ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตนั้นได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผุ้ที่ต้องทำงานในด้านที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศต่างๆ รวมถึงนักเรียนนักศึกษา แต่ใช่ว่าอินเทอร์เน็ตจะมีเพียงด้านที่ดีเท่านั้น แต่ยังมีด้านไม่ดีอยู่ด้วยเช่นกัน สังเกตได้จากที่มีข่าวคราวไม่ดีต่างๆ ที่มีอินเทอร์เน็ตเข้าไปเกี่ยวข้องให้ได้ยินอยู่เป็นประจำ
สำหรับผู้ใช้ที่เป็นวัยทำงานซึ่งมีวุฒิภาวะพอสมควรแล้ว ปัญหาการใช้งานอินเทอร์เน็ตก็ถือว่าไม่น่าเป็นห่วงมากนัก แต่สำหรับเยาวชนซึ่งอาจจะยังไม่มีวุฒิภาวะหรือประสบการณ์เพียงพออาจจะตกเป็นเหยื่อของอาชญากรบนอินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงครูอาจารย์ ที่ต้องคอยดูให้ความรู้แก่บุตรหลานในการใช้อินเทอร์เน้ตในทางที่เหมาะสม รวมถึงคอยตักเตือนเมื่อบุตรหลานนำอินเทอร์เน็ตไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม โดยข้อแนะนำ 20 ข้อ ต่อไปนี้ เป็นแนวทางที่ผู้ปกครองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของบุตรหลานให้มีความเหมาะสมและปลอดภัยมากขึ้น
1. ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในพื้นที่ส่วนรวมที่สามารถมองเห็นได้ ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของบุตรหลาน เช่น ห้องนอน เป็นต้น
2. ทำข้อตกลงกับบุตรหลานเรื่องช่วงเวลาและระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ติดต่อสื่อสารต่างๆ
3. อย่าลืมทำการอัพเดทซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยทุกๆ ตัวอย่างสม่ำเสมอ ควรตั้งให้โปรแกรมทำการอัพเดทโดยอัตโนมัติถ้าทำได้
4. ทำข้อตกลงกับบุตรหลานถึงเว็บไซต์ใดที่อนุญาตให้เข้าได้หรือเว็บไซต์ใดที่ไม่ให้เข้า
5. ใช้เทคโนโลยีการกรองยูอาร์แอล (URL filtering) เพื่อป้องกันบุตรหลานไม่ให้เข้าชมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
6. ทำการตวรจสอบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ก่อนที่จะเข้าเยี่ยม ชมด้วยการทำ Website Reputation ซึ่งสามารถทำได้จากหลายๆ เว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์ http://reclassify.wrs.trendmicro.com หรือ เว็บไซต์ http://websitereputation.com เป็นต้น
7. ตรวจสอบเนื้อหาและนโยบายความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์ที่บุตรหลานเข้าเยี่ยมชมบ่อยๆ
8. ให้ความรู้ และคำแนะนำแก่บุตรหลานเกี่ยวกับขอบเขตการให้หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวต่างๆ บนโลกอินเทอร์เน็ต
9. ให้ความรู้ และคำแนะนำ แก่บุตรหลานให้ทราบถึงอันตรายจากคนแปลกหน้าที่รู้จักกันผ่านทางอินเทอร์เน็ต และคอยเตือนให้บุตรหลายไม่ให้ติดต่อหรือนัดพบกับบุคคลที่รู้จักกันบนอินเทอร์ เน็ตโดยเด็ดขาด
10. ทำการสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมรักษาความปลอดภัยแบบแมนนวล และตรวจสอบข้อมูลประวัติการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลานอย่างสม่ำเสมอ
11. ให้คำแนะนำในการแชร์ข้อมูลต่างๆ แก่บุตรหลาน โดยควรแนะนำให้เลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการที่ถูกกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล และห้ามไม่ให้แชร์ข้อมูลที่ผิดกฎหมายโดยเด็ดขาด
12. ให้คำแนะนำแก่บุตรหลานเกี่ยวกับการใช้บริการเว็บไซต์ทางด้าน Social Networking ว่าให้กำหนดโปรไฟล์การใช้งานบริการเป็นแบบไปรเวทเท่านั้น
13. ให้คำแนะนำแก่บุตรหลานว่า ให้ใช้ชื่อเล่นแทนชื่อจริงในการแสดงตนบนโลกอินเทอร์เน็ต
14. ให้คำแนะนำแก่บุตรหลานให้ระมัดระวังเกี่ยวการโพสต์แสดงข้อความหรือการแสดงความเห็นต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
15. ให้ความรู้ คำแนะนำ และการส่งเสริมให้บุตรหลานรู้จักการเคารพสิทธิของผู้อื่น
16. ในกรณีที่บุตรหลานต้องการซื้อของจากอินเทอร์เน็ต ให้ทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความเหทาะสมของเว็บไซต์ของผู้ขายก่อนที่จะอนุญาตให้บุตรหลานซื้อของจากเว็บไซต์ดังกล่าว
17. ให้ความรู้และคำแนะนำแก่บุตรหลานเกี่ยวกับการใช้รหัสผ่านในการเข้าใช้งาน ระบบต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต โดยควรแนะนำให้บุตรหลานใช้รหัสผ่านที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับชื่อจริง ชื่อเล่น หรือข้อมูลส่วนตัวที่หาได้บนอินเทอร์เน็ต
18. ให้ทำการติดตามและตรวจสอบเว็บไซต์ Social Networking ที่บุตรหลานใช้งานประจำเป็นระยะๆ
19. ควรติดตั้งใช้งานโปรแกรมด้านความปลอดภัยและทำการสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ
20. สิ่งสำคัญที่สุดคือ ให้ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับข่าวคราวการระบาดของของมัลแวร์และภัยคุกคามต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตอย่างสม่ำเสมอ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
• http://us.trendmicro.com/us/about-us/company/20th-anniversary/
Copyright © 2009 Thai Windows Administrator Blog, All Rights Reserved.
Tuesday, February 17, 2009
20 ข้อแนะนำสำหรับการดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลาน
Related Posts:
ไมโครซอฟท์เตือนให้ระวังการโจมตีระบบผ่านทางช่องโหว่ความปลอดภัยแบบ Zero-Day ใน Internet Explorerไมโครซอฟท์ออก Microsoft Security Advisory (981374): Vulnerability in Internet Explorer Could Allow Remote Code Execution เพื่อประกาศเตือนให้ระวังการโจมตีระบบผ่านทางช่องโหว่ความปลอดภัยแบบ Zero-Day ใน Internet Explorer 6 และ In… Read More
ไมโครซอฟท์เตือนผู้ใช้ Internet Explorer 9 และเก่ากว่าให้ระวังถูกโจมตีผ่านช่องโหว่ความปลอดภัยที่ยังไม่มีแพตช์สำหรับแก้ไขไมโครซอฟท์ออก Fix it สำหรับป้องกันการโจมตี Internet Explorer 9 และเก่ากว่าแล้ว อ่านรายละเอียดได้ที่ Internet Explorer Fix it (20 กันยายน 2555) ไมโครซอฟท์ประกาศว่ากำลังตรวจสอบช่องโหว่ความปลอดภัยแบบ Zero-Day ใน Internet Explor… Read More
พบช่องโหว่ร้ายแรงใน Flash Player 9 และ 10 Adobe Reader และ Acrobat 9 และมีการโจมตี Zero-Day ผ่านทางไฟล์ PDF แล้ววันที่ 22 กรกฎาคม ที่ผ่านมา Adobe ได้ออก Security advisory เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่า มีการพบช่องโหว่ความปลอดภัยซึ่งมีความร้ายแรงระดับ Critical ใน 2 โปรแกรม ดังนี้ โปรแกรม Flash Player (v9.0.159.0 และ v10.0.22.87) ทั้งเวอร์ชั… Read More
ไมโครซอฟท์เตรียมปิดช่องโหว่ร้ายแรงใน Internet Explorer, VBScript, Windows 7, 8 และ 8.1 ใน Patch Tuesday เดือนกุมภาพันธ์ไมโครซอฟท์ประกาศออกอัพเดทความปลอดภัยเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เพิ่มอีก 2 ตัว เพื่อแก้ปิดช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงวิกฤต (Critical) ใน Internet Explorer (IE) ทุกเวอร์ชัน และ VBScript บน Windows ทุกเวอร์ชัน ...เรื่องต้นฉบับ... ไมโค… Read More
ไมโครซอฟท์ออก Fix it สำหรับป้องกันการโจมตีช่องโหว่ Security Advisory 2847140 ใน Internet Explorer 8เนื่องจากมีการพบช่องโหว่ความปลอดภัย Security Advisory 2847140 (CVE-2013-1347) ใน Internet Explorer 8 (IE8) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีแพตช์สำหรับแก้ไข ล่าสุดไมโครซอฟท์ออก Fix it 50992 สำหรับป้องกันการโจมตีผ่านช่องโหว่ดังกล่าวนี้แล้ว… Read More
1 Comment:
มีข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครอง ในการดูแลการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของบุตรหลานมาฝากครับ
Post a Comment