Sunday, October 4, 2009

ข้อควรทราบ 10 ประการเกี่ยวกับ Windows 7 สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอที

เหลือเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์จะถึงวันที่ 22 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันไมโครซอฟท์จะทำการวางจำหน่าย Windows 7 อย่างเป็นทางการ วันนี้เลยนำบทความเกี่ยวกับ "ข้อควรทราบ 10 ประการเกี่ยวกับ Windows 7 สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอที" มาฝากครับ

ต่อไปนี้คือข้อควรทราบ 10 ประการเกี่ยวกับ Windows 7

1. การทำงานร่วมกันได้ของแอพพลิเคชัน (Application compatibility)
ใน Windows Vista ได้มีการเปลี่ยนระบบโครงสร้างของระบบลงลึกไปจนถึงระดับเคอร์เนล (Kernel) ส่งผลให้ระบบ Windows Vista นั้นมีความปลอดภัยมากกว่าระบบ Windows XP แต่อย่างไรก็ดี ส่งผลให้หลายๆ แอพพลิเคชันมีปัญหาเรื่องการทำงานร่วม Windows Vista ซึ่งไมโครซอฟท์ต้องออกเซอร์วิสแพ็ค 1 เพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งในปัจจุบันแอพพลิเคชันส่วนใหญ่ในตลาดสามารถทำงานร่วมกับ Windows Vista ได้อย่างไม่มีปัญหา

สำหรับ Windows 7 นั้นสร้างขึ้นมาจากสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับ Windows Vista ดังนั้นแอพพลิเคชันต่างๆ ที่สามารถทำงานได้บน Windows Vista จึงไม่มีปัญหาในการทำงานบน Windows 7 ส่งผลให้การอัพเกรดเป็นระบบ Windows 7 ทำได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการทำงานของแอพพลิเคชัน อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้ Windows XP จะต้องทำการติดตั้งระบบใหม่ทั้งหมด ทั้งระบบปฏิบัติการและโปรแกรมแอพพลเคชัน เนื่องจากไม่รองรับการอัพเกรดเป็น Windows 7

2. การทำงานร่วมกันได้ของฮาร์ดแวร์และความต้องการต่างๆ (Hardware compatibility and requirements)
การติดตั้ง Windows Vista นั้น นอกจากมีปัญหาเรื่องการทำงานร่วมกันได้ของแอพพลิเคชันแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการทำงานร่วมกันได้ของระบบฮาร์ดแวร์อีกด้วย ทั้งนี้เพราะ Windows Vista ต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่และระบบกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูง ระบบจึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับ Windows 7 นั้นได้รับการออกแบบมาให้ทำงานได้ดีบนฮาร์ดแวร์ที่สามารถรันระบบ Windows Vista ได้ดีเช่นกัน แต่จะสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่าและเสถียรกว่าด้วย เนื่องจากทีมงานออกแบบ Windows 7 ได้มุ่งความสนใจไปที่โปรแกรมพื้นฐานต่างๆ รวมไปถึงการรักษาการทำงานร่วมกันของโปรแกรมและฮาร์ดแวร์ต่างๆ ด้วย ส่งผลให้ระบบ Windows 7 ใช้เวลาบูทได้เร็วกว่าและยังใช้พื้นที่ในหน่วยความจำหลักน้อยกว่า Windows Vista

3. ทำงานร่วมกับระบบ Windows Server 2008 ได้ดีกว่า (Better Together with Windows Server 2008)
ประโยชน์หลักอย่างหนึ่งของ Windows 7 คือ ทั้ง Windows 7 และ Windows Server 2008 จะใช้โค้ดแบบเดียวกันและมีโครงสร้างการให้บริการ (Servicing model) แบบเดียว ดังนั้น ถ้ามีการอัพเดตหรือมีการอัพเดตทางด้านระบบความปลอดภัย ข้อมูลอัพเดตเหล่านี้จะมีการแชร์กันระหว่างเครื่องไคลเอ็นต์คอมพิวเตอร์และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ทำให้การบำรุงรักษาและการอัพเดตระบบโครงสร้างพื้นฐานทำได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมระบบที่ใช้ Windows 7 ร่วมกับ Windows Server 2008 จะขยายการทำงานของฟังก์ชันและช่วยทำให้สภาพแวดล้อมมีความปลอดภัยสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น DirectAccess ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำการบริหารจัดการและอัพเดตเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาจากระยะไกล เมื่อเครื่องเหล่านั้นต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ตโดยที่ไม่ต้องต่อเข้ากับระบบขององค์กรแต่อย่างใด ขีดความสามารถเช่นนี้จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในระบบได้รับการอัพเดตแพตซ์ (Patch) ตามกำหนดเวลา และยังทำให้ฝ่ายไอทีสามารถอัพเดตการตั้งค่าของระบบผ่านทาง Group Policy ได้อีกด้วย โดยผู้ใช้งานสามารถใช้ DirectAccess เพื่อเข้าระบบเน็ตเวิร์กในองค์กรโดยไม่ต้องใช้ระบบ VPN (ระบบ DirectAccess ต้องรันบนระบบ IPSec และ IPv6 และต้องการ Windows Server 2008 R2 ในการทำงาน)

4. การเข้ารหัสข้อมูลที่ครอบคลุมไปถึงอุปกรณ์ต่อที่ถอดออกได้ (Extend data encryption to removable media)
การสูญเสียข้อมูลสำคัญอาจก่อให้เกิดผลกระทยต่างๆ เช่น ผลกระทบทางกฎหมาย หรือทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น ดังนั้น ข้อมูลสำคัญจะต้องได้รับการปกป้องเมื่อเกิดกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์หายหรือโดนขโมย นอกเหนือจากนี้ การป้องกันไม่ให้ข้อมูลที่เป็นความลับโดนนำออกไปจากระบบขององค์กรก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการจัดการการปฏิบัติตามนโยบายที่มีประสิทธิภาพ

ใน Windows 7 นั้นใช้เทคโนโลยี BitLocker ซึ่งเริ่มนำมาใช้ครั้งแรกใน Windows Vista ซึ่งสามารถทำการเข้ารหัสข้อมูลใน Boot Volume ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยใน Windows 7 ได้เพิ่มความสามารถให้สามารถทำการเข้ารหัสข้อมูลในทุก Volume ของเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์ BitLocker To Go ซึ่งสามารถทำการเข้ารหัสข้อมูลที่เก็บในอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบพกะาอย่าง USB Flash Drive โดยผู้ดูแลระบบสามารถทำการควบคุมทั้ง BitLocker และ BitLocker To Go ผ่านทาง Group Policy ซึ่งทำให้สามารถจัดการจากศูนย์กลางได้ง่ายขึ้น

5. ควบคุมการเข้าถึงโปรแกรมของผู้ใช้ (Control the application portfolio available to end users)
ใน Windows 7 มีฟีเจอร์ AppLocker ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดได้ว่า "โปรแกรมใดสามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ใดได้บ้าง" AppLocker ช่วยให้สามารถป้องกันการลงโปรแกรมที่ไม่ถูกกฎหมายและยังสามารถควบคุมโปรแกรมที่สำคัญๆ ได้ แต่ที่สำคัญที่สุด คือ มันสามารถป้องกันไม่ให้โปรแกรมมัลแวร์ (Malware) ทำการติดตังลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดย AppLocker จะทำงานแบบใช้กฎ (Rule-based) ซึ่งจะกำหนดได้ว่าเครื่องไหนรันแอพพลิเคชั่นใดได้บ้าง และจะมี Publisher rules ซึ่งจะกำหนดได้ว่าเวอร์ชันไหนของแอพพลิเคชั่นที่สามารถใช้งานได้บ้าง เพื่อป้องกันการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ไม่ได้อัพเดต

6. เขียนสคริปต์ตั้งค่าเพื่อให้ระบบทำงานกิจวัตรแทนคุณได้อย่างอัตโนมัติ (Automate routine tasks with powerful scripting)
เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถรักษาสภาพแวดล้อมระบบให้คงที่และเพิ่มผลผลิตในการทำงาน Windows 7 ได้จัดเตรียมระบบการจัดการสคริปต์แบบกราฟิกตัวใหม่ คือ Windows PowerShell 2.0 ซึ่งเป็นภาษาการเขียนสคริปต์ที่สมบูรณ์และทรงพลัง ซึ่งรองรับการขยายโครงสร้าง (Branching), การวนลูป (Looping), ฟังก์ชั่นต่างๆ, การแก้ไขโปรแกรม, การจัดการข้อผิดพลาด (Exception Handling) และการทำให้เป็นค่าสากล (Internationalization) รายละเอียดดังนี้

  • โปรแกรม PowerShell 2.0 นั้นมีหน้าอินเทอร์เฟชที่สวยงามและใช้งานง่าย ทำให้การสร้างสคริปต์เป็นงานที่ไม่ยุ่งยาก โดยเฉพาะกับผู้ดูแลระบบที่ไม่ชอบการทำงานในแบบคอมมานด์ไลน์ (Command-line) ที่ต้องป้อนคำสั่งด้วยตัวอักษรที่ยุ่งยาก
  • โปรแกรม PowerShell 2.0 นั้นรองรับการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์รีโมทสองแบบ คือ แบบกระจายซึ่งจะจัดการสคริปต์แบบ One-to-many และ One-to-one ซึ่งจะรองรับการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ PowerShell Restricted Shell ในการจำกัดจำนวนคำสั่งและตัวแปรคำสั่งที่ผู้ดูแลระบบจะสามารถใช้งานได้ และยังจำกัดได้ว่าสคริปต์นั้นจะให้รันโดยใครบ้าง
  • โปรแกรม PowerShell 2.0 สามารถใช้ร่วมงานกับ Group Policy Management Console (ต้องดาวน์โหลดมาต่างหาก) และจะอนุญาตให้ผู้ดูแลระบบสามารถใช้สคริปต์ที่เขียนจัดการออปเจ็กต์ (Object) ของ Group Policy ได้ และยังสามารถแก้ไขค่านโยบายต่างๆ ที่กำหนดใน Registry ของ Windows 7 ได้อีกด้วย ขณะเดียวกัน ยังสามารถใช้โปรแกรม PowerShell ตั้งค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งด้านการออกจากระบบ การเข้าระบบ การสตาร์ทเครื่อง และการปิดเครื่องที่สามารถควบคุมและรันได้ผ่านทาง Group Policy

7. สามารถหาหนทางแก้ไขปัญหาได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Troubleshoot faster and more effectively)

Windows 7 นั้นได้เตรียมเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้ระบุสาเหตุของปัญหาและหาทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้เร็วยิ่งขึ้น สำหรับในกรณีที่ต้องติดต่อ Help Desk เพื่อขอรับความช่วยเหลือนั้น Windows 7 ยังมีฟังก์ชั่นและเครื่องมือการตอบปัญหาที่จะทำให้การหาทางแก้ไขปัญหานั้นรวด เร็วทันใจ หลายอย่างดังนี้
  • โปรแกรม Problem Steps Recorder ช่วยให้ผู้ใช้สามารถลองทำขั้นตอนที่เกิดความผิดพลาดอีกครั้ง และให้บันทึกขั้นตอนเหล่านั้นไว้ โดยทุกๆ ขั้นตอนที่บันทึกลงไปในโปรแกรมจะมีรูปหน้าจอพร้อมกับค่าระบบด้วย หลังจากที่บันทึกเสร็จไฟล์นี้จะโดนย่อขนาดและส่งไปให้พนักงานช่วยเหลือต่อไป
  • ระบบ Windows 7 ยังมีชุดเครื่องมือช่วยตอบคำถามที่จะรวมเอาสคริปต์ของโปรแกรม PowerShell และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ดูแลระบบสามารถรันชุดเครื่องมือนี้โดยใช้หน้าคอมมานด์ไลน์ (Command Line) และควบคุมการทำงานผ่านทางการตั้งค่าของ Group Policy
  • ระบบ Windows 7 ยังมีฟังก์ชั่น Unified Tracing ที่จะช่วยระบุสาเหตุและแก้ปัญหาการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านทางเครื่องมือเพียงตัวเดียว ฟังก์ชั่น Unified Tracing นั้นจะรวบรวมบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบและแพ็คเก็ตในทุกๆ เลเยอร์ของเน็ตเวิร์ก เพื่อช่วยในการรวิเคราะห์และหาวิธีการแก้ไขปัญหา

8. สร้าง ปรับใช้ และจัดการไฟล์อิมเมจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Create, deploy, and manage images more efficiently)
ใน Windows 7 มีเครื่องมือหลายตัวที่จะช่วยในการสร้างและเปิดใช้งานระบบอิมเมจ เพื่อทำให้ระบบพร้อมใช้งานเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

Deployment Image Servicing and Management (DISM) เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในระบบ Windows 7 ที่เป็นตัวกลางคอยสร้างและเซอร์วิสอิมเมจของระบบวินโดวส์แบบออฟไลน์ ผู้ดูแลระบบสามารถใช้งานฟังก์ชั่นที่เกี่ยวกับอิมเมจได้หลาย ๆ ตัวในฟังก์ชั่นตัวนี้ เช่น การ Mount และ Unmount อิมเมจของระบบ, การเพิ่ม (Add), การลบ (Remove), การแจกแจง (Enumerate) จำนวนไดรฟ์เวอร์และแพ็คเก็ตต่างๆ การเปิดและปิดฟังก์ชั่นในระบบ Windows การทำให้เป็นค่าสากล และการเก็บค่าอิมเมจแบบออฟไลน์ นอกจากนี้ Windows 7 ยังมีกระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์ (Virtual Hard Disk) และไฟล์อิมเมจแบบ Native file-based (WIM)

Windows 7 ยังมีการรวมเอาฟังก์ชั่น Dynamic Driver Provisioning ซึ่งใช้เก็บไดรฟ์เวอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ แยกจากไฟล์อิมเมจที่ใช้งานอยู่ และสามารถนำเข้าไปอยู่ในระบบได้โดยดูจาก Plug and Play ID ของฮาร์ดแวร์ หรือสามารถกำหนดเป็นชุดไว้ก่อน ซึ่งจะอ้างอิงจากข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบ BIOS การลดจำนวนไดรฟ์เวอร์ในระบบนั้นจะเป็นการช่วยลดโอกาสที่ไดรฟ์เวอร์แต่ละตัวจะทำงานขัดแย้งกัน ซึ่งในที่สุดแล้วจะช่วยลดเวลาการติดตั้งระบบและลดความเสี่ยงที่เครื่อง คอมพิวเตอร์แฮงก์ได้ด้วย

เมื่อคุณพร้อมที่จะใช้งาน Window 7 ฟังก์ชั่น Multicast Multiple Stream Transfer จะช่วยให้เซิร์ฟเวอร์สามารถส่งไฟล์อิมเมจไปยังเครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์ได้หลายๆ ตัวพร้อมกัน และจะจับกลุ่มไคลเอนต์ที่มีขีดความสามารถทางด้านแบนด์วิธที่ใกล้เคียงกันให้ กลายเป็นเครือข่ายที่มีการส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่องหลายๆ ช่องทาง เพื่อให้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลเร็วสูงสุดและทำให้การใช้งานแบนด์วิธมีประสิทธิภาพมากที่สุด

9. การโอนข้อมูลและโปรไฟล์ของผู้ใช้งานที่ง่ายขึ้น (Easier migration of user data and profiles)
Windows 7 มาพร้อมเครื่องมือด้านการโอนข้อมูลอย่าง User State Migration Tool (USMT) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เป็ช่วยในการโอนข้อมูลต่างๆ เช่น การตั้งค่าระบบปฏิบัติการ ไฟล์ต่างๆ และข้อมูลโปรไฟล์ของผู้ใช้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดย USMT ใน Windows 7 นั้นสามารถเก็บข้อมูลและการตั้งค่าระบบของผู้ใช้ไปเก็บไว้ที่ใดที่หนึ่งในไดรฟ์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องย้ายไฟล์นั้นไปเก็บไว้ที่อื่นในระหว่างการลงระบบ

10. เพิ่มผลิตผลของผู้ใช้งานในออฟฟิศตามสาขา (Improve user productivity in branch offices)
Windows 7 นั้นมีฟังก์ชั่น BranchCache ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะทำการเก็บไฟล์และเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีการเรียกเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์ตามสาขาต่างๆ ไว้ในแคช ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นในอนาคตเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ตัวแคชนี้สามารถเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางตามสาขาต่างๆ หรือจะเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานก็ได้ อย่างไรก็ตาม การใช้งานฟังก์ชั่น BranchCache นั้นจะต้องใช้งานร่วมกับ Windows Server 2008 R2 ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เกี่ยวข้อง

นอกจาก 10 ประการดังที่กล่าวมาแล้ว Windows 7 ยัง

สนับสนุนระบบเสมือนได้ดีขึ้น (Better support for client virtualization)
ใน Windows 7 มีการสนับสนุนระบบเสมือนที่ดีขึ้นกว่าเดิม ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเวอร์ชวลแมชชีนด้วยความรู้สึกเหมือนการใช้งานแอพพลิเคชันธรรมดา และยังรองการแสดงผลหลายหน้าจอ ระบบเสียง (Audio) สองทาง รองรับระบบ Voice over Internet Protocol (VoIP) รวมไปถึงการสั่งงานด้วยระบบเสียงและการเข้าถึงอุปกรณ์โลคอลต่างๆ อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Microsoft Tecnet (Thailand)
SpringBoard Series

© 2009 TWA Blog. All Rights Reserved.

0 Comment: