Tuesday, June 5, 2007

วิธีการสร้างยูสเซอร์จากคอมมานด์พร้อมท์บน Windows XP

บน Windows XP การสร้างยูสเซอร์ใหม่ (Create New User) นั้นสามารถทำได้ทั้งแบบ GUI โดยใช้เครื่งมือ Computer Management (อ่านรายละเอียดได้จาก Create new user in Windows XP with computer management และแบบคอมมานด์ไลน์โดยใช้คำสั่ง net user โดยวิธีการแบบแบบคอมมานด์ไลน์นั้น มีรายละเอียดดังนี้

การจัดการยูสเซอร์ด้วยคำสั่ง net
การจัดการยูสเซอร์จากคอมมานด์ไลน์บน Windows XP นั้น จะใช้คำสั่ง net.exe ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้
คำสั่ง net.exe
คำสั่ง net.exe เป็นคำสั่งแบบคอมมานด์ไลน์ (Command-line) สำหรับใช้จัดการระบบต่างๆ ของ Windows XP รวมถึงใช้ในการจัดการยูสเซอร์แอคเคาต์ (User accounts) โดยจะใช้คู่กับพารามิเตอร์ user เช่น การเพิ่มยูสเซอร์ (Add User), ลบยูสเซอร์ (Delete User) การเปลี่ยนรหัสผ่าน และการกำหนดวัน-เวลาที่ให้ใช้งานได้ เป็นต้น

ซินเท็กซ์
net user [UserName [Password *] [Options]] [/domain]
net user [UserName {Password *} /add [Options] [/domain]]
net user [UserName [/delete] [/domain]]


พารามิเตอร์
- UserName คือ logon name ของยูสเซอร์ ที่ต้องการ add, delete, modify, หรือ view มีสูงสุดได้ 20 ตัวอักษร
- Password คือ รหัสผ่านที่กำหนดให้กับยูสเซอร์เพื่อใช้ในการ logon หากใส่เป็น (*) ระบบจะถามให้ใส่รหัสผ่าน
- /domain คือ การกำหนดให้ทำคำสั่งบน domain controller ของโดเมนที่กำหนด โดยหากไม่กำหนดค่า /domain จะเป็นการทำแบบ local

อ็อปชันของคำสั่ง net user
- /active:{no yes} คือ ทำการ enables หรือ disables บัญชียูสเซอร์ที่กำหนด โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น yes
- /comment:"Text" คือ รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับบัญชียูสเซอร์ ใส่ได้สูงสุด 48 ตัวอักษร โดยต้องใส่ในเครื่องหมายคำพูด
- /countrycode:NNN คือค่ารหัส Country/Region โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น 0
- /expires:{{MM/DD/YYYY DD/MM/YYYY mmm,dd ,YYYY} never} คือการกำหนดให้บัญชียูสเซอร์นั้นมีการหมดอายุตามค่าที่กำหนด ซึ่งสามารถใช้รูปแบบ [MM/DD/YYYY], [DD/MM/YYYY], หรือ [mmm,dd ,YYYY] ก็ได้ โดยค่าเดือนนั้นสามารถใส่เป็น ชื่อเต็ม, ตัวเลข, หรือ ชื่อย่อ ก็ได้ (ชื่อย่อ คือ Jan, Feb, Mar, Apr, May, Jun, Jul, Aug, Sep, Oct, Nov, Dec) สำหรับปีนั้นใช้แบบ ตัวเลข 2 หลัก หรือ 4 หลัก ก็ได้ โดยใช้ commas (,) หรือ slashes (/) คั่นระหว่างค่าแต่ละส่วน
- /fullname:"Name" คือ ชื่อเต็มของบัญชียูสเซอร์ โดยต้องใส่ในเครื่องหมายคำพูด
- /homedir:Path คือ การกำหนด home directory ให้กับยูสเซอร์
- /passwordchg:{yes no} คือ การกำหนดว่าอนุญาตให้ยูสเซอร์ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านได้หรือไม่โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น yes
- /passwordreq:{yes no} คือ การกำหนดว่ายูสเซอร์ต้องมีรหัสผ่านหรือไม่ โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น yes
- /profilepath:[Path] คือ การกำหนด profile path ให้กับยูสเซอร์
- /scriptpath:Path คือ การกำหนด logon script ให้กับยูสเซอร์
- /times:{Day[-Day][,Day[-Day]] ,Time[-Time][,Time[-Time]] [;…] all} คือ การกำหนดเวลาที่ยูสเซอร์สามารถใช้ได้ โดยการกำหนดเป็น เวลาเป็นชั่วโมง หรือ วัน โดยค่าเวลานั้นสามารถใช้ในรูปแบบ 24 ชั่วโมง เช่น 13.00-14.00 หรือ แบบ 12 ชั่วโมง เช่น 7AM – 5PM หรือ 7A.M. – 5P.M. ก็ได้ และวันนั้นใช้ตัวย่อ คือ M,T,W,Th,F,Sa,Su โดยหากใส่เป็น all นั้นหมายความว่าใช้ได้ตลอดเวลา และหาก ว่าง (blank) นั้นหมายความว่าใช้ไม่ได้ตลอดเวลา ในกรณีที่ในแต่ละวันมีค่าแตกต่างกันให้แยกด้วย semicolons เช่น M,4AM-5PM;T,1PM-3PM
- /usercomment:"Text" คือ การกำหนด คำอธิบายหรือหมายเหตุเพิ่มเติม โดยต้องใส่ในเครื่องหมายคำพูด
- /workstations:{ComputerName[,...] *} คือ การกำหนดว่า ยูสเซอร์สามารถใช้งานได้จากเครื่องไหนบ้าง ซึ่งใส่ได้สูงสุด 8 เครื่อง โดยแยกแต่ละเครื่องด้วย commas ถ้าไม่กำหนดชื่อเครื่องหรือใส่เป็น (*) นั้นคือสามารถใช้จากเครื่องไหนก็ได้

ตัวอย่าง:
ต้องการสร้างยูสเซอร์ test1 บนเครื่องโลคอล และกำหนดให้รหัสผ่านเป็น z123 สามารถทำได้โดยการรันคำสั่งด้านล่างที่คอมมานด์พร้อมท์ดังนี้

net user test1 z123 /add

Create Users Account net user /add
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

Related Posts:

  • PsPing โปรแกรมตรวจสอบ Network Performance แบบฟรีแวร์Windows Sysinternals Suite คือชุดซอฟต์แวร์รวมโปรแกรมเครื่องมือฟรีสำหรับใช้เสริมหรือแก้ปัญหาการทำงาน Windows โดยมีเครื่องมือที่รู้จักกันดี เช่น Autoruns, Process Explorer เป็นต้น และในเวอร์ชันล่าสุดซึ่งออกเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม … Read More
  • จัดระเบียบเดสก์ท็อปเสมือนบน Windows ด้วยโปรแกรม Desktops 2.0วันนี้ผมมีโปรแกรม Desktops ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรีแวร์สำหรับใช้จัดระเบียบเดสก์ท็อปเสมือนมาแนะนำครับ โดย Desktops สามารถรองรับเดสก์ท็อปเสมือนได้ 4 เดสก์ท็อป ช่วยให้การสลับไปมาระหว่างการทำงานด้วยโปรแกรมต่าง ๆ ทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้… Read More
  • วิธีบูท Windows 8 เข้าหน้า Desktop โดยตรงไมโครซอฟท์ตั้งใจออกแบบให้หน้า Start เป็นหน้าจอเริ่มต้นสำหรับการใช้งาน Windows 8 โดยหน้า Start จะแสดงไทล์ (Tiles) ของแอพต่าง ๆ ดังภาพที่ 1 แต่เนื่องจากเป็นระบบอินเทอร์เฟชที่ออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานบนจอภาพระบบสัมผัส และยังเ… Read More
  • วิธีเปิด "Do Not Track" ใน Google Chrome 23กูเกิลได้เพิ่มการสนับสนุน Do Not Track ใน Google Chrome 23 ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถส่งการร้องขอไปยังเว็บไซต์ที่เข้าชมเพื่อไม่ให้ทำการสะกดรอยการท่องอินเทอร์เน็ตได้ แต่เนื่องจากคุณลักษณะ Do Not Track ไม่ได้ถูกเปิดใช้งานตั้งแต่เริ่… Read More
  • วิธีการอัพเดทแอพบน Windows 8บทความนี้ผมจะสาธิตวิธีการอัพเดทแอพ (Built-in Apps) บน Windows 8 ซึ่งเป็นแอพแบบ Modern (หรือรู้จักในชื่อ Metro Apps) ที่มาพร้อม Windows 8 โดยปกติไมโครซอฟท์จะทำการออกอัพเดทแอพเป็นระยะเพื่อปรับปรุงการทำงานหรือเพิ่มความสามารถใหม่… Read More

3 Comment:

Anonymous said...

แล้วถ้าต้องการกำหนดให้ user มีสิทธิ์เป็น administrator ต้องใช้คำสั่งไหนครับ

SWLabour said...

หากต้องการกำหนดให้มีสิทธิ์ administrator ต้องใช้คำสั่งไหนครับ

dtp said...

การเพิ่มยูสเซอร์เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม Administrator ใช้คำสั่ง net localgroup administrator user_account /ADD ครับ อ่านรายละเอียดได้ที่หน้า http://thaiwinadmin.blogspot.com/2007/06/manage-users-group-with-net-localgroup.html