Thursday, October 8, 2009

Panda USB Vaccine 1.0.1.4

Panda USB Vaccine 1.0.1.4 วัคซีนช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน AutoRun Virus
Panda USB Vaccine 1.0.1.4 เวอร์ชันใหม่ล่าสุดของโปรแกรมป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์จากการติด Autorun Virus  แบบฟรีแวร์จาก Panda Security Research

โปรแกรม Panda USB Vaccine มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันโปรแกรมการติดไวรัสจาก USB Flash Drive ที่ใช้ฟีเจอร์ Autorun ของวินโดวส์ในการแพร่ระบาดซึ่ง เป็นภัยคุกคามผู้ใช้คอมพิวเตอร์อย่างยิ่งในปัจจุบัน

การทำงานของโปรแกรม Panda USB Vaccine
โปรแกรม Panda USB Vaccine มีการทำงาน 2 โหมด ให้เลือกใช้งาน คือ Computer Vaccination หรือ USB Drive Vaccination รายละเอียดดังนี้

1. Computer Vaccination โปรแกรมจะทำการปิดการทำงานของ Autorun อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะทำให้โปรแกรมใดๆ ที่เก็บไว้ในไดรฟ์ USB/CD/DVD ทั้งหมด ไม่ทำการรันโดยอัตโนมัติ
2. USB Drive Vaccination โปรแกรมจะทำการปิดการทำงานของ Autorun ของ USB Flash Drive ตามที่ผู้ใช้เลือก เป็นครั้งๆ ไป


โปรแกรม Panda USB Vaccine สามารถใช้งานได้ง่าย ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะทำการปิดการทำงานของ Autorun บนไดรฟ์ทุกไดรฟ์ หรือเฉพาะไดรฟ์ที่ต้องการได้ โดยทุกครั้งที่ต่อ USB Flash Drive ระบบจะเปิดหน้าไดอะล็อกให้ผู้ใช้เลือกว่าจะทำการ Vaccine USB หรือไม่ ดังรูปด้านล่าง


นอกจากนี้ยังรองรับ USB Flash Drive ที่ฟอร์แมตในแบบ NTFS (ยังเป็นเวอร์ชัน Beta อยู่) อีกด้วย ที่สำคัญคือ เป็นโปรแกรมฟรีที่ใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียเงินแม้แต่บาทเดียว

การดาวน์โหลด Panda USB Vaccine
เวอร์ชันล่าสุดของ Panda USB Vaccine คือ 1.0.1.4 ออกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2552 ทำงานได้บน Windows 2000 SP4, Windows XP SP1-SP3, Windows Vista SP1 และ SP2 และ Windows 7

สำหรับท่านที่สนใจทดลองใช้งาน สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ (ตัวโปรแกรมมีขนาด 828 KB) ดาวน์โหลด Panda USB Vaccine หรือ ดาวน์โหลด Panda Vaccine (Fileforum)

บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog

© 2009 TWA Blog. All Rights Reserved.

Related Posts:

  • New Zero-day Vulnerability Discovered in Firefox 3.6บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยในรัสเซียพบช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงใน Firefox 3.6 พร้อมขายโค้ดโปรแกรมสำหรับเจาะระบบ บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog มีรายงานในเว็บไซต์ Softpedia และอีกหลายเว็บไซต์ ว่า InteVyDis ซึ่งบร… Read More
  • Microsoft Security Advisory 977377พบช่องโหว่ความปลอดภัยในโปรโตคอล TLS และ SSL บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog ไมโครซอฟท์ออก Microsoft Security Advisory (977377): Vulnerability in TLS/SSL Could Allow Spoofing เพื่อประกาศว่าไมโครซอฟท์กำลังตรวจสอบรา… Read More
  • Windows BSOD Caused by Alureon Rootkit, Not by Patch MS10-015ไมโครซอฟท์ยืนยันปัญหา Windows BSoD หลังจากติดตั้งแพต์ซ์ MS10-015 เกิดจากรูทคิตส์ Alureon บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog สืบเนื่องจากมีการรายงานไปก่อนหน้านี้ว่ามีผู้ใช้วินโดวส์บางส่วนเกิดปัญหาวินโดวส์ขึ้นจอฟ้า หร… Read More
  • Security Advisory for Adobe Reader 9.3 and Acrobat 9.3Adobe เตรียมออกแพตซ์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยใน Adobe Reader 9.3 และ Acrobat 9.3 บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog สืบเนื่องจากมีรายงานการพบช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงระดับวิกฤติ (Critical Vulnerability) ในโปรแกร… Read More
  • Phishing for Windows Live IDs and Passwordsระวังฟิชชิ่งอีเมลหลอกขอ IDs และ Passwords ของ Windows Live บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog สำหรับใครที่ใช้บริการ Windows Live เช่น hotmail.com, msn.com หรือ live.com ให้ระวังฟิชชิ่ง (Phishing) อีเมลที่หลอกขอข้อมู… Read More

1 Comment:

Anonymous said...

เพิ่มเติม การใส่ วัคซีน ให้กับ Drive ใช้การสร้าง Autorun.inf ขึ้นมาใน FlashDrive ครับ ที่น่าสนใจคือ ไฟล์ทีสร้างมานี้ เปิดก็ไม่ได้ เขียน ก็ไม่ได้ ซึ่งทำให้ ไวรัสไม่ทำงานครับ