บทความนี้ ผมมีวิธีการจัดการ User Account ด้วยคำสั่ง net.exe มาฝากครับ
จัดการ User Account ด้วยคำสั่ง net.exe
คำสั่ง net.exe เป็นคำสั่งแบบ Command-line สามารถใช้จัดการ User Account ได้โดยการใช้คู่กับพารามิเตอร์ user เช่น การเพิ่มผู้ใช้ (Add User), ลบผู้ใช้ (Delete User), และการเปลี่ยนรหัสผ่าน เป็นต้น
ซินเท็กซ์
net user [UserName [Password *] [Options]] [/domain]
net user [UserName {Password *} /add [Options] [/domain]]
net user [UserName [/delete] [/domain]]
พารามิเตอร์
UserName คือ Logon name ของผู้ใช้ ที่ต้องการ add, delete, modify, หรือ view มีสูงสุดได้ 20 ตัวอักษร
Password คือ รหัสผ่านที่กำหนดให้กับผู้ใช้เพื่อใช้ในการ Logon หากใส่เป็น (*) ระบบจะถามให้ใส่รหัสผ่าน
/domain คือ การกำหนดให้ทำคำสั่งบน Domain Controller ของโดเมนที่กำหนด โดยหากไม่กำหนดค่า /domain จะเป็นการทำแบบ Local
Options ต่างๆ ของคำสั่ง net user
/active:{no yes} คือ ทำการ enables หรือ disables บัญชีผู้ใช้ที่กำหนด โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น yes
/comment:"Text" คือ รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับบัญชีผู้ใช้ ใส่ได้สูงสุด 48 ตัวอักษร โดยต้องใส่ในเครื่องหมายคำพูด
/countrycode:NNN คือค่ารหัส Country/Region โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น 0
/expires:{{MM/DD/YYYY DD/MM/YYYY mmm,dd ,YYYY} never} คือการกำหนดให้บัญชีผู้ใช้นั้นมีการหมดอายุตามค่าที่กำหนด ซึ่งสามารถใช้รูปแบบ [MM/DD/YYYY], [DD/MM/YYYY], หรือ [mmm,dd ,YYYY] ก็ได้ โดยค่าเดือนนั้นสามารถใส่เป็น ชื่อเต็ม, ตัวเลข, หรือ ชื่อย่อ ก็ได้ (ชื่อย่อ คือ Jan, Feb, Mar, Apr, May, Jun, Jul, Aug, Sep, Oct, Nov, Dec) สำหรับปีนั้นใช้แบบ ตัวเลข 2 หลัก หรือ 4 หลัก ก็ได้ โดยใช้ commas (,) หรือ slashes (/) คั่นระหว่างค่าแต่ละส่วน
/fullname:"Name" คือ ชื่อเต็มของบัญชีผู้ใช้ โดยต้องใส่ในเครื่องหมายคำพูด
/homedir:Path คือ การกำหนด home directory ให้กับผู้ใช้
/passwordchg:{yes no} คือ การกำหนดว่าอนุญาตให้ผู้ใช้ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านได้หรือไม่โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น yes
/passwordreq:{yes no} คือ การกำหนดว่าผู้ใช้ต้องมีรหัสผ่านหรือไม่ โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น yes
/profilepath:[Path] คือ การกำหนด profile path ให้กับผู้ใช้
/scriptpath:Path คือ การกำหนด logon script ให้กับผู้ใช้
/times:{Day[-Day][,Day[-Day]] ,Time[-Time][,Time[-Time]] [;…] all} คือ การกำหนดเวลาที่ผู้ใช้สามารถใช้ได้ โดยการกำหนดเป็น เวลาเป็นชั่วโมง หรือ วัน โดยค่าเวลานั้นสามารถใช้ในรูปแบบ 24 ชั่วโมง เช่น 13.00-14.00 หรือ แบบ 12 ชั่วโมง เช่น 7AM – 5PM หรือ 7A.M. – 5P.M. ก็ได้ และวันนั้นใช้ตัวย่อ คือ M,T,W,Th,F,Sa,Su โดยหากใส่เป็น all นั้นหมายความว่าใช้ได้ตลอดเวลา และหาก ว่าง (blank) นั้นหมายความว่าใช้ไม่ได้ตลอดเวลา ในกรณีที่ในแต่ละวันมีค่าแตกต่างกันให้แยกด้วย semicolons เช่น M,4AM-5PM;T,1PM-3PM
/usercomment:"Text" คือ การกำหนด คำอธิบายหรือหมายเหตุเพิ่มเติม โดยต้องใส่ในเครื่องหมายคำพูด
/workstations:{ComputerName[,...] *} คือ การกำหนดว่า ผู้ใช้สามารถใช้งานได้จากเครื่องไหนบ้าง ซึ่งใส่ได้สูงสุด 8 เครื่อง โดยแยกแต่ละเครื่องด้วย commas (,) ถ้าไม่กำหนดชื่อเครื่องหรือใส่เป็น (*) นั้นคือสามารถใช้จากเครื่องไหนก็ได้
Manage User Account Net Command
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
Sunday, March 25, 2007
Home »
Operating System
,
Tips
,
Tutorials
,
Windows 7
,
Windows 8
,
Windows Vista
,
Windows XP
» จัดการ User Account ด้วยคำสั่ง net.exe
จัดการ User Account ด้วยคำสั่ง net.exe
Related Posts:
การใช้งาน Address Bar บน Windows XP SP3การใช้งาน Address Bar บน Windows XP Service Pack 3โดยประโยชน์ของ Address Bar นั้นช่วยให้สามารถเปิดหน้าเว็บเพจได้โดยไม่ต้องเปิดหน้า Internet Explorer ขึ้นมาก่อน ซึ่งใน Windows XP SP2 หรือเวอร์ชันก่อนหน้า จะสามารถใช้ address ba… Read More
ข้อแตกต่างระหว่าง RDC กับ RDWCข้อแตกต่างระหว่าง Remote Desktop Connection และ Remote Desktop Web Connectionการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ Vista แบบรีโมทนั้น สามารถใช้ Remote Desktop Connection หรือ Remote Desktop Web Connection ก็ได้ แต่อาจจะมีบางท่านท… Read More
วิธีการดูโฟลเดอร์ System ของ Windowsวิธีการดูโฟลเดอร์ System ของ Windowsในบางครั้งเราอาจต้องการเปิดโฟลเดอร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบของ Windows ตัวอย่างเช่น ต้องการดูโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ System หรือโฟลเดอร์ cookies ของ Internet Explorer หรือดูรายการเมนูใน Send … Read More
การใช้คำสั่งคอนโทรลพาเนลเวอร์ชัน 32 บิต บนระบบ 64 บิตการใช้คำสั่งคอนโทรลพาเนลเวอร์ชัน 32 บิต บนระบบ 64 บิตบนระบบปฏิบัติการ Windows XP Professional หรือ Windows Server 2003 เวอร์ชัน 64 บิต นั้น จะมีคำสั่งคอนโทรลพาเนลเวอร์ชัน 32 บิตมาให้ด้วย โดยมีวิธีการใช้งาน ดังนี้1. คลิก Start… Read More
การย้ายตำแหน่ง Taskbar บน Windows XPโดยดีฟอลท์นั้น Taskbar ของ Windows XP จะแสดงอยูด้านล่างของหน้าเดสก์ท็อป ซึ่งยูสเซอร์สามารถทำการปรับตำแหน่งไปอยู่ด้านซ้าย ด้านขวา หรือ ด้านบน ก็ได้ตามความต้องการ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้จอภาพแบบ Wide Screen การปรับตำแหน่ง Taskbar ไปอ… Read More
0 Comment:
Post a Comment