VMware ออก Workstation 7.1.3 ทั้งเวอร์ชันสำหรับ Windows และ Linux ซึ่งเวอร์ชันอัปเดทใหม่ล่าสุดของซอฟต์แวร์ที่ได้รับการยกย่องว่าให้เป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ดีที่สุดสำหรับการใช้จำลองระบบคอมพิวเตอร์ (Virtualization) นี้ออกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา
VMware Workstation 7.1.3 มีหมายเลข Build 324285 เป็นเวอร์ชัน Maintenance release เพื่อปรับปรุงการทำงานโดยไม่มีการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย สำหรับปัญหาที่ได้รับการแก้ไขเช่น ปัญหาติดตั้งบน Linux kernel เวอร์ชันก่อน 2.6.34 ไม่ได้ และการเกิดข้อผิดพลาดเมื่อสร้าง guest operating เป็น Novell NetWare, Sun Solaris หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆ ใน New Virtual Machine wizard สำหรับการปรับปรุงทั้งหมดสามารถอ่านได้จากหัวข้อ คุณสมบัติใหม่ของ VMware Workstation 7.1.3 ด้านล่าง
ดาวน์โหลด VMware Workstation
VMware Workstation เป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ (ต้องซื้อไลเซนส์) อย่างไรก็ตาม VMware ได้เปิดให้ผู้ที่สนใจดาวน์โหลดเวอร์ชันทดลองใช้งาน 30 วัน ไปทดทดลองใช้งานได้ฟรี โดยสามารถลงทะเบียนเพื่อดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ Download VMware Workstation 7.1.3 for Windows
VMware Workstation 7.1.3
คุณสมบัติเด่นใน VMware Workstation 7.x for Windows
สำหรับคุณสมบัติใหม่ใน VMware Workstation 7.x for Windows มีดังนี้
• 2X 3D Graphics Performance:
ประสิทธิภาพของระบบประมวลผลแบบ 3D ได้รับการปรับปรุงให้เพิ่มขึ้นสูงสุด 2 เท่า โดยประสิทธิภาพด้านกราฟิกสำหรับ DirectX 9.0 และการเร่งฮาร์ดแวร์ (Hardware Acceleration) สำหรับ OpenGL 2.1 ในเวอร์ชวลแมชชีนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 และ Windows Vista เพิ่มขึ้นสูงสุด 2 เท่า ทำให้สามารถรันโปรแกรมที่ต้องการพลังการประมวลผลทางกราฟิกสูงอย่างเช่นโปรแกรม AutoCAD 2011 ได้โดยไม่มีปัญหา
• Support for Larger Virtual Machines:
รองรับเวอร์ชวลแมชชีนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยสามารถรองรับเวอร์ชวลโปรเซสเซอร์ (Virtual Processor) ได้สูงถึง 8 ตัว และสามารถรองรับเวอร์ชวลดิสก์ (Virtual Disk) ได้สูงถึง 2 TB ทำให้เวอร์ชวลแมชชีนสามารถรองรับแอพพลิชันขั้นสูงในปัจจุบันได้อย่างไม่มีปัญหา
• Tighter Windows 7 Integration:
สามารถเปิดเวอร์ชวลแอพพลิเคชันได้จากทาสก์บาร์ของ Windows 7 ทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนการรันแอพพลิเคชันปกติ และการสลับการทำงานระหว่างเดสก์ท็อปกับแอพพลิเคชันบนเวอร์ชวลแมชชีนเหมือนการสลับการทำงานระหว่างเดสก์ท็อปกับแอพพลิเคชันปกติ นั่นคือ ผู้ใช้สามารถย้ายการทำงานจากเดสก์ท็อปไปยังแอพพลิเคชันบนเวอร์ชวลแมชชีน (หรือกลับกัน) เหมือนกับการย้ายการทำงานจากเดสก์ท็อปไปยังแอพพลิเคชันปกติ (หรือกลับกัน) ได้โดยไม่ต้องกดปุ่มพิเศษใดๆ เพิ่มเติม
• Run More Operating Systems:
รองรับระบบปฏิบัติการ Linux เวอร์ชันล่าสุด ซึ่งรวมถึง Ubuntu 8.04.4, Ubuntu 10.04, OpenSUSE 11.2, Red Hat Enterprise Linux 5.5, Fedora 12, Debian 5.0.4 และ Mandriva 2009.1
• Open Standards Support:
รองรับระบบมาตรฐานเปิด (Open Standard) ทำให้สามารถนำเข้า/ส่งออก (Import/Export) เวอร์ชวลแมชชีนในฟอร์แมต Open Virtualization Format (OVF 1.0) ได้ และยังสามารถโหลดเวอร์ชวลแมชชีนเข้าสู่ระบบ VMware vSphere ได้โดยตรงอีกด้วย
การปรับปรุงใน VMware Workstation 7.1.3
VMware Workstation 7.1.3 for Windows มีการปรับปรุงดังนี้
- When you install VMware Workstation on an operating system that uses a post-2.6.34 Linux kernel, the vmmon module fails to compile.
- The vmxnet and vsock guest modules fail to compile on operating systems that use post-2.6.32 Linux kernels.
- When you install VMware Tools on an operating system that uses a post-2.6.34 Linux kernel, the vsock.ko module fails to build.
- Unity mode does not work with an Ubuntu 10.10 64-bit guest operating system.
- An unrecoverable error occurs when you select the Novell NetWare, Sun Solaris, or Other guest operating system type in the New Virtual Machine wizard.
- When you run bulkDeploy.exe to deploy a Pocket ACE package into one or more locations, it crashes with the error SSL Wrapper: invoked uninitilized function AES_set_encrypt_key!.
ความต้องการระบบฮาร์ดแวร์
VMware Workstation 7.1.3 Build 282343 for Windows มีความต้องการระบบฮาร์ดแวร์ ดังนี้
• เครื่องคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐาน x86-compatible หรือ x86-64-compatible
• ซีพียูที่มีความเร็ว 1.3MHz หรือสูงกว่า
Intel - Celeron, Pentium II, Pentium III, Pentium 4, Pentium M (รวมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Centrino mobile technology), Xeon (รวมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ “Prestonia”), Core และ Core 2 processors
AMD - Athlon, Athlon MP, Athlon XP, Athlon 64, Duron, Opteron, Turion 64 และ Sempron
• รองรับ Multiprocessor systems
• รองรับระบบปฏิบัติการเกสต์เวอร์ชัน 64 บิต นั้นจะรองรับเฉพาะระบบที่ใช้ซีพียูดังนี้
1. AMD Athlon 64 Revision D หรือใหม่กว่า AMD Opteron, AMD Turion 64 และ Sempron
2. Intel Pentium 4 และ Core 2 processors with EM64T และ Intel Virtualization Technology
• หน่วยความจำขั้นตำ 1 GB (แนะนำให้ใช้ 2 GB) และเวอร์ชวลแมชชีนแต่ละตัวจะรองรับหน่วยความจำได้สูงสุด 32GB
• ดิสเพลย์อะแด็ปเตอร์แบบ 16-bit หรือ 32-bit
• สำหรับการใช้งาน Windows 7 Aero Graphic Support มีความต้องการระบบดังนี้
ต้องการซีพียู
- Intel Dual Core 2.2 GHz
- AMD Athlon 4200+
ต้องการโฮสต์ GCPU
- nVidia GeForce 8800GT หรือสูงกว่า
- ATI Radeon HD 2600 หรือสูงกว่า
ต้องการหน่วยความจำ
โฮสต์ต้องมีหน่วยความจำอย่างต่ำ 3GB และเกสต์ต้องมีหน่วยความจำอย่างต่ำ 1GB และ 256MB สำหรับระบบกราฟิก
• ฮาร์ดดิสก์ มีความต้องการดังนี้
- รองรับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE และ SCSI
- พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 200 MB สำหรับการติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ Linux และ 1.5 GB สำหรับการติดตั้งบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์
- พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 1 GB สำหรับการติดตั้งระบบปฏิบัติการเกสต์แต่ละตัว
• ออปติคอลไดร์ฟ CD-ROM/DVD-ROM
- รองรับไดร์ฟแบบ IDE และ SCSI
- รองรับไดร์ฟ CD-ROM และ DVD-ROM drives are supported.
- รองรับไฟล์สก์อิมเมจแบบ ISO
• ไดร์ฟ Floppy
ระบบปฏิบัติการโฮตส์ (Host) และ เกสต์ (Guest) ที่รองรับ
ระบบปฏิบัติการโฮตส์ (Host) คือระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์จริง (Physical) ที่จะใช้ในการติดตั้งซอฟต์แวร์ VMware Workstation และระบบปฏิบัติการเกสต์ (Guest) คือระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งบนเครื่องเวอร์ชวลแมชชีน (Virtual Machine) ที่สร้างขึ้นโดยซอฟต์แวร์ VMware Workstation นั้นสามารถอ่านได้จากคู่มือซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://www.vmware.com/support/pubs/ws_pubs.html
หมายเหตุ:
การใช้ระบบปฏิบัติการเกสต์เวอร์ชัน 64 บิต นั้นจะรองรับเฉพาะระบบที่ใช้ซีพียูดังนี้
1. AMD Athlon 64 Revision D หรือใหม่กว่า AMD Opteron, AMD Turion 64 และ Sempron
2. Intel Pentium 4 และ Core 2 processors with EM64T และ Intel Virtualization Technology
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
• สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ VMware Workstation 7.1.3 Release Notes
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
Copyright © 2010 TWA Blog. All Rights Reserved.
0 Comment:
Post a Comment