Thursday, November 29, 2007

เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน Windows โดยการใช้งานคำสั่ง Run as

เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน Windows โดยการใช้งานคำสั่ง Run as
โดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจะแนะนำให้ใช้ยูสเซอร์ธรรมดา (User หรือ Limited User) ในการทำงานทั่วไปในการใช้งานประจำวัน เช่น การพิมพ์งาน รับส่งอีเมล ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นต้น เนื่องจากการใช้งานด้วยยูสเซอร์ธรรมดานั้นจะมีความปลอดภัยมากกว่า เนื่องจากยูสเซอร์ธรรมดาไม่มีสิทธิ์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบ ซึ่งเป้นเทคนิคหลักที่มัลแวร์ต่างๆ ใช้ในการโจมตีและแพร่ระบาด

แต่อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งผู้ใช้ก็มีความจำเป็นต้องทำงานบางอย่างในด้านการจัดการระบบ เช่น การติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นต้องกระทำโดยยูสเซอร์ที่มีระดับสิทธิ์เป็นผู้ดูแลระบบ (Administrator Users) โดยมีทางเลือกได้ 2 ทาง คือ ทำการล็อกออนด้วยยูสเซอร์ที่มีสิทธิ์ หรือการใช้ Run as

หากใช้วิธีล็อกออนด้วยยูสเซอร์ที่มีสิทธิ์ระดับผู้ดูแลระบบนั้น ทำได้โดยการล็อกออฟจากยูสเซอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ จากนั้นทำการล็อกออนด้วยยูสเซอร์ที่มีระดับสิทธิ์เป็นผู้ดูแลระบบ จากนั้นทำการติดตั้งโปรแกรม เสร็จแล้วทำการล็อกออฟ สุดท้ายทำการล็อกออนด้วยยูสเซอร์ธรรมดาเพื่อใช้งานต่อไป ซึ่งจะเห็นว่ามีความซับซ้อนยุ่งยากพอสมควร แต่ถ้าหากใช้ Run as ในการทำงานดังที่กล่าวมาแทนนั้น จะง่ายกว่ากันมาก และไม่ต้องทำการปรับแต่งวินโวส์เพิ่มเติมแต่อย่างใด เนื่องจากฟีเจอร์ Run as นั้น เป็นฟีเจอร์ที่รวมอยู่ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์อยู่แล้ว

การใช้งาน Run as นั้น นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ด้วยแอคเคาท์ที่มีระดับสิทธื์ในการใช้งานโปรแกรมเหล่านั้น โดยไม่ต้องทำการล็อกออฟจากยูสเซอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการทำงานที่เกี่ยวกับการจัดการระบบซึ่งต้องใช้สิทธิ์ระดับผู้ดูแลระบบในการทำงาน ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภพแวดล้อมการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบ Domain นั้น หากใช้งานยูสเซอร์ที่มีระดับสิทธิ์แบบโดเมนแอดมิน จะมีทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ในการถูกดักจับ User และ Password จากโปรแกรมมัลแวร์ประเภทโทรจันหรือคีย์ล็อกเกอร์ได้

การใช้งาน Run as
วิธีการใช้งาน Run as นั้น จะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ แบบ Graphic User Interface และแบบ Command-line

การใช้งานแบบ Run as แบบ Graphic User Interface
การใช้งาน Run as แบบ Graphic User Interface สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องปรับแต่งระบบวินโดวส์เพิ่มเติมแต่อย่างใด เนื่องจากได้เพิ่มฟีเจอร์นี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว โดยการเรียกใช้งานนั้น ทำได้โดยการคลิกขวาที่ โปรแกรม (.exe)* หรือ คอนโทรลพาเนล (.cpl)* หรือ ไมโครซอฟท์แมเนจเมนต์คอนโซล (MMC) (.msc)* แล้วเลือก Run as... ดังรูปที่ 1 ซึ่งจะพร็อมพ์ให้ใส่ user** และ password ดังรูปที่ 2 โดยให้เลือก Following user แล้วใส่ยูสเซอร์และรหัสผ่านที่มีสิทธิ์ในการรันโปรแกรม เสร็จแล้วคลิก OK หากไม่มีอะไรผิดผลาดวินโดวส์ก็จะทำการรันโปรแกรมหรือคำสั่ง ทั้งนี้ Run as นั้นจะไม่สามารถรองรับการทำงานบางอย่าง ตัวอย่างเช่น การอัพเกรดระบบปฏิบัติการหรือการคอนฟิกพารามิเตอร์ของระบบวินโดวส์เป็นต้น

หมายเหตุ:
* ใช้ได้เฉพาะ บางโปรแกรม , คอนโทรลพาเนลบางตัว และไมโครซอฟท์แมเนจเมนต์คอนโซลบางตัว
** หากเป็นการใช้งานที่ต้องใช้ระดับสิทธิ์ Domain ก็ต้องใช้แอคเคาท์ของโดเมน แต่หากเป็นการทำงานแบบโลคอลก็ให้ใช้แอคเคาท์ของเครื่องโลคอล


รูปที่ 1 Run AS


รูปที่ 2 Run AS

การใช้งานแบบ Run as แบบ Command-line
การใช้งานแบบ command-line นั้น จะใช้คำสั่ง runas.exe รันคำสั่งจากคอมมานด์พร็อมพ์ ถ้าหากทำการรันคำสั่ง runas โดยไม่ใส่พารามิเตอร์ใดๆ ก็จะแสดงวิธีการใช้งานคำสั่ง สำหรับซินเท็กซ์การใช้งาน มีรายละเอียดดังนี้

Syntax
runas [{/profile/noprofile}] [/env] [/netonly] [/smartcard] [/showtrustlevels] [/trustlevel] /user:UserAccountName program

Parameters

/profile : โหลดโพรไฟล์ของยูสเซอร์ ค่าดีฟอลท์เป็น /profile
/no profile : กำหนดให้ไม่ต้องโหลดโพรไฟล์ของยูสเซอร์ ซึ่งจะทำให้การทำงานของโปรแกรมเร็วขึ้นแต่อาจมีปัยหากับบางแอพพลิเคชันที่จำเป็นต้องอ้างอิงโพรไฟลืขอฝยูสเซอร์ในการทำงาน
/env : กำหนดให้ใช้ network environment ปัจจุบันแทนการใช้งาน user's local environment
/netonly : กำหนดให้เป็นการใช้งานแบบ remote เท่านั้น
/smartcard : ให้ใช้งานจาก smartcard
/showtrustlevels : ให้แสดงรายการอ็อปชัน /trustlevel
/trustlevel : กำหนดระดับของการ authorization ที่แอพพลิเคชันทำการรัน
/user:UserAccountName : กำหนดชื่อของ user account ที่จะใช้ในการัรนโปรแกรม โดยอยู่ในรูปแบบ user@domain หรือ Domain\User
program : ชื่อของโปรแกรมหรือคอมมานด์ที่ต้องการรัน
/? : แสดงความช่วยเหลือในการใช้งาน

ตัวอย่างการใช้ Run as แบบ Command-line:
• ตัวอย่างที่ 1: ทำการเปิดคอมมานด์พร็อมพ์ โดยใช้ยูสเซอร์ "local administrator" ทำได้ดังนี้
1. Start > Run แล้วพิมพ์คำสั่งด้านล่าง เสร็จแล้วกด Enter
runas /user:localmachinename\administrator cmd
2. ใส่ password ของ local administrator เมื่อวินโดวส์ถาม เสร็จแล้วกด Enter

• ตัวอย่างที่ 2: ทำการเปิดคอมพิวเตอร์แมเนจเมนต์คอนโซล โดยใช้ยูสเซอร์ "local administrator" ทำได้ดังนี้
1. Start > Run แล้วพิมพ์คำสั่งด้านล่าง เสร็จแล้วกด Enter
runas /user:localmachinename\administrator "mmc %windir%\system32\compmgmt.msc"
2. ใส่ password ของ local administrator เมื่อวินโดวส์ถาม เสร็จแล้วกด Enter

• ตัวอย่างที่ 3: ทำการเปิดคอมพิวเตอร์แมเนจเมนต์คอนโซล โดยใช้ยูสเซอร์ "domain administrator" ทำได้ดังนี้
1. Start > Run แล้วพิมพ์คำสั่งด้านล่าง เสร็จแล้วกด Enter
runas /user:your_domain\domain_admin "mmc %windir%\system32\compmgmt.msc"
2. ใส่ password ของ domain administrator เมื่อวินโดวส์ถาม เสร็จแล้วกด Enter

• ตัวอย่างที่ 4: ทำการเปิดไฟล์ my_list.txt ด้วยโปรแกรม Notepad โดยใช้ยูสเซอร์ "test" ของโดเมน "exp.com" ทำได้ดังนี้
1. Start > Run แล้วพิมพ์คำสั่งด้านล่าง เสร็จแล้วกด Enter
runas /user:test@exp.com "notepad my_list.txt"
2. ใส่ password ของยูสเซอร์ test ของโดเมน exp.com เมื่อวินโดวส์ถาม เสร็จแล้วกด Enter

การใช้งาน RunAs Run as runas.exe

© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

Related Posts:

  • Windows Media Services on Windows Server 2003การติดตั้ง Windows Media Services บน Windows Server 2003การติดตั้ง Windows Media Services บน Windows Server 2003 เพื่อให้บริการเผยแพร่สื่อระบบเครือข่าย และการสร้าง Directory publishing point เพื่อการ stream ทุกไฟล์ในไดเรคตอรี… Read More
  • Windows Server 2003 Active DirectoryActive Directory (AD)Active Directory ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ object ต่างๆ เช่น ยูสเซอร์ (User) กลุ่ม (Group) คอมพิวเตอร์ (Computer) หรือ นโยบายรักษาความปลอดภัย (Security Policy) เป็นต้น โดย Active Directory นั้นจะเก็… Read More
  • Create Site in Windows Server 2003 ADไซต์ (Site) ใน Windows Server 2003 Active Directory (AD)บทความโดย: Thai Windows Administrator Blogในสภาพแวดล้อมโดเมน AD ที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อน มีเครื่องลูกข่ายที่กระจายอยู่ตามเครือข่ายย่อย หรือ ซับเน็ต (Subnet) ต่างๆ หลายเคร… Read More
  • Network Load Balancing (NLB)Create a Network Load Balancing (NLB) cluster with Windows Server 2003?Windows 2003 includes the NLB application (nlbmgr.exe), which simplifies the creation of NLB clusters, avoiding the need to manually enable and configure … Read More
  • Advanced Group Policy Management (AGPM)ภาพรวมของ Advanced Group Policy Management (AGPM)บทความโดย: Thai Windows Administrator Blogสำหรับ Administrator ที่ดูแลระบบ Windows Server 2003 คงจะพอคุ้นเคยกับเครื่องมือ Group Policy Management Console (GPMC) ซึ่งเป็นเครื่อ… Read More

0 Comment: