สรุปอัปเดตความปลอดภัยเดือนเมษายน 2558
ไมโครซอฟท์ออกอัปเดตความปลอดภัย (Security Update หรือ Patch Tuesday) เดือนเมษายน 2558 จำนวน 11 ตัว สำหรับปรับปรุงช่องโหว่ความปลอดภัย (ไมโครซอฟท์ไม่ได้ระบุว่ามีช่องโหว่ความปลอดภัยที่ได้รับการปรับปรุงจำนวนกี่จุด) ที่พบใน Windows, Office, IE, .NET Framework และ Server Software แบ่งเป็นอัปเดตสำหรับปรับปรุงช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงวิกฤตจำนวน 4 ตัว และอัปเดตสำหรับแก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงจำนวน 7 ตัว โดยไมโครซอฟท์แนะนำให้ผู้ใช้ทำการติดตั้งอัปเดตทั้งหมดในทันทีที่ทำได้
สำหรับรายชื่ออัปเดตความปลอดภัยเดือนเมษายน 2558 มีดังต่อไปนี้
- MS15-032: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงวิกฤตใน Windows/Internet Explorer ที่ใช้ทำ Remote Code Execution ได้
- MS15-033: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงวิกฤตใน Office ที่ใช้ทำ Remote Code Execution ได้
- MS15-034: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงวิกฤตใน Windows ที่ใช้ทำ Remote Code Execution ได้
- MS15-035: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงวิกฤตใน Windows ที่ใช้ทำ Remote Code Execution ได้
- MS15-036: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Server Software ที่ใช้ทำ Elevation of Privilege ได้
- MS15-037: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ใช้ทำ Elevation of Privilege ได้
- MS15-038: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ใช้ทำ Elevation of Privilege ได้
- MS15-039: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ใช้ทำ Security Feature Bypass ได้
- MS15-040: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ทำให้เกิด Information Disclosure ได้
- MS15-041: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows/.NET Framework ที่ทำให้เกิด Information Disclosure ได้
- MS15-042: แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูงใน Windows ที่ใช้ทำ Denial of Service ได้
Security Bulletin April 2015 (เครดิต: Microsoft)
สำหรับรายชื่อซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่จะได้รับผลกระทบนั้น สามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ Microsoft
MS15-032: Cumulative Security Update for Internet Explorer (3038314)
MS15-032 เป็นอัปเดตสำหรับปิดช่องโหว่ความปลอดภัยที่มีผลกระทบรุนแรงวิกฤตกับ IE6 ถึง IE11 บน Windows ลูกข่าย และมีผลกระทบปานกลางกับ IE6 ถึง IE11 บน Windows Server โดยช่องโหว่นี้สามารถใช้ทำการรันมัลแวร์เพื่อโจมตีระบบจากระยะไกลได้ เมื่อผู้ใช้ทำการเปิดหน้าเว็บที่มีมัลแวร์แฝงอยู่ด้วย IE กรณีที่การโจมตีประสบความสำเร็จผู้โจมตีจะได้รับสิทธิ์ในระดับเดียวกับสิทธิ์ของผู้ใช้ที่กำลังใช้งานในขณะที่ถูกโจมตี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ MS15-032
MS15-033: Vulnerabilities in Microsoft Office Could Allow Remote Code Execution (3048019)
MS15-033 เป็นอัปเดตสำหรับปิดช่องโหว่ความปลอดภัยในโปรแกรม Office โดยช่องโหว่นี้สามารถใช้ทำการรันมัลแวร์เพื่อโจมตีระบบจากระยะไกลได้เมื่อผู้ใช้ทำการเปิดไฟล์ที่มีมัลแวร์แฝงอยู่ด้วยโปรแกรม Office ถ้าการโจมตีประสบความสำเร็จผู้โจมตีจะสามารถทำการรันโปรแกรมด้วยระดับสิทธิ์ของผู้ใช้ที่กำลังใช้งานในขณะที่ถูกโจมตี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ MS15-033
โดยมีผลกระทบกับโปรแกรมต่างๆ ดังนี้
โปรแกรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรงวิกฤต:
- Word 2007, Office 2010, Word 2010
- Word Viewer, Office Compatibility Pack
- Word Automation Services on SharePoint Server 2010
- Office Web Apps Server 2010
โปรแกรมที่ได้รับผลกระทบปานกลาง:
- Word 2013
- Office for Mac 2011, Word for Mac 2011, Outlook for Mac for Office 365
- Word Automation Services on SharePoint Server 2013
- Office Web Apps Server 2013
MS15-034: Vulnerability in HTTP.sys Could Allow Remote Code Execution (3042553) MS15-034 เป็นอัปเดตสำหรับปิดช่องโหว่ความปลอดภัยไฟล์ HTTP.sys (IIS) ซึ่งเกิดจาก HTTP protocol stack ประมวลผลการร้องขอ HTTP ผิดพลาด ทำให้เกิดช่องโหว่ที่สามารถใช้โจมตี Windows จากระยะไกล (Remote Code Execution ) เพื่อเข้ายึดระบบหรือทำให้เกิดจอฟ้ามรณะ (BSoD) ได้ ช่องโหว่นี้มีหมายเลขอ้างอิง CVE-2015-1635 มีผลกระทบรุนแรงวิกฤตกับ Windows 7, 8, 8.1 Windows Server 2008, 2008 R2, 2012 และ 2012 R2 ทั้งนี้ มีการเผยแพร่โค้ด/วิธีการโจมตีช่องโหว่ดังกล่าวนี้อย่างกว้างขวางบนอินเทอร์เน็ต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ MS15-034
การอัปเดตระบบ
ผู้ใช้ Windows สามารถทำการอัปเดตโดยใช้เครื่องมือ Windows Update จากบนเครื่อง (ขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของ Windows ที่ใช้) หรือจากทำการอัปเดตผ่านทางเซิร์ฟเวอร์ WSUS (สำหรับผู้ใช้แบบองค์กร) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2558 (ตามเวลาในประเทศไทย) เป็นต้นไป
ความเห็นของผู้เขียน
สำหรับการอัปเดตเดือนเมษายนนี้ แม้ว่าไมโครซอฟท์จะแนะนำให้ผู้ใช้ Windows ทำการติดตั้งอัปเดตทุกตัวในทันทีที่ทำได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้ IIS บน Windows อย่างไรก็ตาม ผมขอแนะนำแอดมินที่รับผิดชอบการติดตั้งอัปเดตบนคอมพิวเตอร์ให้ทดลองติดตั้งบนเครื่องทดสอบให้แน่ใจก่อนว่าไม่เกิดปัญหาระบบเสียจากบั๊กของอัปเดต แล้วจากนั้นจึงค่อยทำการติดตั้งบนเครื่องที่ใช้งานจริงครับ
หมายเหตุ: ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เป็นต้นไปไมโครซอฟท์จะแจ้งรายละเอียดการออกอัปเดตล่วงหน้าหรือ Advance Notification Service (ANS) ให้เฉพาะลูกค้าพรีเมียร์และบริษัทที่เข้าร่วมโปรแกรมความปลอดภัยเท่านั้น อ่านรายละเอียด
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Microsoft Security Center
Microsoft Security Response Center
Copyright © 2015 TWA Blog. All Rights Reserved.
0 Comment:
Post a Comment