สรุปอัปเดตความปลอดภัยเดือนสิงหาคม 2558
ไมโครซอฟท์ออกอัปเดตความปลอดภัยเดือนสิงหาคมจำนวน 14 ตัว สำหรับปรับปรุงช่องโหว่ความปลอดภัย (ปัจจุบันไมโครซอฟท์ไม่เปิดเผยข้อมูลจำนวนช่องโหว่ความปลอดภัยที่ได้รับการปรับปรุง) ที่พบใน Windows, IE, Office, .NET Framework, SCOM และ Edge แบ่งเป็นอัปเดตสำหรับปรับปรุงช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงสุดจำนวน 4 ตัว และอัปเดตสำหรับแก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงจำนวน 10 ตัว โดยไมโครซอฟท์แนะนำให้ผู้ใช้ทำการติดตั้งอัปเดตทั้งหมดในทันทีที่ทำได้
สำหรับรายชื่ออัปเดตความปลอดภัยเดือนสิงหาคม 2558 มีดังต่อไปนี้
- MS15-079: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงสุดใน Windows/IE ที่ใช้โจมตีระบบแบบ Remote Code Execution ได้
- MS15-080: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงสุดใน Windows/.NET Framework, Office ที่ใช้โจมตีระบบแบบ Remote Code Execution ได้
- MS15-081: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงสุดใน Office ที่ใช้โจมตีระบบแบบ Remote Code Execution ได้
- MS15-082: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ใช้โจมตีระบบแบบ Remote Code Execution ได้
- MS15-083: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ใช้โจมตีระบบแบบ Remote Code Execution ได้
- MS15-084: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows, Office ที่ทำให้เกิด Information Disclosure ได้
- MS15-085: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ใช้ในการทำ Elevation of Privilege ได้
- MS15-086: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน SCOM ที่ใช้ในการทำ Elevation of Privilege ได้
- MS15-087: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ใช้ในการทำ Elevation of Privilege ได้
- MS15-088: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ทำให้เกิด Information Disclosure ได้
- MS15-089: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ทำให้เกิด Information Disclosure ได้
- MS15-090: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ใช้ในการทำ Elevation of Privilege ได้
- MS15-091: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงสุดใน Windows/Microsoft Edge ที่ใช้โจมตีระบบแบบ Remote Code Execution ได้
- MS15-092: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows/.NET Framework ที่ใช้ในการทำ Elevation of Privilege ได้
Security Bulletin August 2015 (เครดิต: Microsoft)
สำหรับรายชื่อซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่จะได้รับผลกระทบนั้น สามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ Microsoft
การอัปเดตระบบ
ผู้ใช้ Windows สามารถทำการอัปเดตโดยใช้เครื่องมือ Windows Update จากบนเครื่อง (ขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของ Windows ที่ใช้) หรือจากทำการอัปเดตผ่านทางเซิร์ฟเวอร์ WSUS (สำหรับผู้ใช้แบบองค์กร) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2558 (ตามเวลาในประเทศไทย) เป็นต้นไป
ความเห็นของผู้เขียน
เช่นเคยครับ แม้ว่าไมโครซอฟท์จะแนะนำให้ผู้ใช้ Windows ทำการติดตั้งอัปเดตทุกตัวในทันทีที่ทำได้ แต่ผมขอแนะนำแอดมินที่รับผิดชอบการติดตั้งอัปเดตบนคอมพิวเตอร์ให้ทดลองติดตั้งบนเครื่องทดสอบหรือเครื่องในวงจำกัด (เช่น 2-3 เครื่อง) ให้แน่ใจก่อนว่าไม่เกิดปัญหาระบบเสียจากบั๊กของอัปเดต แล้วจากนั้นจึงค่อยปรับใช้บนเครื่องที่ใช้งานจริงครับ
หมายเหตุ: ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เป็นต้นมาไมโครซอฟท์จะแจ้งรายละเอียดการออกอัปเดตล่วงหน้าหรือ Advance Notification Service (ANS) ให้เฉพาะลูกค้าพรีเมียร์และบริษัทที่เข้าร่วมโปรแกรมความปลอดภัยเท่านั้น อ่านรายละเอียด
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Microsoft Security Center
Microsoft Security Response Center
Copyright © 2015 TWA Blog. All Rights Reserved.