Saturday, November 29, 2008

ใช้งาน Remote Desktop Web Connection บน Vista

การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้ Remote Desktop Web Connection
เนื่องจาก Remote Desktop Web Connection นั้นทำงานบนพอร์ตหมายเลข 80 ซึ่งเป็นหมายเลขเดียวกับโปรโตคอล http (Web Server) จึงทำให้สามารถใช้ในการรีโมทผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางต้องรันระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 และจะต้องติดตั้งบริการ Terminal Services Web Access (TS Web Access) สำหรับวิธีการติดตั้ง TS Web Acces นั้นสามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ ติดตั้ง Terminal Web Access บน Windows Server 2008

แต่ก่อนที่จะสามารถใช้งาน TS Web Access ได้นั้นจะต้องทำการติดตั้งโปรแกรม Remote Desktop Web Connection ก่อน ซึ่งผมพยายามหาข้อมูลเกี่ยวการใช้งานบน Windows Vista จากทั้งเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์และเว็บไซต์อื่นๆ ปรากฎว่าไม่พบว่ามีตัวไคลเอ็นต์ที่เป็นเวอร์ชันสำหรับวิสต้า แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้ไคลเอ็นต์ที่เป็นเวอร์ชันสำหรับเอ็กพีซ์ได้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://www.microsoft.com/windowsxp/downloads/tools/rdwebconn.mspx หลังจากดาวน์โหลดเสร็จแล้วให้ทำการติดตั้งให้เรียบร้อย จากนั้นให้ทำการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบรีโมทโดยใช้ Remote Desktop Web Connection ตามขั้นตอนดังนี้

1. เนวิเกตไปยังโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง tsweb (ทั่วไปจะเป็น C:\InetPub\wwwroot\TSWeb) แล้วทำการเปิดไฟล์ชื่อ Default.htm ด้วย Internet Explorer ซึ่งจะได้หน้าต่างดังรูปที่ 1 โดย Internet Explorer จะแจ้งเตือนเรื่อง Active-X ให้เลือกรัน Allow blocked content ดังรูปที่ 2 จากนั้นในไดอะล็อกบ็อกซ์ Security Warning ดังรูปที่ 3 ให้คลิก Yes เพื่อทำการรัน Active-X Control


รูปที่ 1 Active-X security warning


รูปที่ 2 Active-X Client Control


รูปที่ 3 Security warning

2. ในหน้าเว็บ Remote Desktop Web Connection ดังรูปที่ 4 ในช่อง Server ให้ใส่ชื่อหรือหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเชื่อมต่อ เสร็จแล้วคลิก Connect ระบบจะแจ้งเตือนดังรูปที่ 5 ให้คลิก Connect เพื่อยืนยันการเชื่อมต่อ


รูปที่ 4 Connect to Server


รูปที่ 5 Security warning

3. ในหน้าถัดไปให้คลิกเลือกแอคเคาต์ที่ต้องการใช้ล็อกออนเข้า Windows Server 2008 จากนั้นป้อนพาสเวิร์ดให้ถูกต้อง เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter หรือคลิกปุ่ม -> เพื่อล็อกออนเข้าวินโดวส์

4. เมื่อทำการล็อกออนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้หน้าจอเดสก์ท็อปดังรูปที่ 6 ซึ่งสามารถจัดการเซิร์ฟเวอร์เหมือกับการรีโมทเดสก์ท็อปทุกประการ


รูปที่ 6 Remote Desktop Web Connection

5. เมื่อใช้งานแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำการล็อกออฟและปิดเว็บบราวเซอร์

หมายเหตุ:
โดยถ้าไม่สามารถทำการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางและมีการใช้ไฟร์วอลล์บนระบบเครือข่าย ให้ทำการคอนฟิกไฟร์วอลล์ให้อนุญาตให้ทราฟฟิก 80 ผ่านได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
• http://technet.microsoft.com/en-us/library/cc771908.aspx


Remote Desktop Web Connection

© 2008 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

Related Posts:

  • การรีไดเร็กโลคอลไดร์ฟเพื่อใช้งานในรีโมทเซสชันการรีไดเร็กโลคอลไดร์ฟเพื่อใช้งานในรีโมทเซสชันในการใช้งาน Remote Desktop นั้น ยูสเซอร์สามารถทำการรีไดเร็กโลคอลไดร์ฟเพื่อใช้งานในรีโมทเซสชันได้ ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการย้ายไฟล์หรือข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องสร้างแชร์โฟลเดอร์… Read More
  • ถอดรหัสพาสเวิร์ดของ Remote Desktop และ IE7 AutoComplete ด้วย Cain & Abelแก้ไขล่าสุด: 20 มีนาคม 2552ถอดรหัสพาสเวิร์ดของ Remote Desktop และ IE7 AutoComplete ด้วย Cain & Abelบทความนี้จะแสดงวิธีการถอดรหัสพาสเวิร์ด Remote Desktop และ IE7 AutoComplete ซึ่งผู้ใช้บันทึกไว้บนเครื่อง ด้วยโปรแกรม Cain &… Read More
  • Remote Desktop Client 6.1 MUI สำหรับ Windows XPRemote Desktop Client 6.1 MUI Language Pack สำหรับ Windows XPRemote Desktop Connection MUI Language Pack เป็นชุดโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ Windows XP SP2 Multilingual User Interface (MUI) Pack เพื่อช่วยลดงบประมาณในด้านการจัดการ desk… Read More
  • การใช้งาน Remote Desktop บน Windows Vistaการใช้งาน Remote Desktop บน Windows VistaRemote Desktop เป็นโปรแกรมสำหรับใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกลผ่านทางเครือข่าย ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ดูแลระบบ ให้สามารถทำการซัพพอร์ตยูสเซอร์ผ่านทางระบบเครื่อข่ายโดยไม่ต้องเส… Read More
  • Remote Desktop Client 6.1 สำหรับ Windows XP SP2Remote Desktop Client 6.1 สำหรับ Windows XP SP2Remote Desktop Client นั้นเป็นโปรแกรม ใช้ในการเชื่อมต่อไปยังเครื่อง Remote Desktop Server ซึ่งเวอร์ชันล่าสุด คือ เวอร์ชัน 6.1 สำหรับ Windows XP Service Pack 2 โดยสามารถใช้ Remote… Read More

0 Comment: