Windows 7 และ Windows Server 2008 R2 นั้นสามารถรองรับการบูทระบบจาก Virtual Hard Disk (VHD) อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์ได้ออกมาเตือนผู้ใช้ว่าการบูทระบบด้วย VHD ที่สามารถขยายความจุได้แบบไดนามิกนั้นจะทำให้ระบบล้มเหลวได้ถ้าขนาดของ VHD ขยายใหญ่กว่าพื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์ทางกายภาพ
กรณีที่ขนาดของ VHD ขยายใหญ่กว่าพื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์ทางกายภาพ จะทำให้การบูทระบบจาก VHD เกิดความล้มเหลว โดยแสดงข้อความผิดพลาดดังต่อไปนี้
A problem has been detected and Windows has been shut down to prevent damage to your computer.
An initialization failure occurred while attempting to boot from a VHD.
The volume that hosts the VHD does not have enough free space to expand the VHD.
Stop: 0x00000136 (0x00000000, 0xc0000007f, 0x000000, 0x000000)
หมายเหตุ: พารามิเตอร์ตัวที่ 2 ของบั๊กคือ "0xc000007f - STATUS_DISK_FULL."
สำหรับรายละเอียดวิธีการบูท Windows 7 จาก VHD นั้นสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ Windows 7 Boot from VHD
สาเหตุของปัญหา
ปัญหาดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นในกรณีที่ VHD ถูกคอนฟิกแบบ "Dynamically Expanding" ทำให้สามารถขยายความจุได้แบบไดนามิก ดังนั้น เมืื่อทำการบูทระบบด้วย VHD ที่สามารถขยายความจุได้แบบไดนามิก VHD ก็จะทำขยายความจุจนถึงขนาดสูงสุดตามที่ถูกคอนฟิกไว้ แต่ถ้าพื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ทางกายภาพมีไม่เพียงพอสำหรับการขยายขนาดของ VHD ก็จะทำให้ระบบแครช
วิธีการแก้ไข
สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ ทำได้โดยการเพิ่มพื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ทางกายภาพที่เก็บไฟล์ VHD แต่ในกรณีที่ขนาดสูงสุดของ VHD นั้นใหญ่กว่าขนาดพื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ทางกายภาพ จะต้องทำการสร้างไฟล์ VHD ใหม่โดยคอนฟิกให้เป็นแบบขนาดคงที่ (Fixed-Size) จากนั้นให้ทำการกำหนดขนาดความจุตามความเหมาะสม
วิธีการนี้สามารถใช้ได้กับ
วิธีการนี้สามารถใช้ได้กับ Windows เวอร์ชันต่างๆ ดังนี้
- Windows Server 2008 R2 Enterprise
- Windows Server 2008 R2 Standard
- Windows Server 2008 R2 Datacenter
- Windows 7 Enterprise
- Windows 7 Ultimate
- Windows 7 Professional
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
KB2020922
© 2010 TWA Blog. All Rights Reserved.
No comments:
Post a Comment
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML