Thursday, October 31, 2013

การสร้าง Virtual Machine บน VirtualBox สำหรับใช้ทดสอบ Windows 8.1

ถึงตอนนี้คิดว่าผู้ใช้ Windows 8 หลายท่านคงอัปเดทเป็น Windows 8.1 กันเรียบร้อยแล้ว สำหรับท่านที่ต้องการประเมินการทำงานก่อนทำการอัปเดทแต่ติดปัญหาที่ไม่มีเครื่องสำรอง วันนี้ผมมีวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวมาฝาก เป็นการทดสอบ Windows 8.1 บนคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) โดยใช้โปรแกรม VirtualBox ครับ

สำหรับเนื้อหาบทความนี้ผมจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
  1. การสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนบน VirtualBox
  2. การตั้งค่า Storage สำหรับใช้ในการเริ่มต้นบนคอมพิวเตอร์เสมือนด้วยไฟล์ไอเอสโออิมเมจ Windows 8.1 Enterprise
  3. การตั้งค่า Network เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เสมือนกับระบบเครือข่ายภายนอกโดยตรง (ทางเลือก)
  4. การติดตั้ง Windows 8.1 Enterprise บนคอมพิวเตอร์เสมือน

หมายเหตุ:

สร้างคอมพิวเตอร์เสมือนบน VirtualBox
การสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนบน VirtualBox มีขั้นตอนดังนี้

1. เปิดโปรแกรม VirtualBox จากนั้นบนหน้า VirtualBox Manager ให้คลิกที่ไอคอน New หรือคลิกเมนู Machine แล้วคลิก New หรือกดปุ่ม Ctrl + N

ภาพที่ 1

2. บนหน้า Create Virtual Machine ให้ป้อนชื่อคอมพิวเตอร์เสมือนที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น Windows 8.1 ในช่อง Name ซึ่งโปรแกรม VirtualBox จะเลือก Type เป็น Microsoft Windows และ Version เป็น Windows 8.1 ให้โดยอัตโนมัติ (ถ้าหากโปรแกรมเลือก Type และ Version ให้ไม่ถูกต้อง ให้ทำการเลือกเองตามความเหมาะสม) เสร็จแล้วคลิก Next

ภาพที่ 2

3. บนหน้า Memory size ให้กำหนดค่าหน่วยความจำให้กับคอมพิวเตอร์เสมือน โดยแนะนำให้กำหนดอย่างน้อย 1GB สำหรับการติดตั้ง Windows 8.1 32-บิท อย่างน้อย 2GB สำหรับการติดตั้ง Windows 8.1 64-บิท เสร็จแล้วคลิก Next

ภาพที่ 3

4. บนหน้า Hard drive ให้เลือก Create a virtual hard drive now เพื่อทำการสร้างฮาร์ดดิสด์เสมือนใหม่ (ถ้าต้องการใช้ฮาร์ดดิสด์เสมือนที่มีอยู่แล้วให้เลือก Use an existing virtual hard drive file แล้วเลือกไฟล์ฮาร์ดดิสด์เสมือนที่ต้องการ) เสร็จแล้วคลิก Next

ภาพที่ 4

5. บนหน้า Hard drive file type ให้เลือก VDI (VirtualBox Disk Image) ซึ่งเป็นประเภทไฟล์ฮาร์ดดิสด์เสมือนที่พัฒนาสำหรับใช้กับ VirtualBox โดยเฉพาะ เสร็จแล้วคลิก Next

กรณีที่วางแผนที่จะนำฮาร์ดดิสด์เสมือนไปใช้กับโปรแกรมอื่นให้เลือกตามความเหมาะสมดังนี้
  • VMware Player หรือ VMware Workstation ให้เลือกเป็น VMDK
  • Microsoft Hyper-V เป็นต้นให้เลือกเป็น VHD
  • Parallel Desktop เป็นต้นให้เลือกเป็น HDD
  • QEMU เป็นต้นให้เลือกเป็น QED หรือ QCOW

ภาพที่ 5

6. บนหน้า Storage on physical hard drive ให้เลือกเป็น Dynamically allocated ซึ่งโปรแกรมจะใช้พื้นฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลตามขนาดข้อมูลจริงและจะใช้พื้นที่มากขึ้นเมื่อข้อมูลเพิ่มขึ้นแต่จะไม่เกินค่าสูงสุดที่กำหนดในขั้นตอนถัดไป) เสร็จแล้วคลิก Next

ภาพที่ 6

7. บนหน้า File location and size ให้ตั้งค่าขนาดฮาร์ดดิสก์เสมือนตามความเหมาะสมโดยโปรแกรมจะกำหนดค่าเริ่มต้นเป็น 25GB โดยควรกำหนดอย่างน้อย 30GB สำหรับการติดตั้ง Windows 8.1 32-บิท หรืออย่างน้อย 40GB สำหรับการติดตั้ง Windows 8.1 64-บิท (หากต้องการทดสอบซอฟต์แวร์อื่นๆ บนคอมพิวเตอร์เสมือน ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Microsoft Office จะต้องเผื่อพื้นที่ฮาร์ดดิสก์เสมือนสำหรับใช้ติดตั้งโปรแกรมเหล่านั้นด้วย - ในที่นี้กำหนด 80GB) เสร็จแล้วคลิก Create เพื่อทำการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน

ภาพที่ 7

หลังจากทำการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องทำการตั้งค่าด้านต่างๆ (ขั้นตอนเหล่านี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน) ดังนี้

การตั้งค่า Storage
ก่อนที่เราจะสามารถเริ่มต้นคอมพิวเตอร์เสมือนด้วยไฟล์ไอเอสโออิมเมจได้นั้นจะต้องทำการตั้งค่า Storage ก่อน โดยบนหน้าต่าง VirtualBox Manager ให้เลือกคอมพิวเตอร์เสมือนแล้วคลิกไอคอน Settings (ภาพที่ 8) จากนั้นคลิก Storage คลิกไอคอนแผ่นดิสก์ใต้ Controller IDE แล้วคลิกไอคอนแผ่นดิสก์ด้านขวาของ CD/DVD Drive (ภาพที่ 9) จากนั้นคลิก Choose a virtual CD/DVD disk file บนหน้าต่าง Windows Explorer ให้เลือกไฟล์ไอเอสโออิมเมจของ Windows 8.1 Enterprise (90-day Evaluation) แล้วคลิก Open จากนั้นคลิก OK บนหน้า Settings

ภาพที่ 8

ภาพที่ 9

การตั้งค่า Network (ขั้นตอนนี้เป็นทางเลือก)
เนื่องจากโดยเริ่มต้นคอมพิวเตอร์เสมือนจะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายนอกโดยผ่าน NAT ดังนั้นถ้าต้องการให้คอมพิวเตอร์เสมือนเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายนอกโดยตรง (ไม่ผ่าน NAT) จะต้องทำการตั้งค่า Network ก่อน โดยบนหน้าต่าง VirtualBox Manager ให้เลือกคอมพิวเตอร์เสมือนแล้วคลิกไอคอน Settings (ภาพที่ 8) จากนั้นคลิก Network บนแท็บ Adapter 1 ให้คลิกเลือก Enable Network Adapter แล้วเลือก Attached to เป็น Bridged Adapter (ภาพที่ 10) ซึ่งโปรแกรมจะเลือก Name ให้โดยอัตโนมัติ (ถ้าหากโปรแกรมเลือกอะแดปเตอร์ในช่อง Name ให้ไม่ถูกต้อง ให้ทำการเลือกเองตามความเหมาะสม) เสร็จแล้วคลิก OK

ภาพที่ 10

การติดตั้ง Windows 8.1 บนคอมพิวเตอร์เสมือน
หลังจากทำการตั้งค่าต่างๆ ตามขั้นตอนด้านบนเสร็จแล้ว ให้ทำการเริ่มต้นคอมพิวเตอร์เสมือนโดยบนหน้าต่าง VirtualBox Manager ให้เลือกคอมพิวเตอร์เสมือนแล้วคลิกไอคอน Start จากนั้นให้ดำเนินการตามขั้นตอนใน การติดตั้ง Windows 8.1 Enterprise แบบ Clean Install

ภาพที่ 11

สรุปการทำงาน
การใช้คอมพิวเตอร์เสมือนบนโปรแกรม VirtaulBox เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการทดสอบ Windows 8.1 เพื่อประเมินการทำงานก่อนทำการอัปเดทหรือเพื่อศึกษาหาความรู้ เนื่องจากเป็นวิธีมีผลกระทบกับระบบน้อยมากทำให้สามารถทดสอบบนเครื่องที่ใช้งานจริงได้ (กรณีไม่มีเครื่องสำรอง) โดยไม่ต้องกลัวเรื่องผลกระทบหรือว่าจะทำให้ Windows ที่ใช้งานอยู่เสียหาย และยังใช้งานได้อย่างสบายใจเพราะ VirtaulBox เป็นฟรีแวร์

นอกจากนี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้ในการทดสอบการอัปเกรดจาก Windows รุ่นก่อนหน้าเป็น Windows 8.1 ได้อีกด้วย

Copyright © 2013 TWA Blog. All Rights Reserved.

0 Comment: