หนอนไวรัส Clickjacking โจมตี Facebook
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
ช่วงนี้ใครใช้บริการ Facebook เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม ( Social Networking) ชื่อดังขอให้ระวังเรื่องความปลอดภัยมากขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากมีรายงานว่าหนอนไวรัส Clickjacking ได้ทำการโจมตีผู้ใช้ Facebook ซึ่งจากรายงานนั้นมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 100,000 คน
สำหรับผลกระทบที่ผู้ใช้ Facebook ได้รับจากการโจมตีของหนอนไวรัสในครั้งนี้คือ ทำให้เกิดการโพสต์ข้อความขยะพร้อมไฮเปอร์ลิงก์ในหน้าโปรไฟล์ของผู้ใช้ โดยหนอนไวรัสดังกล่าวนี้มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านทางเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมตลอดช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับข้อความที่หนอนไวรัส Clickjacking ทำโพสต์นั้นจะมีพื้นฐานจากเรื่องจริงที่ได้รับความสนใจซึ่งเป็นเหตุการที่ผ่านมาหลายเดือนก่อนหน้าเพื่อล่อลวงให้ผู้เข้าชมโปรไฟล์หลงเชื่อ ถ้าทำการคลิกบนไฮเปอร์ลิงก์ที่หนอนไวรัสทำการโพสต์ไว้ในโปรไฟล์ดังกล่าว ก็จะถูกนำไปยังหน้าเว็บไซต์ภายนอกบนโฮสต์ blogspot.com ซึ่งแสดงประโยคซึ่งเป็นไฮเปอร์ลิงก์ว่า Click here to continue สำหรับคนที่กำลังแอคทีฟเว็บไซต์ Facebook การคลิกบริเวณใดๆ บนหน้าเว็บดังกล่าวจะทำให้หนอนไวรัสทำการโพสต์ข้อความขยะในหน้าโปรไฟล์ของผู้ใช้คนนั้น
จากนั้น ถ้ามีเพื่อนเข้ามาชมหน้าโปรไฟล์ของคนที่โดนไวรัสเล่นงานแล้วเห็นข้อความที่โพสต์โดยไวรัสอาจเข้าใจผิดว่าเป็นการโพสต์ที่ผู้ใช้เป็นคนโพสต์ จึงอาจจะทำการแนะนำให้เพื่อนใน Facebook ต่อไป ทริกลักษณะนี้ใช้เทคนิค clickjacking
ทั้งนี้ การโจมตีเว็บไซต์ Facebook ครั้งล่าสุดของหนอนไวรัสนี้ เป็นเหมือนการพิสูจน์แนวคิดของแฮ็กเกอร์ เนื่องจากในการโจมตีครั้งนี้ ไม่มีวัตถุประสงค์ในการทำลายระบบหรือข้อมูล แต่ต้องการเพียงแค่ใช้เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมชื่อดังในการแพร่ระบาดไวรัสเท่านั้น
สำหรับผู้ใช้ Facebook ที่สงสัยว่าตนเองถูกโจมตีจากหนอนไวรัส Clickjacking ให้ทำการตรวจสอบจากประวัติการทำกิจกรรมในหน้า news feed และทำการลบเอนทรี่ที่ต้องสงสัย จากนั้นให้ทำการตรวจสอบหน้าโปรไฟล์โดยการคลิกบนแท็บ Info แล้วทำการลบหน้าทั้งหมดในเซ็กชั่น Likes and interests
หมายเหตุ: โปรแกรมแอนตี้ไวรัสของ Sophos จะตรวจพบภัยคุกคามนี้ในชื่อ Troj/Iframe-ET
รู้จัก Clickjacking
Clickjacking เป็นเทคนิคการโจมตีแบบ Web attack ซึ่งเป็นวิธีการที่แฮกเกอร์ใช้ในการหลอกผู้ใช้ให้ทำการคลิกไฮเปอร์ลิงค์ของเว็บไซต์ที่ดูเรียบง่ายมีความน่าเชื่อถือและไม่น่ามีพิษมีภัยอะไรแอบแฝง แต่เมื่อผู้ใช้คลิกลิงก์ดังกล่าวก็จะทำให้เกิดการทำงานที่ไม่ได้รับอนุญติหรือนำผู้ใช้ไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นซึ่งไม่ใช่เว็บไซต์ที่ผู้ใช้คาดหวัง เทคนิคการโจมตีลักษณะแบบนี้มีชื่อว่า user interface (UI) redressing เนื่องจากมีการซ่อนอ็อปเจ็กต์ เช่น ปุ่มโดยการทำให้โปร่งแสง โดยเทคนิคการทำ Clickjacking นี้จะมีผลกับเว็บบราวเซอร์ส่วนใหญ่ที่เป็นที่นิยมใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ทั้ง Apple Safari, Google Chrome, Internet Explorer, Mozilla Firefox และ Opera รายละเอียดทั้งหมดอ่านได้จากบทความเรื่อง Clickjacking อีกภัยคุกคามของการใช้อินเทอร์เน็ต
เทคนิคการโจมตีแบบ Clickjacking ไม่ได้เป็นเทคนิคการโจมตีแบบใหม่ แต่เพิ่งจะได้รับความสนใจมากขึ้นหลังจาก Jeremiah Grossman และ Robert Hansen ซึ่งเป็นนักวิจัยด้านความปลอดภัยของเว็บ (Web security researchers) ได้ทำการเปิดเผยวิธีการโจมตีระบบโดยใช้เทคนิคดังกล่าวนี้ หนึ่งในนั้นคือ ใช้ทำการเปิดกล้องเว็บแคมและไมโครโฟนที่ต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องโหว่ใน Settings Manager ของโปรแกรม Flash Player
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
• Softpedia
© 2010 TWA Blog. All Rights Reserved.
Tuesday, June 1, 2010
Clickjacking Worm Hits Facebook
Related Posts:
10 Immutable Laws of Securityกฏความปลอดภัย 10 ประการในการเสริมภูมิต้านทานให้คอมพิวเตอร์ ทีมงาน Microsoft Security Response Center ได้เผยแพร่คำแนะนำ 10 ประการ ซึ่งถือเป็นกฏความปลอดภัยที่ช่วยเสริมภูมต้านทานให้การใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต Law #1: If… Read More
พบช่องโหว่ความปลอดภัย Zero-Day ใน Windows, ไมโครซอฟท์ออก Fix it สำหรับป้องกันการโจมตีแล้วไมโครซอฟท์ประกาศว่ากำลังตรวจสอบช่องโหว่ความปลอดภัยที่ยังไม่มีแพตช์สำหรับแก้ไข (Zero-Day) ใน Microsoft OLE ซึ่งมีผลกระทบกับ Windows ทุกเวอร์ชันยกเว้น Windows Server 2003 ปัจจุบันมีรายงานการโจมตี (ในวงจำกัด) ผ่านทางไฟล์ PowerPo… Read More
Adobe Reader XI (11.0.09) แก้ 9 ช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรง, กระทบผู้ใช้ Windows และ Macอะโดบีอัปเดต Adobe Reader โดยออก Adobe Reader XI (11.0.09) และ X (10.0.12) เวอร์ชันสำหรับ Windows และ Mac เพื่อปิด 9 ช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงวิกฤตที่มีผลกระทบทำให้โปรแกรมทำงานผิดพลาดจนเกิดช่องทางที่แฮกเกอร์สามารถใช้โจมตีเพื… Read More
Adobe Flash Player 15.0.0.152 ปิด 12 ช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรง, มีผลกระทบกับ Internet Explorer และ Firefoxอัพเดต: อะโดบีออก Flash Player 15.0.0.167 เฉพาะเวอร์ชันสำหรับ Internet Explorer เพื่อแก้ปัญหาการเปิดไฟล์วิดีโอแฟลชไม่ได้ ปัญหานี้เกิดขึ้นกับบางเว็บไซต์เท่านั้น อะโดบีออก Flash Player 15.0.0.152 เวอร์ชัน Windows (สำหรับ Inter… Read More
Adobe Reader XI (11.0.08) for Windows แก้ปัญหาความปลอดภัยอะโดบีออก Adobe Reader XI (11.0.08) เวอร์ชันสำหรับ Windows เพื่อแก้ปัญหาช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงวิกฤตที่สามารถใช้เลี่ยงระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อรันโปรแแกรมภายใต้สิทธิ์ผู้ดูแลระบบได้ โดยช่องโหว่ความปลอดภัยนี้ไม่มีผลกระทบกับ … Read More
2 Comment:
ผมว่าช่วงนี้ facebook โดนโจมตีเยอะนะครับ ช่วงก่อนก็ไวรัสอะไรนะ จำไม่ได้แล้ว clickjacking นี้ละมั้ง ถ้าจำไม่ผิด มาวันนี้ก็เจอ clickjacking ศัพท์ใหม่ เพราะเห็นว่าคนเล่น facebook ชอบคลิกอะไรแปลก ๆ ที่น่าสนใจอยู่บ่อย ๆ ก็โจมตีด้วยวิธีนี้ซะเลย
ธรรมดาครับ..เมื่อบริการใดได้รับความนิยมมากๆ ก็จะดึงดูดพวกเหล่าบรรดาอาชญากรไซเบอร์ให้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์เสมอ
Post a Comment