Tuesday, October 23, 2007

Enable or Disable user account with Net.exe

อีนาเบิลหรือดิสเอเบิลแอคเคาต์ด้วยคำสั่ง Net.exe
ในการใช้งาน Windows XP หรือ Windows Server 2003 นั้น งานจัดการเกี่ยวกับ User Account นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ดูแลระบบทุกท่านคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหรือลบยูสเซอร์ การเปลี่ยนหรือย้ายกลุ่มสมาชิก การเปลี่ยนรหัสผ่านหรือ enable หรือ disable ยูสเซอร์ เป็นต้น ซึ่งงานต่างๆ ที่กล่าวมานี้สามารถทำแบบ GUI ได้โดยใช้เครื่องมือ Computer Management แต่ถ้าหากผู้ดูแลระบบท่านใดต้องการทำงานแบบคอมมานด์ไลน์นั้น ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยใช้คำสั่งที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว นั้นคือ คำสั่ง net user และ net localgroup นั้นเอง ข้อดีของการใช้งานแบบ คอมมานด์ไลน์ คือ สามารถประยุกต์ใช้งานแบบ Script หรือ Batch ไฟล์ได้ ทำให้สะดวกในการใช้งานที่ต้องซ้ำๆ กันหลายครั้ง และยังสามารถเก็บไว้ใช้งานในอนาคตได้อีกด้วย สำหรับรายละเอียดการใช้งาน net user สามารถอ่านได้จาก Create new user from command prompt และรายละเอียดการใช้งาน net localgroup สามารถอ่านได้จาก Manage user's group with Net localgroup

การใช้งาน
คำสั่ง net นั้น เป็นคำสั่งหลักที่ผม (คิดว่าผู้ดูแลระบบวินโดวส์หลายๆ ท่าน) ใช้งานเป็นประจำในงานจัดการยูสเซอร์ทั้งบนเครื่องไคลเอนท์หรือเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งคำสั่ง net นั้นนอกจากจะใช้จัดการด้านยูสเซอร์ของระบบแล้ว ยังสามารถใช้จัดการได้ในด้านอื่นๆ อีกหลายด้าน เช่นการแชร์โฟล์เดอร์ การแมพไดรฟ์ การเปิด-ปิด เซอร์วิสของระบบ และ ฯลฯ เอาไว้มีโอกาสดีดี แล้วผมจะเขียนให้อ่านกัน

คำสั่ง net ถ้าเราทำการรันโดยไม่ใส่พารามิเตอร์ใดๆ ก็จะแสดงพารามิเตอร์ทั้งหมดของคำสั่ง net หากต้องการดูซินเท็กซ์การใช้งานของคำสั่ง ก็ทำได้โดยการรันคำสั่ง net ตามด้วยพารามิเตอร์ที่ต้องการแล้วตามด้วย "/?" หรือ "/help"

ตัวอย่าง 1:
1. ต้องการดูซินเท็กซ์การใช้งานของคำสั่ง Net user ให้ทำการรันคำสั่งที่คอมมานด์พร็อมพท์ดังนี้
net user /? หรือ C:\>net user /help

2. ต้องการดูซินเท็กซ์การใช้งานของคำสั่ง Net localgroup ให้ทำการรันคำสั่งที่คอมมานด์พร็อมพท์ดังนี้
net localgroup /? หรือ C:\>net localgroup /help

สำหรับ enable หรือ disable ยูสเซอร์ นั้น จะใช้คำสั่ง net คู่กับ พารามิเตอร์ user ตามด้วย user account แล้วตามด้วยอ็อปชัน active

ตัวอย่าง 2: ในที่นี้จะทดลองด้วยระบบที่มียูสเซอร์ชื่อ "test1" อยู่ในระบบ หากในระบบของท่านไม่มียูสเซอร์นี้ให้ดำเนินการตามขั้นตอนในส่วนหมายเหตุด้านล่าง
1. ต้องการ enable ยูสเซอร์ชื่อ test1 ให้ทำการรันคำสั่งที่คอมมานด์พร็อมพท์ดังนี้
net user test1 /active:yes

2. ต้องการ Disable ยูสเซอร์ชื่อ test1 ให้ทำการรันคำสั่งที่คอมมานด์พร็อมพท์ดังนี้
net user test1 /active:no

หมายเหตุ:
1. การเปิดหน้าต่างคอมมานด์ไลน์ ให้ดำเนินการดังนี้
คลิกเม้าส์ที่ปุ่ม Start คลิก Run พิมพ์ cmd แล้วกดปุ่ม Enter

2. หากต้องการสร้างยูสเซอร์ test1 (โดยไม่มีรหัสผ่าน)ในระบบ ให้ทำการรันคำสั่งที่คอมมานด์พร็อมพท์ดังนี้
net user test1 /add


Keywords: Net.exe enable disable active:no active:yes

© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

Related Posts:

  • Microsoft Automated Troubleshooting ServicesMicrosoft Automated Troubleshooting Services เว็บไซต์บริการแก้ปัญหาอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้ Windows วันนี้มีเว็บไซต์ที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows โดยเฉพาะกับผู้ใช้ที่เป็นมือใหม่หรือที่ไม่มีความรู้ทางเทค… Read More
  • How to enable automatic logon in Windows XPวิธีการล็อกออนเข้า Windows XP โดยอัตโนมัติ ในการใช้งาน Windows XP นั้น บางครั้งเราต้องการให้วินโดวส์ ทำการล็อกออนโดยอัตโนมัติหลังจากเปิดเครื่อง ซึ่งในกรณีที่มียูสเซอร์เพียงคนเดียวในระบบ และไม่ได้กำหนดระหัสผ่านให้กับยูสเซอร์คน… Read More
  • How to format USB drive with NTFS on Windows XPฟอร์แมต USB Flash Drive เป็นไฟล์ซีสเต็ม NTFS บน Windows XP เป็นที่ทราบกันดีว่าไฟล์ซีสเต็มแบบ NTFS นั้นมีข้อดีกว่าไฟล์ซีสเต็ม FAT32 หลายอย่าง เช่น สนับสนุนการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) สนับสนุนการบีบอัดข้อมูล (Data Compr… Read More
  • USB Disk Storage Format ToolUSB Disk Storage Format Tool โปรแกรมช่วยฟอร์แมต USB Flash Drive เป็น NTFS บน Windows XP ผมเคยสาธิตวิธีการฟอร์แมต USB Flash Drive เป็นระบบไฟล์ซีสเต็มแบบ NTFS บนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติ Windows XP ไปแล้วในบทความเรื่อง How … Read More
  • A little history of Windows OSประวัติการออกเวอร์ชัน RTM และ Final ของระบบปฏิบัติการ Windows XP, Vista และ 7 วันนี้ผมมีเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Windows มาฝาก เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการออกเวอร์ชัน RTM (Release to manufacturing) ซึ่งเป็นเวอร์ชันส… Read More

0 Comment: