วิธีการเปิดใช้งาน ReadyBoost ใน Windows 7
ReadyBoot เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิการทำงานของวินโดวส์ในการรันแอพพิลเคชันต่างๆ โดยการใช้หน่วยความจำประเภท USB Flash Drive หรือพวก Flash Memory เช่น SD Card, MMC, xD Card และ Compact Flash เป็น Cache สำหรับเก็บข้อมูล
ReadyBoot เริ่มใช้ครั้งแรกใน Windows Vista โดยจะทำงานร่วมกับฟังก์ชัน SuperFetch และใน Windows 7 นั้น ไมโครซอฟท์ได้พัฒนา ReadyBoot ให้ดีขึ้น โดยสามารถรองรับขนาด Cache ได้สูงสุด 32GB และรองรับอุปกรณ์สำหรับทำ ReadyBoost ได้ถึง 8 ตัว นั้นคือ สามารถรองรับขนาด Cache ได้สูงสุด 256GB ด้วยกัน
หมายเหตุ: Windows Vista รองรับขนาด Cache ได้สูงสุด 4GB และรองรับอุปกรณ์สำหรับทำ ReadyBoost ได้เพียงตัวเดียว
สำหรับวิธีการเปิดใช้งาน ReadyBoost ใน Windows 7 สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. ทำการต่อ Flash Drive รุ่นที่รองรับ ReadyBoost เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบจะป็อปอัพไดอะล็อกบ็อกซ์ AutoPlay ดังรูปด้านล่าง ให้คลิกเลือก Speed up my system
ในกรณีที่ระบบไม่แสดงตัวเลือก Speed up my system สามารถทำการเปิดด้วยตนเองโดยคลิก Start คลิก Computer คลิกขวาบน Flash Drive แล้วเลือก Properties
2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Flash Drive Properties ให้คลิกแท็บ ReadyBoost ซึ่งดีฟอลท์จะไม่เปิดใช้งาน ReadyBoost โดยจะตั้งค่าเป็น Do not use this device จากนั้นให้คลิกเลือกการตั้งค่าที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อจบการเปิดใช้งาน ReadyBoost โดยมีรูปแบบของการตั้งค่า ReadyBoost 2 แบบ ดังนี้
• Use this device จะเป็นการตั้งค่า ReadyBoost และทำการกำหนดพื้นที่ว่างของ Flash Drive ที่จะใช้เป็น Cache เอง
• Dedicate this device to ReadyBoost จะเป็นการตั้งค่า ReadyBoost โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดของตัว Flash Drive เป็น Cache
หลังจากทำการตั้งค่าเสร็จเรียบร้อย เมื่อทำการเปิดดูข้อมูลใน Flash Drive จะมีไฟล์ชื่อ ReadyBoost ดังรูปด้านล่าง
ในกรณีที่ต้องการปิดการใช้งาน ReadyBoos ทำได้โดยการเลือก Do not use this device ในแท็บ ReadyBoost บนหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Flash Drive Properties
ข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้งาน ReadyBoost
อุปกรณ์ Flash Drive หรือ Flash Memory ที่จะนำมาใช้ทำ ReadyBoost จะต้องเป็นอุปกรณ์ตามมาตรฐาน USB 2.0 หรือดีกว่า โดย Windows จะทำการตรวจสอบโดยอัตโนมัติเมื่อทำการต่ออุปกรณ์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ กรณีที่อุปกรณ์ไม่รองรับการทำ ReadyBoost ระบบแจ้งว่า "This device cannot be used for ReadyBoost" ดังรูปด้านล่าง
อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจเกิดความผิดพลาดในการตรวจสอบอุปกรณ์ ดังนั้นเพื่อความแน่ใจ ให้ทำการทดสอบ Flash Drive อีกครั้ง โดยคลิกที่ Test Again หากทดสอบแล้ว Flash Drive สามารถรองรับ ReadyBoost ได้ก็ให้ทำการเปิดใช้งาน ReadyBoost ได้ตามขั้นตอนที่ 1-3 ด้านบน แต่หากทำการ Test แล้วไม่ผ่าน แสดงว่าอุปกรณ์ตัวนั้นไม่รองรับการทำ ReadyBoost
ผลการทำงานหลังจากเปิดใช้งาน ReadyBoost
หลังจากเปิดใช้งาน ReadyBoost แล้วให้ทดสอบใช้งานโปรแกรมที่ต้องใช้การประมวลผลหนักๆ อย่าง เช่น โปรแกรมตกแต่งภาพ หรือตัดต่อวีดีโอ โดยสังเกตว่าที่ไฟแสดงสถานะของ Flash Drive จะมีการกระพริบ
ทั้งนี้ จากที่ผมได้อ่านการวิจารณ์การทำงานของ ReadyBoost พบว่ามีหลากหลายความเห็น โดยส่วนใหญ่จะบอกว่า ReadyBoost มีประโยชน์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ 512MB หรือน้อยกว่า แต่ถ้ามีหน่วยความจำ 1GB ขึ้นไปจะไม่ค่อยเห็นผลเท่าที่ควร ดังนั้นผมว่า ลองทดสอบและตัดสินด้วยตัวท่านเองจะดีที่สุดครับ
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
© 2009 TWA Blog. All Rights Reserved.
Thursday, October 15, 2009
How to turn on Windows 7 ReadyBoost
Related Posts:
วิธีการถอนการติดตั้ง Internet Explorer 9 เพื่อกลับไปใช้ Internet Explorer 8 บน Windows 7ไมโครซอฟท์ออก Internet Explorer 9 (IE9) เวอร์ชันเต็มเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2554 ซึ่งมีการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 โดยข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2554 นั้น มีจำนวนผู้ใช้ IE9 ทั่วโลกประมาณ 6.8 เปอร… Read More
วิธีการยกเลิกการติดตั้ง Internet Explorer 9 Beta บน Windows 7บทความนี้จะเป็นวิธีการยกเลิกการติดตั้ง Internet Explorer 9 Beta (IE9 Beta) บน Windows 7 อย่างสมบูรณ์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคนที่ทำการติดตั้ง IE9 Beta ที่ต้องการกลับไปใช้ IE8 ดังเดิม อนึ่ง บทความนี้จะต่อเนื่องมาจากเรื่อง "การติด… Read More
วิธีการปิด/เปิด Do Not Track ใน Internet Explorer 10Internet Explorer 10 (IE10) ทั้งเวอร์ชันที่มาพร้อม Windows 8 และเวอร์ชันสำหรับ Windows 7 มีคุณลักษณะใหม่ด้านความเป็นส่วนตัวคือ Do Not Track ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ถูกสะกดรอยจากเว็บไซต์หรือผู้ให้บริการโฆษณา คุณลักษณะ… Read More
ข้อจำกัดของขนาดหน่วยความจำที่สามารถรองรับได้ใน WindowsWindows แต่ละเวอร์ชันจะมีข้อจำกัดในการรองรับขนาดหน่วยความจำ (Physical Memory) สูงสุดแตกต่างกันโดยจะขึ้นอยู่กับแพล็ตฟอร์มและเวอร์ชันของ Windows ซึ่ง Windows บนแพล็ตฟอร์ม 32-บิตจะสามารถรองรับหน่วยความจำทางกายภาพได้สูงสุดเพียง 4… Read More
ไมโครซอฟท์ออก 12 อัพเดทเพื่อแก้ 57 ช่องโหว่ความปลอดภัย - รวมช่องโหว่ร้ายแรงวิกฤตใน Windows และ Internet Explorerไมโครซอฟท์ออกอัพเดทความปลอดภัย (Security Update หรือ Patch Tuesday) เดือนกุมภาพันธ์ 2556 จำนวน 12 ตัวเพื่อปรับปรุง 57 ช่องโหว่ความปลอดภัย (CVEs) ที่มีผลกระทบกับ Windows, Internet Explorer, Exchange, Office, .NET Framework และ… Read More
0 Comment:
Post a Comment