Monday, September 3, 2012

วิธีตั้งโซนเวลาใน Windows 8

ในการติดตั้ง Windows 8 นั้นไมโครซอฟท์ได้ตัดการขั้นตอนการตั้งค่าโซนเวลา (Time Zone) ออกเพื่อความรวดเร็ว โดยกำหนดให้ใช้โซนเวลา (UTC - 08:00) Pacific Time (Us & Canada) เป็นค่าเริ่มต้น ดังนัันหลังจากทำการติดตั้ง Windows 8 แล้วเสร็จผู้ใช้จะต้องทำการตั้งค่าโซนเวลาให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง เช่น กำหนดป็น (UTC + 07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta สำหรับการใช้งานในประเทศไทย, เวียดนาม, และอินโดโนีเซีย เป็นต้น สำหรับในบทความนี้ผมจะสาธิตวิธีการตั้งค่าโซนเวลาใน Windows 8 ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

หมายเหตุ: สำหรับผู้ที่ยังไม่มี Windows 8 สามารถอ่านรายละเอียดการดาวน์โหลดได้ที่ Windows 8 Enterprise

การตั้งโซนเวลาจาก PC Settings
การตั้งโซนเวลาจาก PC Settings ทำได้โดยการใช้ชาร์มบาร์ (Charm bar) และสามารถดำเนินการได้จากหน้า Start หรือ Desktop ตามขั้นตอนดังนี้
1. ในหน้า Start หรือ Desktop ให้เลื่อนเคอร์เซอร์เม้าส์ไปบริเวณมุมบนขวาหรือมุมล่างขวาของหน้าจอเพื่อเปิดชาร์มบาร์จากนั้นคลิก Settings แล้วคลิก Change PC Settings ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1

2. ในหน้า PC Settings ในแพนด้านซ้ายมือให้เลือก General จากนั้นในหัวข้อ Time ในแพนด้านขวามือให้เลือกตั้งค่าเป็น (UTC + 07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta ดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2

การตั้งโซนเวลาจากพาเนล Date and Time
การตั้งโซนเวลาจากพาเนล Date and Time จะต้องดำเนินการจากหน้า Desktop ตามขั้นตอนดังนี้
1. ในหน้า Desktop ให้คลิกเม้าส์ขวาบนไอคอนนาฬิกาจากนั้นเลือก Adjust date/time ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3

2. ในหน้าไดอะล็อก Date and Time ในหัวข้อ Time zone ให้คลิก Change time zone ดังภาพที่ 4

ภาพที่ 4

3. ในหน้าไดอะล็อก Time Zone Settings ในหัวข้อ Time zone ให้เลือกตั้งค่าเป็น (UTC + 07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta เสร็จแล้วคลิก OK จากนั้นในหน้าคลิก OK อีกครั้งในหน้าไดอะล็อก Date and Time เพื่อจบการทำงาน

ภาพที่ 5

ทั้งนี้ หลังจากทำการเปลี่ยนโซนเวลาเสร็จแล้วให้ตรวจสอบวันที่และเวลาของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยนะครับว่าตรงกับวันและเวลาจริงหรือไม่ ถ้าหากไม่ตรงให้ทำการตั้งให้ตรงโดยการคลิก Change date and time ในหน้าไดอะล็อก Date and Time (ภาพที่ 4) จากนั้นทำการตั้งค่าให้ตรงกับวันและเวลาจริง

บทความโดย: TWA Blog

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

Copyright © 2012 TWA Blog. All Rights Reserved.

Related Posts:

  • วิธีแก้ข้อผิดพลาด Status: 0xc0000225 เมื่อติดตั้ง Windows 7 64-bit บน VirtualBoxผมได้พบกับปัญหาการใช้งานโปรแกรม Oracle VM VirtualBox หรือที่นิยมเรียกกันว่า VirtualBox ที่น่าสนใจปัญหาหนึ่ง คือ เมื่อผมพยายามทำการติดตั้ง Windows 7 64-bit บนเวอร์ชวลแมชชีน (Virtual Machine) ในโปรแกรม VirtualBox ผลปรากฏว่าไม่ส… Read More
  • การส่งออก Virtual Machine บนระบบ Hyper-Vจุดเด่นอย่างหนึ่งของระบบเวอร์ชวลไลเซชัน (Virtualization) คือความสามารถในการย้ายเวอร์ชวลแมชชีน (Virtual Machine หรือ VM) จากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง (Move) หรือทำการโคลน (Clone) ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยการส่งออก (Export… Read More
  • วิธีการโคลน Virtual Machine บน VirtualBoxเอนทรี่ต่อเนื่องเกี่ยวกับ VirtualBox โปรแกรมสำหรับใช้จำลองระบบคอมพิวเตอร์แบบโอเพนซอร์สอีกหนึ่งเรื่อง ครั้งนี้ขอสาธิตวิธีการโคลนเวอร์ชวลแมชชีน (Clone Virtual Machine) ซึ่งการโคลนนั้นช่วยให้สามารถสร้างเวอร์ชวลแมชชีนใหม่ได้ง่ายแ… Read More
  • วิธีการแบ่งปันโฟลเดอร์ระหว่าง Host กับ Virtual Machine บน VirtualBoxวันนี้มีทิปการใช้งานโปรแกรม VirtualBox ซึ่งล่าสุดออกเวอร์ชัน 4.2.18 มาฝาก เป็นวิธีการแบ่งปันโฟลเดอร์ (Share Folder) ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) สามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์โฮสต์ (Ho… Read More
  • Tip: ปิดหลายแท็บพร้อมกันบน Google Chromeมีทิปง่ายๆ ในการใช้ Google Chrome ที่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบมาฝาก เป็นวิธีการปิดแท็บพร้อมกันหลายแท็บโดยไม่ต้องใช้ส่วนขยายหรือโปรแกรมเสริมใดๆ ครับ Google Chrome นั้นมีฟังก์ชันสำหรับใช้ปิดแท็บพร้อมกันหลายแท็บในตัวอยู่ 2 วิธีด้… Read More

0 Comment: