เข้ารหัสไฟล์และโฟลเดอร์ด้วยคำสั่ง cipher
ใน Windows XP, Windows Vista และ Windows Server 2003 นั้น จะมีคำสั่ง cipher ซึ่งช่วยในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลบนฮาร์ดดิสที่ใช้ระบบไฟล์เป็น NTFS โดย cipher นั้นสามารถใช้ทำการเข้ารหัสได้ทั้งไฟล์และโฟลเดอร์ ทำงานจากคอมมานด์ไลน์ โดยหลังจากทำการเข้ารหัสแล้วจะมีเพียงยูสเซอร์ที่เป็นผู้ทำการเข้ารหัสเท่านั้นที่จะเปิดไฟล์เพื่อดูหรือแก้ไขข้อมูลได้
คำสั่ง cipher
คำสั่ง cipher นั้นทำงานจากคอมมานด์ไลน์ โดยถ้าทำการรันคำสั่งโดยไม่ใส่พารามิเตอร์ cipher จะแสดงรายการไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดในตำแหน่งไดเรกตอรีกำลังทำงาน ดังตัวอย่างด้านล่างเป็นการรันคำสั่ง cipher ที่โฟลเดอร G:\1234 สังเกตว่าสัญลักษณ์หน้าไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นจะมี 2 แบบ คือ U = Unencrypt และ E = Encrypt
G:\1234>cipher
Listing G:\1234\
New files added to this directory will not be encrypted.
U abc.html
U ip99.txt
E Setup.txt
U text37.txt
E Windowsxp.pdf
U xyz.doc
หากต้องการดูรายละเอียดการใช้งานและพารามิเตอร์ต่างๆ ให้รันคำสั่ง cipher /? ซึ่งจะแสดงความช่วยเหลือของคำสั่ง โดยการเข้ารหัสโฟลเดอร์นั้นจะใช้สวิตช์ /E แต่ให้พึงระวังไว้ว่า การใช้สวิตช์ /E เพื่อเข้ารหัสโฟลเดอร์นั้น จะทำการเข้ารหัสไฟล์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่หรือย้ายเข้ามาหลังการเข้ารหัสเท่านั้น โดยจะไม่ทำการเข้ารหัสไฟล์ต่างๆ ที่มีอยู่ในโฟลเดอร์ก่อนหน้าที่จะทำการรันคำสั่ง ดังนั้นหากต้องการข้ารหัสไฟล์ต่างๆ ที่มีอยู่ในโฟลเดอร์จะต้องใช้สวิตช์ /E คู่กับ สวิตช์ /A และในทางกลับกัน ในขั้นตอนการถอดรหัสก็ให้ทำในลักษณะเดียวกัน
หมายเหตุ: ใช้เป็นอักษรพิมพ์เล็กหรือใหญ่ก็ได้ เช่น /E จะให้ผลการทำงานเหมือนกันกับ /e
ตัวอย่างการใช่งานคำสั่ง cipher
::การใช่งาน cipher เพื่อเข้ารหัสไฟล์และโฟลเดอร์
ตัวอย่างที่ 1: เข้ารหัสโฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้เข้ารหัสโฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /e c:\1234
ตัวอย่างที่ 2: เข้ารหัสไฟล์ชื่อ Windowsxp.pdf ที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้เข้ารหัสไฟล์ชื่อ Windowsxp.pdf ที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /e /a c:\1234\Windowsxp.pdf
ตัวอย่างที่ 3: เข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้เข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /e /a c:\1234\*
ตัวอย่างที่ 4: เข้ารหัสโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้เข้ารหัสโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้ (ไม่ต้องเว้นช่องว่างระหว่างสวิตช์ /s: กับพาธของโฟลเดอร์ที่ต้องการ)
cipher /e /s:c:\1234
ตัวอย่างที่ 5: เข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 , โฟลเดอร์ C:\1234 \12 และโฟลเดอร์ C:\1234 \34
คำสั่งที่ใช้เข้ารหัสฟไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 , โฟลเดอร์ C:\1234 \12 และโฟลเดอร์ C:\1234 \34 เป็นดังนี้ (ให้เว้นช่องว่างระหว่างแต่ละโฟลเดอร์ C:\1234\* ช่องว่าง C:\1234 \12\* ช่องว่าง C:\1234 \34\*)
cipher /e /a C:\1234\* C:\1234 \12\* C:\1234 \34\*
::การใช่งานคำสั่ง cipher เพื่อถอดรหัสไฟล์และโฟลเดอร์
ตัวอย่างที่ 6: ยกเลิกการเข้ารหัสโฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้ยกเลิกการเข้ารหัสโฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /d c:\1234
ตัวอย่างที่ 7: ยกเลิกการเข้ารหัสไฟล์ชื่อ Windowsxp.pdf ที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้ยกเลิกการรหัสไฟล์ชื่อ Windowsxp.pdf ที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /d /a c:\1234\Windowsxp.pdf
ตัวอย่างที่ 8: ยกเลิกการเข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้ยกเลิกการเข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /d /a c:\1234\*
ตัวอย่างที่ 9: ยกเลิกการเข้ารหัสโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้ยกเลิกการเข้ารหัสโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้ (ไม่ต้องเว้นช่องว่างระหว่างสวิตช์ /s: กับพาธของโฟลเดอร์ที่ต้องการ)
cipher /d /s:c:\1234
ตัวอย่างที่ 10: ยกเลิกการเข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 , โฟลเดอร์ C:\1234 \12 และโฟลเดอร์ C:\1234 \34
คำสั่งที่ใช้ยกเลิกการเข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 , โฟลเดอร์ C:\1234 \12 และโฟลเดอร์ C:\1234 \34 เป็นดังนี้ (ให้เว้นช่องว่างระหว่างแต่ละโฟลเดอร์ C:\1234\* ช่องว่าง C:\1234 \12\* ช่องว่าง C:\1234 \34\*)
cipher /d /a C:\1234\* C:\1234 \12\* C:\1234 \34\*
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
การใช้คำสั่ง Cipher เพื่อป้องกันการกู้ข้อมูล: http://thaiwinadmin.blogspot.com/2008/02/kb2008065.html
Keywords: Cipher Encryption
© 2008 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
Monday, June 2, 2008
เข้ารหัสไฟล์และโฟลเดอร์ด้วยคำสั่ง cipher
Related Posts:
What is Safe Mode?รู้จักกับ Safe Mode ของ Windows ผมคิดว่าผู้ใช้ Windows หลายๆ ท่าน คงจะเคยได้ยินคำว่าบูต Windows เข้า Safe Mode กันมาบ้างไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีความสงสัยว่า Safe Mode คือโหมดอะไร? แล้วมีประโยชน์อย่างไร? เชิญอ่านได้ตามรายล… Read More
What's new in Windows XP Service Pack 3 (SP3)มีอะไรใหม่ใน Windows XP SP3 ใน Windows XP Service Pack 3 นั้นไมโครซอฟท์จะเน้นไปทางด้านการอัพเดทความปลอดภัย โดยเป็นการรวมอัพเดทที่ออกมาก่อนหน้าทั้งหมดของ Windows XP เช่น security updates และ hotfixes ต่างๆ เป็นหลัก โดยจะไม่มีก… Read More
Windows XP Installation Step-by-Stepการติดตั้ง Windows XP Professional แก้ไขล่าสุด: 21 กันยายน 2552 บทความนี้จะแสดงขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP Professional โดยภาพที่นำมาประกอบบทความนั้น จะเป็นการติดตั้ง Windows XP Professional Server Pack 2 เป็น Guest OS บนระ… Read More
Regsvr32 usage and error messagesการใช้เครื่องมือ Regsvr32 และข้อผิดพลาด เมื่อผู้ใช้ Windows ต้องการแก้ไขปัญหาบางอย่างใน Windows หรือ Internet Explorer หรือโปรแกรมอื่นๆ ผู้ใช้ Windows XP สามารถใช้เครื่องมือ Regsvr32 (Regsvr32.exe) เพื่อลงทะเบียนและยกเลิกการล… Read More
The 10 Common Windows Security Vulnerabilitiesช่องโหว่ความปลอดภัย 10 ข้อที่พบบ่อยในระบบ Windows บทความนี้ผมรวบรวมปัยหาเกี่ยวกับช่องโหว่ความปลอดภัยที่พบได้บ่อยในระบบปฏิบัติการ Windows จำนวน 10 ข้อมาฝากครับ 1. แชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ โดยกำหนดให้ทุกคน (Everyone) มีสิทธิ์แบบฟูล… Read More
0 Comment:
Post a Comment