็น Member Server / Web Server / Ghost Server หมายเลขไอพี 192.168.2.1
8. WSVR8 เป็น Member Server / Print Server หมายเลขไอพี 192.168.2.2

ขั้นตอนที่ 2. ทำการแบ็คอัพ System State
การแบ็คอัพ System State ของ Windows Server 2003 นั้นจะตั้งเวลาให้ทำการแบ็คอัพโดยอัตโนมัติทุกๆ วัน ในเวลา 2.00 น. - 4.00 น.

ขั้นตอนที่ 3. การจัดเก็บไฟล์แบ็คอัพ System State บนไฟล์เซิร์ฟเวอร์
การจัดเก็บไฟล์แบ็คอัพ System State บนไฟล์เซิร์ฟเวอร์นั้น ให้ทำการจัดเก็บแยกเป็นเดือนๆ ไว้ที่แชร์โฟลเดอร์ \\Wsvr3\temp$\”Folder”\”Server Name” โดยให้ตั้งชื่อ “Folder” ในรูปแบบ “เดือนที่_ชื่อย่อของเดือนตัวเลขสองตัวหลังของ ค.ศ._ST” เช่น 03_MAR09_ST โดยบันทึกเฉพาะไฟล์แบ็คอัพ System State ของเซิร์ฟเวอร์ตัวที่มีความสำคัญ ในที่นี้คือเซิร์ฟเวอร์ WSVR1, WSVR2, WSVR3, WSVR4, WSVR5, WSVR6 และ PRINTSVR1

ขั้นตอนที่ 4. การบันทึกไฟล์แบ็คอัพ System State ลงแผ่นดีวีดี
การบันทึกไฟล์แบ็คอัพ System State ลงแผ่นดีวีดีนั้น ให้ดำเนินการเดือนละครั้ง โดยให้บันทึกไฟล์ Readme.txt ซึ่งบรรจุรายละเอียดเกี่ยวกับด้านต่างๆ เช่น System Configuration, วันที่อ้างอิงรหัสผ่านของAdministrator และข้อมูลอื่นๆ ตามความเหมาะสม

เมื่อทำการบันทึกลงแผ่นดีวีดีเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการลบไฟล์แบ็คอัพ System State ที่บันทึกแล้วออกจากไฟล์เซิร์ฟเวอร์

ขั้นตอนที่ 5. การรีสโตร์ System State
การรีสโตร์ System State จะดำเนินการในกรณีต้องการกู้คืนระบบเมื่อระบบมีปัญหาเท่านั้น

วิธีการแบ็คอัพ System State ใน Windows Server 2003
การแบ็คอัพ System State ใน Windows Server 2003 มีขั้นตอนดังนี้

1. เรียกใช้โปรแกรม Backup โดยคลิก Start คลิก All Programs คลิก Accessoriesคลิก System Tools คลิก Backup จะได้หน้าต่าง Backup Utility

2. ในหน้าต่าง Backup Utility บนแท็บ Welcome คลิก Backup Wizard (Advanced) จะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ Backup Wizard ให้คลิก Next เพื่อเริ่มทำการ Backup

3. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ What to Back Up เลือก Only backup the System State data เสร็จแล้วให้คลิก Next

4. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Backup Type, Destination, and Name ให้เลือกโฟลเดอร์ที่จะใช้เก็บไฟล์ Backup โดยในส่วน Choose a place to save your backup: ให้คลิกเม้าส์ที่ปุ่ม Browse เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการแล้วคลิก Open จากนั้นในหน้า Save As ให้ใส่ชื่อไฟล์ที่ต้องการในกล่อง File name เสร็จแล้วคลิก Save จากนั้นหากต้องการกำหนดชื่อให้การ Backup เอง ให้พิมพ์ชื่อที่ต้องการในกล่องType a name for this backup (โดยดีฟอลท์ระบบกำหนดชื่อให้การ Backup เหมือนกับชื่อไฟล์แบ็คอัพ) เสร็จแล้วคลิก Next

5. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Completing the Backup Wizard ให้คลิก Advanced จากนั้นในไดอะล็อกบ็อกซ์ Type of Backup ในส่วน Select the type of backup: ให้เลือกประเภทของการแบ็คอัพที่ต้องการ ซึ่งมีให้เลือก 5 ประเภทคือ Normal, Copy, Incremental, Differential และ Daily เสร็จแล้วคลิก Next

6. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ How to Back Up ให้เลือกอ็อปชันการแบ็คอัพที่ต้องการเสร็จแล้วคลิก Next

7. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Backup Options ให้เลือกอ็อปชันของการแบ็คอัพที่ต้องการ ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ คือ Append this backup to existing backups หรือ Replace the existing backups เสร็จแล้วคลิก Next

8. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ When to Back Up เลือกเวลาที่จะทำการแบ็คอัพเป็น Now เสร็จแล้วคลิก Next

9. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Completing the Backup Wizard คลิก Finish เพื่อเริ่มทำการแบ็คอัพ

10. ระบบจะทำการแบ็คอัพ System State data โดยจะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Backup Progress ให้รอจนการทำงานแล้วเสร็จ จากนั้นคลิกปุ่ม Wose

11. ในหน้าต่าง Backup Utility คลิกเมนู Job คลิก Exit เพื่อจบการทำแบ็คอัพ

วิธีการกำหนดตารางเวลาทำการ Backup System State ใน Windows Server 2003
การกำหนดตารางเวลาทำการ Backup System State ใน Windows Server 2003 มีขั้นตอนดังนี้

1. เรียกใช้โปรแกรม Backup โดยคลิก Start คลิก All Programs คลิก Accessoriesคลิก System Tools คลิก Backup จะได้หน้าต่าง Backup Utility

2. ในหน้าต่าง Backup Utility บนแท็บ Welcome คลิก Backup Wizard (Advanced) จะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ Backup Wizard ให้คลิก Next เพื่อเริ่มทำการ Backup

3. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ What to Back Up เลือก Only backup the System State data เสร็จแล้วให้คลิก Next

4. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Backup Type, Destination, and Name ให้เลือกโฟลเดอร์ที่จะใช้เก็บไฟล์ Backup โดยในส่วน Choose a place to save your backup: ให้คลิกเม้าส์ที่ปุ่ม Browse เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการแล้วคลิก Open จากนั้นในหน้า Save As ให้ใส่ชื่อไฟล์ที่ต้องการในกล่อง File name เสร็จแล้วคลิก Save จากนั้นหากต้องการกำหนดชื่อให้การ Backup เอง ให้พิมพ์ชื่อที่ต้องการในกล่องType a name for this backup (โดยดีฟอลท์ระบบกำหนดชื่อให้การ Backup เหมือนกับชื่อไฟล์แบ็คอัพ) เสร็จแล้วคลิก Next

5. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Completing the Backup Wizard ให้คลิก Advanced จากนั้นในไดอะล็อกบ็อกซ์ Type of Backup ในส่วน Select the type of backup: ให้เลือกประเภทของการแบ็คอัพที่ต้องการ ซึ่งมีให้เลือก 5 ประเภทคือ Normal, Copy, Incremental, Differential และ Daily เสร็จแล้วคลิก Next

6. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ How to Back Up ให้เลือกอ็อปชันการแบ็คอัพที่ต้องการเสร็จแล้วคลิก Next

7. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Backup Options ให้เลือกอ็อปชันของการแบ็คอัพเป็น Replace the existing backups เสร็จแล้วคลิก Next

8. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ When to Back Up เลือกเวลาที่จะทำการแบ็คอัพเป็น Later ในส่วน Schedule entry ให้พิมพ์ชื่อของงาน Backup ในกล่อง Job name: จากนั้นคลิก Set Schedule…

9. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Schedule Job บนแท็บ Schedule ในส่วน Schedule Task: เลือกเป็น Daily ในส่วน Start time: เลือกเป็น 3.50 AM ในส่วน Schedule Task Daily: เลือกเป็น 1 day(s) จากนั้นคลิก Advanced….

10. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Advanced Schedule Options ให้เลือกเช็คบ็อกซ์ End Date: จากนั้นเลือกวันที่ต้องการจากดร็อปดาวน์ลิสต์ เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อกลับไปยังไดอะล็อกบ็อกซ์ Schedule Job

11. คลิก OK อีกครั้ง จากนั้นในไดอะล็อกบ็อกซ์ Set Account Information ให้พิมพ์รหัสผ่านของแอคเคาท์ที่จะใช้ในการแบ็คอัพในกล่อง Enter the password และ Confirm password boxes แล้วคลิก OK

12. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ When to Back Up หลังจากกำหนดค่าต่างๆ เสร็จแล้ว ให้คลิก Next จากนั้นในไดอะล็อกบ็อกซ์ Set Account Information ให้พิมพ์รหัสผ่านของแอคเคาท์ที่จะใช้ในการแบ็คอัพในกล่อง Enter the password และ Confirm password boxes แล้วคลิก OK

13. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Completing the Backup Wizard คลิก Finish

14. ในหน้าต่าง Backup Utility คลิกเมนู Job คลิก Exit เพื่อจบการทำแบ็คอัพ

หมายเหตุ: เมื่อถึงเวลาที่กำหนดระบบจะทำการแบ็คอัพ System State data โดยอัตโนมัติ เพื่อความแน่ใจให้ทำการตรวจสอบทุกครั้งว่าทำการแบ็คอัพสำเร็จหรือไม่

วิธีการรีสโตร์ System State Data ใน Windows Server 2003
การรีสโตร์ System State Data ใน Windows Server 2003 มีขั้นตอนดังนี้

1. เรียกใช้โปรแกรม Backup โดยคลิก Start คลิก All Programs คลิก Accessoriesคลิก System Tools คลิก Backup จะได้หน้าต่าง Backup Utility

2. ในหน้าต่าง Backup Utility บนแท็บ Welcome คลิก Restore Wizard (Advanced) จะได้ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Welcome to the Restore Wizard ให้คลิก Next เพื่อเริ่มต้นทำขั้นตอนการเลือกข้อมูล Backup Catalog ที่ต้องการ Restore

3. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ What to Restore ในด้าน Backup Identification Label ให้ดับเบิลคลิกที่ Backup Catalog ที่ต้องการ Restore จากนั้นในด้าน Items to restore: ให้เลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ Restore เสร็จแล้วคลิก Next (ในกรณีที่ไม่มี Backup Catalog ที่ต้องการ ให้คลิก Browse… จากนั้นในไดอะล็อกบ็อกซ์ Open Backup File ให้พิมพ์ชื่อพาธเต็มของไฟล์ที่ต้องการ Restore (เช่น E:\Backups\sysstate.bkf) หรือคลิก Browse… เพื่อเปิดไฟล์ที่ต้องการ)

4. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Completing the Restore Wizard คลิก Advanced

5. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Where to Restore ในส่วน Restore files to: ให้เลือกโฟลเดอร์ที่จะเก็บข้อมูลที่ Restore โดยเลือกจากดร็อปดาวน์ลิสต์ ซึ่งมี 3 ตัวเลือกคือ Original location, Alternate location และ Single folder เสร็จแล้วคลิก Next (ในกรณีที่เลือกเป็น Alternate location หรือ Single folder ให้พิมพ์ชื่อพาธของโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บข้อมูลที่ Restore ในกล่อง Folder name: ตัวอย่างเช่น D:\Restore เสร็จแล้วคลิก Next)

6. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ How to Restore เลือกรูปแบบของการ Restore ซึ่งมีให้เลือก 3 แบบ คือ Leave existing files (Recommended), Replace existing files if they are older than the backup files และ Replace existing files เสร็จแล้วคลิก Next

7. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Advanced Restore Options ให้เลือก Advanced Option ของการ Restore ซึ่งมีให้เลือก 3 แบบ Restore security settings, Restore junction points, but not the folder and file data they reference และ Preserve existing volume mount points เสร็จแล้วคลิก Next

8. ในหน้าต่าง Completing the Restore Wizard คลิก Finish เพื่อปิด Restore Wizard และเริ่มทำการ Restore ข้อมูล

9. ระบบจะทำการ Restore โดยจะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Restore Progress ให้รอจนการทำงานแล้วเสร็จ จากนั้นคลิกปุ่ม Close

10. ในหน้าต่าง Backup Utility คลิกเมนู Job คลิก Exit เพื่อจบการทำแบ็คอัพ

© 2009 TWAB. All Rights Reserved.

0 Comment: