Wednesday, June 20, 2007

ปิดหรือรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ Windows XP ด้วยคำสั่ง Shutdown

โดยทั่วไปเราจะทำการปิดหรือรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ Windows XP โดยการคลิกปุ่ม Start จากนั้นคลิก Turn Off Computer แล้วเลือก Turn Off เพื่อปิดเครื่อง หรือ Restart เพื่อรีสตาร์ทเครื่อง นอกจากนี้เรายังสามารถใช้คำสั่ง shutdown.exe ตามวิธีการดังต่อไปนี้

รูปที่ 1. Start Button

แนะนำคำสั่ง Shutdown
คำสั่ง shutdown.exe นั้นสามารถใช้ในการปิดหรือรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือทำการล็อกออฟผู้ใช้ (Users) ออกจากระบบ ซึ่งคำสั่ง shutdown.exe นั้นสามารถทำงานได้ทั้งแบบโลคอลและรีโมท คำสั่ง shutdown.exe นี้จะมีมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows XP การใช้งานนั้นจะเรียกใช้จากคอมมานด์พรอมท์

รายละเอียดคำสั่ง Shutdown.exe
คำสั่ง Shutdown.exe นั้นมีอ็อปชันให้เลือกใช้งานหลายตัว โดยสามารถดูวิธีการใช้งาน โดยการพิมพ์คำสั่งดังนี้

C:\>shutdown.exe หรือ shutdown.exe /? หรือ shutdown.exe /help

Options
-i แสดงหน้าอินเทอร์เฟชแบบ GUI
-l ให้ทำการ logoff ผู้ใช้ที่กำลังล็อกออนอยู่ (ไม่สามารถใช้ร่วมกัลอ็อปชัน - m)
-s ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
-r ทำการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์
-a ยกเลิกการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
-m \\computername ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ "computername" แบบรีโมท
-t xx เวลาที่ใช้ในการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
-c "comment" รายละเอียดหรือข้อความที่จะแสดงให้ผู้ใช้ทราบเมื่อทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
-f ทำการปิดโปรแกรมที่กำลังรันอยู่
-d [u][p]:xx:yy รหัสแสดงเหตุผลของการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ u = รหัสของผู้ใช้ / p = รหัสของการปิดตามกำหนดการ / xx = รหัสของเหตุผลหลัก / yy = รหัสของเหตุผลรอง

การใช้งานแบบ Local
ในการใช้งานคำสั่ง shutdown แบบโลคอลนั้นให้ทำการรันคำสั่งตามหัวข้อที่ต้องการด้านล่าง

-ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และปิดโปรแกรมในเวลา 1 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>shutdown.exe -s -f -t 01

-ทำการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์และปิดโปรแกรมในเวลา 5 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>shutdown.exe -r -f -t 05

-ทำการล็อกออฟผู้ใช้ที่กำลังใช้งานในเวลา 1 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>shutdown.exe -l -f -t 01

การใช้งานแบบ Remote
ในการใช้งานคำสั่ง shutdown แบบรีโมทนั้นจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อผ่านทาง Remote IPC ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสั่งการ โดยสามารถใช้งานคำสั่ง shutdown.exe แบบรีโมทได้ 2 รูปแบบตามหัวข้อด้านล่าง

-ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ staff1 และปิดโปรแกรมในเวลา 1 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>shutdown.exe -s -m \\staff1 -f -t 01

-ทำการรัสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ staff1 และปิดโปรแกรมในเวลา 5 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>shutdown.exe -r -m \\staff1 -f -t 05

การใช้งานแบบ GUI
สำหรับการใช้งานคำสั้ง shutdown.exe แบบ GUI มีขั้นตอนดังนี้

1. ทำการรันคำสั่ง shutdown.exe -i ที่คอมมานด์พรอมพ์ จะได้หน้าอินเทอร์เฟชแบบกราฟิกดังรูปที่ 2

รูปที่ 2. Shutdown.exe

2. ทำการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการปิดเครื่องโดยคลิกที่ Add แล้วพิมพ์ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ หรือคลิก Browse แล้วเลือกครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ

3. เลือกคำสั่งที่ต้องการจากดร็อปดาวน์ลิสต์ ซึ่งมี 3 คำสั่งให้เลือกคือ Shutdown, Restart และ Logoff

4. เลือก Warn users of the action เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้

5. ในช่องใต้ Display warning for ให้ใ่ส่ค่าเวลาที่ต้องการให้ระบบแจ้งเตือนผู้ใช้ก่อนที่จะทำตามคำสั่งในข้อ 3 ค่าดีฟอลท์เท่ากับ 20 วินาที

6. ในส่วน Shutdown Event Tracker นั้นหากเป็นการทำงานตามแผนที่ได้วางไว้ก็ให้เลือกเป็น Planned แต่หากเป็นการทำงานในกรณีอื่นๆ ก็ไม่ต้องเลือก

7. เลือกรายละเอียดเหตุการณ์จากดร็อปดาวน์ลิสต์ หากเลือกเป็น Other (Planned หรือ Unplanned) จะต้องใส่ข้อความในช่อง Comment ด้วย หากเลือกเป็นอย่างอื่นก็ไม่จำเป็นต้องใส่ข้อความในช่อง Comment เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อทำงาน

หมายเหตุ:
วิธีการเปิดคอมมานด์พรอมท์ให้คลิกที่ Start>All Programs>Accessories>Command Prompt

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Microsoft TechNet

© 2007 All Rights Reserved.

Related Posts:

  • Enabling Network Level Authentication on Windows XP SP3การเปิดใช้งาน Network Level Authentication บน Windows XP Service Pack 3 Remote Desktop Client เวอร์ชัน 6.1 บน Windows XP Service Pack 3 นั้น สามารถรองรับการทำ Network Level Authentication ในการใช้งาน Remote Desktop ได้ แต่จะไ… Read More
  • How to change the listening port for Remote Desktopการเปลี่ยนพอร์ตทำงานของ Remote Desktop บน Windows XP Remote Desktop บนระบบปฏิบัติการ Windows XP, Windows Vista, Windows Server 2003 และ Windows Server 2008 นั้นจะทำงานบนพอร์ตหมายเลข 3389 โดยดีฟอลท์ แต่เนื่องจากพอร์ตดีฟอลท์นั้… Read More
  • Windows XP could not start because file "ntoskrnl.exe" is missing or corruptปัญหาบูตเข้า Windows XP ไม่ได้เมื่อติดตั้งร่วมกับ Windows Vista ในแบบดูอัลบูต สำหรับยูสเซอร์ที่ทำการติดตั้ง Windows Vista ร่วมกับ Windows XP บนคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันในแบบดูอัลบูท และประสบกับปัญหาไม่สามารถบูตคอมพิวเตอร์เข้… Read More
  • How to recover from Winsock2 corruption in Windows XPวิธีการแก้ไขปัญหา Winsock บน Windows XP Winsock นั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการใช้งานโปรโตคอล TCP/IP บนระบบวินโดวส์ ในกรณีที่ Winsock เกิดการคอรัปท์หรือเสียหายจะส่งผลให้ยูสเซอร์ไม่สามารถใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ โดยวิน… Read More
  • Change MAC Address on Windows XPวิธีการเปลี่ยนหมายเลข MAC Address ของการ์ดเน็ตเวิร์กบน Windows XP Mac address เป็นหมายเลขประจำตัวของการ์ดเน็ตเวิร์กแต่ละตัวซึ่งมีการคอนฟิกจากโรงงานในขั้นตอนการผลิต โดย Mac address นั้นจะใช้อ้างอิงในการทำงานใน Datalink Layer ซ… Read More

5 Comment:

Anonymous said...

คือมีข้อสงสัย 2 ข้อครับ
1. เราสามารถทำการสั่งปิดเครื่องพร้อมกันหลายเครื่องได้หรือเปล่า

2. การเชื่อมต่อผ่านทาง Remote IPC เป็นอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ

dtp said...

ถาม 1. เราสามารถทำการสั่งปิดเครื่องพร้อมกันหลายเครื่องได้หรือเปล่า

ตอบ 1.ลักษณะการทำงานของคำสั่ง shutdown.exe นั้น จะเป็นการทำทีละบรรทัด คือจะทำบรรทัดที่ 1 ให้เสร็จก่อนแล้วจึงจะทำคำสั่งบรรทัดที่ 2 และต่อๆ ไป แต่เราสามารถประยุกต์เพื่อทำการชัทดาวน์ที่ละหลายเครื่องโดยการใช้งานแบบ batch file ครับ

ถาม 2.การเชื่อมต่อผ่านทาง Remote IPC เป็นอย่างไรครับ
ตอบ 2. ขอตอบสั้นๆ ดังนี้ครับ การเชื่อมต่อผ่านทาง Remote IPC สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง net use ดังนี้ net use \\computer_name\IPC$ administrator_password

Anonymous said...

เราต้องไปตั้งค่าอยู่เครื่อง client ก่อนมั๊ยครับรึว่าเราสามารถสั่งผ่านเครื่องเราได้เลยครับ เรื่องของการ remote อ่ะครับ

dtp said...

เราสามารถสั่งปิดเครื่อง client จากเครื่องเราได้เลยดังนี้

1.โดยในกรณี Workgroup จะต้องมียูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดที่ตรงกันแอคเคาท์ที่ตรงกัน เช่น แอคเคาท์ Administrator บนเครื่อง client และเครื่องเราต้องมีรหัสผ่านเหมือนกัน

2. โดยในกรณี Domain จะต้องใช้แอคเคาท์ที่เป็น Domain Admin

Anonymous said...

it's good tips and working fine
need travel here Type shutdown under Program/script and type –s –f –t 0
http://thailand-booking-hotel-guide.blogspot.com/