ปัจจุบันเริ่มรายงานเกี่ยวกับ Windows 7 SP1 มากขึ้นหลังจากที่ไมโครซอฟท์ได้ประกาศว่ากำลังทำการพัฒนา Service Pack 1 (SP1) สำหรับ Windows 7 และ Windows Server 2008 R2 ไปเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา ตามเวลาในประเทศสหรัฐอเมริกา (อ่านรายละเอียดได้ที่ Microsoft announces Windows 7 SP1) อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์ยังไม่ได้ประกาศวันออก SP1 ที่แน่นอน แต่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอทีคาดการณ์ว่า SP1 สำหรับ Windows 7 และ Server 2008 R2 นั้น (น่า) จะออกในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
นอกจากนี้ ยังคาดกันว่า SP1 สำหรับ Windows 7 นั้นจะไม่เป็นการอัพเกรดระบบแบบที่เรียกได้ว่าเป็นการยกเครื่องเหมือนกับ SP2 ของ Windows XP แต่น่าจะเป็นเพียงการอัพเดทย่อยซึ่งจะรวมเอาอัพเดทต่างๆ ซึ่งออกหลังจากเวอร์ชัน RTM และฟีเจอร์ใหม่บางอย่างเข้าเป็นแพ็กเกจเดียว โดยฟีเจอร์ใหม่ซึ่งไมโครซอฟท์ได้ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะมีอยู่ใน SP1 ของ Windows Server 2008 R2 นั้นมีจำนวน 2 ฟีเจอร์ คือ Dynamic Memory และ RemoteFX ซึ่งทั้งสองฟีเจอร์เป็นเทคโนโลยีด้านการใช้งานระบบเดสก์ท็อปเสมือน (Desktop Virtualization)
Dynamic Memory
Dynamic Memory เป็นฟีเจอร์ใน SP1 ที่จะทำให้การใช้งานเวอร์ชวลแมชชีน (Virtual Machine) บน Hyper-V ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่มากยิ่งขึ้น โดยไมโครซอฟท์พัฒนาฟีเจอร์ Dynamic Memory ขึ้นตามเสียงเรียกร้องของผู้ใช้ใน 2 ประเด็นคือ
1. Use physical memory as efficiently and dynamically as possible without impacting performance.
ทำให้ Hypervisor สามารถใช้งานหน่วยความจำทางกายภาพ (Physical Memory) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและพร้อมกับมีความเป็นไดนามิก โดยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานน้อยที่สุด
2. Provide consistent performance and scalability.
มีประสิทธิภาพการทำงานที่แน่นอนและสามารถรองรับการขยายระบบได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพกับความหนาแน่นของเวอร์ชวลแมชชีนนั้นจะเป็นความสัมพันธ์แบบพกพันกันดังรูปด้านล่าง นั้นคือ หากต้องการเวอร์ชวลแมชชีนที่มีประสิทธิภาพสูงจะต้องใช้งานเวอร์ชวลแมชชีนในแบบความหนาแน่นต่ำหรือกลับกัน
Credit: Technet
ก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์ได้เลือกที่จะเน้นไปยังด้านของประสิทธิภาพการทำงานของเวอร์ชวลแมชชีน แต่ในปัจจุบันผู้ใช้ได้เรียกร้องให้เพิ่มความหนาแน่นของเวอร์ชวลแมชชีนขึ้นโดยที่มีผลระทบกับประสิทธิภาพการทำงานน้อยที่สุด
ดังนั้นในระดับสูงแล้ว Hyper-V Dynamic Memory เป็นการเสริมระบบ Memory Management สำหรับ Hyper-V ซึ่งออกแบบมาสำหรับช่วยให้ผู้ใช้สามารถรวมเซิร์ฟเวอร์เป็นเวอร์ชวลแมชชีนในอัตราความหนาแน่นสูงขึ้น
แหล่งข้อมูล: http://blogs.technet.com/virtualization/archive/2010/03/18/Dynamic-Memory-Coming-to-Hyper-V.aspx
RemoteFX
RemoteFX เป็นเทคโนโลยีที่ไมโครซอฟท์ได้มาจากการซื้อบริษัท Calista Technologies เมื่อสองปีก่อน เป็นฟีเจอร์ที่ได้รับการออกแบบเพื่อทำให้การใช้งานเดสก์ท็อปเสมือนในแบบรีโมทมีประสิทธิภาพการทำงานเทียบเท่ากับการใช้งานเดสก์ท็อปแบบโลคอล (Local Desktop) โดย RemoteFX เป็นฟีเจอร์ที่อยู่ในชุดของเทคโนโลยี Remote Desktop Protocol (RDP) เป็นฟีเจอร์ที่ถูกพัฒนาเพื่อช่วยให้ระบบเดสก์ท็อปเสมือนสามารถรองรับ Windows Aero, มีเดียทุกประเภท, ออดิโอความคมชัดสูง (Highly-synchronized audio) รวมถึงแอนิเมชันประเภท Silverlight และกราฟิกแอพพลิเคชันแบบ 3D
ดังนั้น RemoteFX จึงเป็นฟีเจอร์ที่ช่วยเสริมบริการ Remote Desktop Services (RDS) ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบเวอร์ชวลและเดสก์ท็อปแบบเซสชันเบส (Session-based desktop) และแอพพลิเคชัน (Application) ผ่านทางระบบเน็ตเวิร์กได้อย่างสนุกสนาน เนื่องจากสามารถทำงานแบบรีโมทในสภาพแวดล้อมเดสก์ท็อปแบบ Windows Aero, ดูวีดีโอแบบ Full-motion, สนุกกับแอนิเมชันแบบ Silverlight, รันแอพพลิเคชันแบบ 3D ด้วยประสิทธิภาพการทำงานในระดับเดียวกับการใช้งานแบบโลคอล
สำหรับเดสก์ท็อปที่ผู้ใช้ใช้งานนั้นในความจริงแล้วคือโฮสต์ (Host) ที่อยู่ในศูนย์ข้อมูล (Data Center) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Virtual Desktop Infrastructure (VDI) หรือในสภาพแวดล้อมแบบ Session Virtualization (หรือที่รู้จักในชื่อ Terminal Services) และด้วย RemoteFX ผู้ใช้จะสามารถทำงานผ่านทางการเชื่อมต่อด้วยมาตรฐาน RDP จากอุปกรณ์ไคลเอ็นต์หลากหลายประเภท ทั้งไคลเอ็นต์แบบ Thick และ Thin รวมถึงอุปกรณ์ราคาประหยัด
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
แหล่งข้อมูล: http://blogs.technet.com/virtualization/archive/2010/03/18/Explaining-Microsoft-RemoteFX.aspx
ที่มา
• Softpedia
© 2010 TWA Blog. All Rights Reserved.
No comments:
Post a Comment
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML