ถ้าถามคนที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ว่ารู้จักโปรแกรม DOS หรือ Disk Operation System หรือไม่ หรือว่าเอาไว้ใช้ทำอะไร อาจจะได้คำตอบว่าไม่รู้จักและไม่รู้ว่าเอาไว้ทำอะไร เนื่องจากในปัจจุบันนั้นแทบจะไม่มีใครใช้งาน DOS แล้ว แต่อย่างไรก็ตามคำสั่งพื้นฐานบางคำสั่งของ DOS ก็ยังมีการใช้งานจนถึงปัจจุบันแต่อาจเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบคอมมานด์ไลน์ไปเป็นแบบ Graphic User Interface (GUI) แทน
1. เริ่มต้นการใช้งาน DOS
โปรแกรม DOS หรือชื่อเต็มว่า Disk Operation System นั้น เป็นระบบปฏิบัติการซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งเวอร์ชันล่าสุดก่อนที่จะยกเลิกการพัฒนาคือ เวอร์ชัน 6.22 โปรแกรม DOS นั้น จะมีรูปแบบการใช้งานในลักษณะคอมมานด์ไลน์ (Command line)
การใช้งานนั้นจะเริ่มจากบูตเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผ่น DOS Boot Diskette หรือจากฮาร์ดดิสก์ เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และเมื่อ DOS เตรียมพร้อมแล้ว มันจะแสดงหน้าจอรอรับคำสั่งจากผู้ใช้ โดยวิธีการเริ่มต้น DOS มีอยู่ 2 วิธีขึ้นอยู่กับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เปิดหรือหรือปิด
1. ถ้าคอมพิวเตอร์กําลังปิดอยู่ เราเรียกว่า "Cold Boot"
1.1 นำแผ่น DOS ใส่เข้าไปใน Dive A
1.2 เปิดเครื่องพิมพ์ (ถ้ามี) เปิดจอภาพ แล้วเปิดคอมพิวเตอร์
1.3 รอสักครู่เพื่อให้มีการตรวจสอบระบบ ระยะเวลาที่รอคอยขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยความจํามาก ยิ่งต้องรอนานเมื่อตรวจสอบเสร็จ Diskette Drive จะมีไฟสว่างพร้อมเสียงดัง ซึ่งหมายความว่าเครื่องกําลังอ่าน DOS แล้วนำไปไว้ในหน่วยความจำ
2. ถ้าคอมพิวเตอร์กําลังเปิดอยู่เราเรียกว่า "Warm Boot"
2.1 นำแผ่น DOS ใส่เข้าไปใน Drive A
2.2 กดปุ่ม Ctrl และ Alt พร้อมกัน แล้วกดปุ่ม Del แล้วปล่อยทุกปุ่มพร้อมกัน
2.3 เราจะได้ยินเสียงและแสงไฟจาก Diskette Drive ซึ่งหมายความว่าเครื่องกําลังอ่าน DOS เราจะใช้กรณีนี้เมื่อกําลังทำงานกับโปรแกรมอื่น และต้องการยกเลิกเพื่ออ่าน DOS เราเรียกวิธีนี้ว่า "System Reset"
2. ชนิดของคำสั่ง DOS
คำสั่ง DOS มี 2 ประเภท คือ
1. คำสั่งประเภทภายใน (Internal Command) เราสามารถสั่งทำงานได้ทันทีเพราะมีอยู่ใน DOS เรียบร้อยกล่าวคือ Boot DOS เสร็จ คำสั่งเหล่านี้จะอยู่ในหน่วยความจำด้วย
2. คำสั่งประเภทภายนอก (External Command) คำสั่งเหล่านี้จะอยู่ใน Diskette ในรูปแบบของโปรแกรมดังนั้นเราต้องสั่งให้อ่านจาก Diskette ก่อนที่จะให้ทำงาน ซึ่งหมายความว่า Diskette ที่มีคำสั่งเหล่านี้จะต้องอยู่ใน Drive พร้อมแล้ว มิฉะนั้น DOS จะไม่อาจหาคำสั่งได้ไฟล์ใดก็ตามที่มีส่วนขยาย (Extension) เป็น .EXE จะเป็นคำสั่งประเภทภายนอกทั้งสิ้น
3. สัญลักษณ์ที่ใช้ในรูปแบบของคำสั่ง (Format Notation)
เราจะใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้ เพื่อความเข้าใจในการป้อนคำสั่งของDOS
1. เราจะต้องใส่คำสั่งใด ๆ ที่อยู่ในรูปของตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letter) เราเรียกคำสั่งนี้ว่า Keyword และจะต้องใส่ให้เหมือนกับที่มีอยู่รูปแบบของคำสั่ง อย่างไรก็ตามเราจะพิมพ์ Keyword เป็นตัวเล็ก หรือตัวเขียนใหญ่อาจจะมีการปะปนกัน DOS จะแปลงคํ าเหล่านี้ให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่โดยอัตโนมัติ
2. เราจะต้องเติมคํ าใด ๆ ที่แสดงไว้เป็นตัวเขียนเล็ก เช่น เราควรจะเติมชื่อไฟล์ของเราเมื่อมีคํ าว่า Filename ปรากฏอยู่ในรูปแบบของคำสั่ง
3. ข้อความที่อยู่ในวงเล็บกล้ามปู [] เป็นตัวเลือก Option กล่าวคือ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ไม่ต้องพิมพ์เครื่องหมาย []ลงด้วย
4. เครื่องหมาย .... (ellipsis) หมายความว่า เราสามารถทำรายการใดๆ ซํ้ าหลายๆ ครั้งได้ตามต้องการ
5. เราต้องใส่เครื่องหมายวรรคตอนทั้งหมด (ยกเว้น []) เช่น เครื่องหมาย,=?:/ ตามที่ปรากฏอยู่ในรูปแบบของคำสั่ง
4. ชุดคำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่ถูกติดตั้งมาในเครื่อง ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้คำสั่งนี้ได้โดยทันที เช่น Directory Delete Rename Copy Move Type Date/Time Cls Vol Ver เป็นต้น
1. คำสั่ง Time
ใช้แสดงเวลาปัจจุบันของเครื่องหรือเปลี่ยนแปลงเวลาเพื่อตั้งค่าใหม่ให้ระบบได้
>รูปแบบคำสั่ง TIME [hh:mm:ss.xx]
2. คำสั่ง Date
ใช้แสดงวัน วันที่-เดือน พ.ศ. ปัจจุบันของเครื่อง เราสามารถพิมพ์วันที่เข้าไปหรือเปลี่ยนแปลงวันที่เพื่อตั้งค่าให้ระบบได้
>รูปแบบคำสั่ง DATE [mm-dd-yy]
ถ้าเราพิมพ์วันที่ในคำสั่ง Date ได้ถูกต้อง ระบบจะยอมรับวันที่นั้นแล้วจะมี System Prompt (ปกติจะเป็น Drive:\ เช่น A:\>, C:\>)ปรากฏ ถ้าวันที่ที่ระบบแสดงถูกต้องสามารถกดปุ่ม Enter ผ่านไปได้เลยระบบจะแสดงวันในสัปดาห์ เช่น Tue,Wed ฯลฯ ในตํ าแหน่งของ day ป้อนวันที่ในรูปแบบ mm-dd-yy หรือ mm/dd/yy โดย
mm เป็นตัวเลขหนึ่งหรือสองหลักมีค่าระหว่าง 1-12(เดือน)
dd เป็นตัวเลขหนึ่งหรือสองหลักมีค่าระหว่าง 1-31 (วันที่)
yy เป็นตัวเลขหนึ่งหรือสองหลักมีค่าอยู่ระหว่าง 00-99 (ปี ค.ศ.)
3. คำสั่ง Type
ใช้แสดงรายละเอียดของไฟล์ที่ต้องการบนจอภาพ
>รูปแบบคำสั่ง Type filespec
ตัวอย่าง Tye a:a1.txt (เมื่อพิมพ์เสร็จทุกครั้ง ให้ทำการกด Enter)จะมีผลทำให้รายละเอียดต่าง ๆ ของโปรแกรม a1.txt ปรากฏอยู่บนจอภาพ
4. คำสั่ง Copy
เราใช้คำสั่งนี้เพื่อ
1. ทำสำเนาไฟล์ 1 ไฟล์ หรือมากกว่า 1 ไฟล์ และยังสามารถให้ชื่อไฟล์แก่สำเนาใหม่โดยให้ต่างจากชื่อไฟล์ต้นฉบับ
2. ทำสำเนาไฟล์ต่าง ๆ เก็บไว้ใน Diskette แผ่นเดียวกันกับไฟล์ต้นฉบับ ในกรณีนี้เราต้องตั้งชื่อใหม่สํ าหรับไฟล์สำเนา มิฉะนั้นจะทำสำเนาไม่ได้ นอกจากนี้เรายังสามารถทำสำเนาโดยรวมไฟล์หลายไฟล์เข้าเป็นไฟล์เดียวกันได้
>รูปแบบคำสั่ง
COPY [d:]filename[.ext] [d:][filename[.ext]]
หรือ
COPY [d:]filename[.ext] [+[d:]filename[.ext]][d:][filename[.ext]]
ตัวอย่าง 1 Copy myprog A:
หมายถึงให้ทำสำเนาไฟล์ myprog ที่อยู่ ณ Drive ปัจจุบัน (Default drive) ไปไว้ใน drive A แล้วใช่ชื่อเดิม
ตัวอย่าง 2 Copy A:myprog
หมายถึงให้ทำสำเนาไฟล์ myprog จาก drive A ไปไว้ใน ณ drive ปัจจุบัน (Default drive) โดยชื่อไฟล์เดิม
ตัวอย่าง 3 Copy myprog.txt A:*.doc
หมายถึงให้ทำสำเนาไฟล์ myprog.txt จาก drive A ซึ่งเป็น default drive ไปยัง drive A ให้ชื่อใหม่ว่า myprog. doc
ตัวอย่าง 4 Copy A.txt.b.txt+A:c.txt bigfile.txt
หมายถึงการรวมไฟล์ A.txt และ b.txt และ A:c.txt เข้าเป็นไฟล์ bigfile.txt โดยบันทึกไฟล์ใหม่ลงใน Default Drive ถ้าเราไม่ได้ระบุชื่อไฟล์ที่เป็นไฟล์ผลลัพธ์ไฟล์อื่นๆ จะถูกนำมาต่อท้ายของไฟล์แรก แล้วได้ไฟล์ผลลัพธ์อยู่ในไฟล์แรก เช่น Copy A.txt+b.txt คำสั่งนี้ จะนำไฟล์ A.txt ไปต่อท้ายไฟล์ A.txt แล้วเก็บผลลัพธ์ไว้ในไฟล์ A.txt
5. คำสั่ง CLS (Clear Screen)
เราใช้เพื่อลบข้อความต่างๆ บนจอภาพให้หมดไปเมื่อใช้คำสั่งนี้แล้วจะมี A:\> หรือ C:\> ปรากฏตรงมุมบนซ้ายของจอภาพเพื่อรอรับคำสั่งต่อไป
>รูปแบบคำสั่ง CLS
6. คำสั่ง Rename (หรือ REN)
ใช้เพื่อเปลี่ยนชื่อไฟล์ที่ระบุไว้ในพารามิเตอร์ตัวแรกไปเป็นชื่อและส่วนขยายที่กํ าหนดไว้ในพารามิเตอร์ที่สอง
>รูปแบบคำสั่ง RENAME [d:]filename[.ext] filename[.ext]
หมายเหตุ:
เราสามารถใช้คำสั่งสั้นๆ ได้โดยใช้ REN แทน RENAME นอกจากนี้เรายังใช้ Global character ?และ*ได้ด้วย
ตัวอย่าง 1: เปลี่ยนชื่อไฟล์ abode ใน Drive A เป็นชื่อ home
ตัวอย่าง Rename A:abode home
ตัวอย่าง 2: เปลี่ยนชื่อไฟล์ abode ใน Drive A เป็นชื่อไฟล์เดิม แต่มีส่วนขยายเป็น xyz คือ Abode.xyz
REN A:abode*.xyz
7. คำสั่ง DEL (DELETE)
เราใช้ลบไฟล์ออกจาก Directory ใน Drive ที่กํ าหนด หรือใช้ลบไฟล์ออกจาก Default Drive ถ้าไม่ได้ระบุ drive
>รูปแบบคำสั่ง DEL [d:][filename[.ext]]
ข้อสังเกต:
1. คำสั่ง DEL ไม่อาจลบไฟล์ระบบได้
2. ถ้าเราใช้ Filespec*.* เพื่อลบทุกๆ ไฟล์ใน Directory Dos ระบบจะถามเราเพื่อความแน่ใจว่า Are you sure (Y/N) หากต้องการลบจริงๆ ให้ตอบ Y แต่ถ้าเปลี่ยนใจไม่ต้องการลบให้ตอบ N
ตัวอย่าง: ให้ทำการลบไฟล์ที่ Drive A ที่ชื่อ abc.txt
DEL A:abc.txt
8. คำสั่ง DIR (Directory)
ใช้แสดงรายการไฟล์ต่างๆ ที่อยู่ใน Directory หรือเจาะจงแสดงบางไฟล์ที่ต้องการข้อความปรากฏมีทั้งชื่อไฟล์ ขนาดของไฟล์ซึ่งมีหน่วยเป็น Byte วันที่และเวลาที่สร้างไฟล์ รวมทั้งเนื้อที่ว่างที่มีอยู่
>รูปแบบคำสั่ง DIR [d:][filename][.ext] [/P][/W]
/P จะทำจอหยุดแสดงไฟล์ชั่วคราวเมื่อรายชื่อไฟล์เต็มหน้าจอ หากประสงค์ดูไฟล์ต่อๆ ไปให้ทำการกดปุ่มใดๆ
/W จะทำให้จอแสดงชื่อไฟล์ 5 ไฟล์ต่อหนึ่งบรรทัด โดยแสดงเฉพาะชื่อไฟล์เท่านั้น
A:\>dir/w (รูปแบบคำสั่งของ Directory แบบด้านกว้าง)
A:\>dir/p (รูปแบบคำสั่งของ Directory แบบต่อหน้า)
หมายเหตุ:
เราสามารถใช้ Global Character?และ*ในชื่อไฟล์และส่วนขยายได้
9. คำสั่ง VOL
ใช้แสดงรหัสของสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล และชื่อป้ายประกาศของสื่อที่ทำการบันทึก (Volume label and Serial number)
>รูปแบบคำสั่ง VOL [Drive:]
ตัวอย่าง A:\>VOL (กดปุ่ม Enter) ผลลัพธ์จะได้ ดังรูปที่แสดง
10. คำสั่ง Label
ใช้แสดงชื่อป้ายประกาศของสื่อที่ทำการบันทึก พร้อมเลขรหัสของสื่อแต่จะแตกต่างจากคำสั่ง VOL ตรงที่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงชื่อป้ายประกาศของสื่อได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนรหัสของสื่อได้เพราะจะเป็นเลขประจํ าตัวของสื่อชนิดนั้นๆ
>รูปแบบของคำสั่ง LABEL [Drive:][lable]
ตัวอย่าง Label A:abc
คํ าอธิบายเพิ่มเติม
กรณีแบบแรก: คำสั่ง Lable [Drive][ชื่อป้ายประกาศใหม่] ผลลัพธ์ที่ได้เราสามารถทำการตรวจสอบได้โดย การใช้คำสั่ง Vol แล้วตรวจสอบดูชื่อใหม่ที่ทำการเปลี่ยนไป
ตัวอย่าง Label a:
กรณีแบบที่สอง: คำสั่ง Lable[Drive] เมื่อทำการกด Enter ไป สังเกตว่า Volume label จะทำการแสดงชื่อให้ผู้ใช้งาน ทำการเปลี่ยนชื่อป้ายประกาศใหม่เข้าไป ซึ่งผู้ใช้จํ าเป็นจะต้องกรอกชื่อใหม่ใส่จากนั้นทำการกด Enter เพื่อเป็นการยืนยัน สิ้นสุดการใช้งาน จะกลับมาที่ A prompt การตรวจสอบจะเหมือนแบบแรกโดยการใช้คำสั่ง Vol
11. คำสั่ง Chkdsk (Check Disk)
ใช้แสดงผลในการตรวจสอบพื้นที่ของสื่อ หรือไดร์ฟ เช่น A,B,C… เป็นต้น
>รูปแบบคำสั่ง CHKDSK [Drive][Path][filename][/F][/V]
[Drive][Path] ตรวจสอบคุณลักษณะของไดร์ฟและไดเรคทอรี
filename ตรวจสอบคุณลักษณะของไฟล์ที่ทำการจัดเรียง
/F ทำการ Fixed error ของสื่อบันทึก หรือดิสก์
/V แสดงรายละเอียดข้อมูลที่ได้ทำการตรวจสอบ
ตัวอย่าง CHKDSK A: (กดปุ่ม Enter)
12. คำสั่งเกี่ยวกับไดเร็คทรอรี่ย่อย (Sub-directory)
ลักษณะการใช้งาน จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนสํ าหรับการใช้งาน ดังนี้
MD (Made Directory) การสร้างได้เร็คทรอรี่
>รูปแบบคำสั่ง MD <ชื่อของได้เร็คทรอรี่ใหม่>
ตัวอย่าง MD ABC1
วิธีการตรวจสอบ ให้ทำการพิมพ์ Dir/w ดูว่ามีการสร้างได้เร็คทรอรี่ใหม่หรือเปล่า
CD (Chang Directory) การเข้าถึงได้เร็คทรอรี่ที่ต้องการใช้งาน หรือที่สร้างใหม่
>รูปแบบคำสั่ง CD <ชื่อของได้เร็คทรอรี่ใหม่>
ตัวอย่าง CD ABC1 หากต้องการออกให้พิมพ์ CD.. หรือ /CD
วิธีการตรวจสอบ สังเกตตรง A Prompt จะเป็น A:ABC1\> แสดงว่าได้มีการเข้าไปถึงไดเร็คทรอรี่ ABC1
RD (Remove directory) การลบไดเรคทอรี่
>รูปแบบของคำสั่ง RD <ชื่อของไดเร็คทรอรี่ หรือที่ต้องการลบ>
ตัวอย่าง RD ABC1 จะทำการลบทิ้งไดเร็คทรอรี่ ABC 1 ทิ้ง
วิธีการตรวจสอบ สังเกตได้เร็คทรอรี่ ABC1 จะไม่มีอยู่ นั่นแสดงว่าได้ลบทิ้งไปแล้ว
กฏของการลบได้เร็คทรอรี่
1. ต้องอยู่เหนือระดับไดเร็คทรอรี่ที่ต้องการลบอย่างน้อย 1 ระดับ
2. ในการลบ Sub – directory ทุกครั้ง หากมีไฟล์อยู่ ต้องทำการลบไฟล์ หรือ ทำการย้ายไฟล์ทั้งหมดออกก่อน จากนั้นจึงค่อยทำการลบ
3. เมื่อทำการลบเรียบร้อย ให้ทำการตรวจสอบโดยการใช้ Dir/w ตรวจดู Sub-directory นั้น ๆ
5. ชุดคำสั่งภายนอก (External Command)
1. คำสั่ง Format
ใช้สํ าหรับ Diskette แผ่นใหม่ หรือ Diskette ที่ใช้โปรแกรมระบบงาน (Operting System) อื่น หากจะนำมาใช้กับ DOS เราจะต้องทำให้ Diskette นั้นอยู่ในรูปแบบที่ยอมรับ DOS ได้
>รูปแบบของคำสั่ง FORMAT [d:][/s][/I][/v]
d: เป็นพารามิเตอร์ซึ่งเราจะต้องระบุว่าจะให้ทำ Format ใน Drive ใด
/s เป็นการบันทึกไฟล์ระบบลงสู่ Diskette แผ่นใหม่ที่ Default Drive ชนิดใด
/I เป็นการ Format เพียงหน้าเดียวของแผ่น Diskette โดยไม่คํ านึงว่าเป็น Drive
ชนิดใด
/v เป็นการใช้ชื่อลงใน Volume Label บนแผ่น Diskette เพื่อให้ทราบว่า
Diskette แผ่นนั้นเป็นของเรา เพื่อสะดวกในการติดตาม ชื่อที่ใส่ประกอบด้วยตัวอักษรระหว่าง 1 ถึง 11 ตัวอักษร ตัวอักษรที่เราใช้ตั้งชื่อไฟล์ได้จะสามารถตั้งชื่อให้กับ Volume Label ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามชื่อ Volume Label จะต้องไม่มีเครื่องหมายที่เป็น.(จุด) ระหว่างตัวอักษรตัวที่ 8 และ 9
หมายเหตุ
1. การ Format จะเป็นการทำลายข้อมูลใด ๆ ใน Diskette
2. ในระหว่างการทำ Format มันจะทำเครื่องหมายสํ าหรับ Track ที่ชํ ารุดโดยใช้เป็นส่วนสํ ารอง เพื่อป้องกันมิให้มีการจัดสรร track นี้ให้แก่ข้อมูลใด ๆ
3. สํ าหรับไฟล์ io.sys , msdos.sys และ delspace.bin จะมีเครื่องหมายระบุไว้เป็น Hidden File ตัวนั้นเวลาใช้คำสั่ง dir จะไม่มีชื่อไฟล์ทั้ง 2 นี้ ปรากฏออกมา
4. คำสั่ง Format จะจัดทำรายงานแสดงลักษณะภาพดังนี้
1.1 พื้นที่ทั้งหมดของ Disk
1.2 พื้นที่ที่ชํ ารุด
1.3 พื้นที่ที่จัดสรรให้แก่ไฟล์ไปบ้าง (เมื่อใช้ /s)
1.4 จํ านวนพื้นที่ที่เหลือสํ าหรับไว้ใช้งาน
ตัวอย่าง เราจะทำการ Format แผ่น Diskette ใน Drive A โดยใช้คำสั่ง
Format A:/s/v
บนจอภาพจะปรากฎข้อความว่า
Insert new diskette any key when ready
หลังจากที่เราใส่ Diskette ที่ทำการ Format ลงใน Drive A และกดปุ่มใด ๆ แล้ว บนจอภาพจะแสดงข้อความว่า
Formatting…..
ซึ่งข้อความนี้จะปรากฏขึ้นในขณะกําลัง Format เมื่อทำการ Format เสร็จแล้ว บนจอภาพจะแสดงข้อความ
Formatting…Format Complete System transferred
Volumn label (11 character , Enter for none) ?
179712 bytes total disk space
xxxxx bytes used by system
xxxxxx bytes available system (เมื่อ xx คือ ตัวเลขที่แสดงค่าออกมา เป็นเพียงค่าสมมติ เพื่อให้ทราบวิธีการใช้งาน Format xx)
2. คำสั่ง Diskcopy
เป็นคำสั่งประเภทภายนอก เราใช้ทำสำเนาทุก ๆ ไฟล์จาก Diskette ต้นฉบับไปยัง Diskette แผ่นสำเนาในระหว่างทำสำเนาจะมีการ format แผ่นสำเนาด้วย
>รูปแบบของคำสั่ง DISKCOPY [d:] [d:] [/I]
หมายเหตุ:
1. พารามิเตอร์ d: ตัวแรกเป็นการระบุ Drive ของแผ่น Diskette ต้นฉบับ ส่วนพารามิเตอร์ตัวที่สองเป็นการระบุ Drive ของแผ่น Diskette ฉบับสำเนา
2. พารามิเตอร์ /I มีผลทำให้การทำสำเนาเฉพาะหน้าแรกของ Diskette โดยไม่คํ านึงถึงชนิดของ Diskette และ Drive
3. เราสามารถระบุ Drive เดียวกันคือ Drive ต่างกันได้ ถ้าเราระบุให้ใช้ drive เดียวกันในการทำสำเนาโปรแกรม Diskcopy จะคอยบอกให้เราใส่ Diskette เข้าไปใน Drive ตามความเหมาะสม โปรแกรม Diskcopy จะรอคอยให้เรากดปุ่มใด ๆ ก็ได้ เพื่อให้ทำการสำเนา
ดํ าเนินต่อไป โดยวิธีนี้เราเสียเวลาสับเปลี่ยน Diskette แผ่นต้นฉบับและแผ่นสำเนา
ตัวอย่าง Diskcopy A:B:
บนหน้าจอจะแสดงข้อความว่า
Insert source diskette in drive A:
Insert target diskette in drive B:
Strike any key when ready
เมื่อเรานำแผ่น Diskette ต้นฉบับใส่ลงใน Drive A และแผ่นสำเนาใส่ลงใน Drive B แล้ว กดปุ่มใดๆ จะมีผลทำให้มีการทำสำเนาโดยอ่านจากแผ่นต้นฉบับแล้วบันทึกลงบนแผ่นสำเนาจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะแสดงข้อความว่า
Copy another (Y/N) ?
ถ้าเราต้องการทำสำเนาต่อ โดยใช้แผ่นต้นฉบับเดิมให้ตอบ Y แล้วดํ าเนินการต่อไปในลักษณะเดียวกัน แต่ถ้าไม่ต้องการทำสำเนาให้ตอบ N เครื่องจะกลับเข้าสู่ระบบต่อไป
Keywords: MS-DOS DOS Operating System
© 2008 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
0 Comment:
Post a Comment