ทดลองรัน Chrome OS บน VMware Player 3.0
วันนี้นำประสบการณ์จริงกับ Chrome OS ระบบปฏิบัติการของ Google มาฝากครับ โดยผมได้ทำการรันบน VMware Player 3.0 ใน Windows 7 Professional สำหรับท่านทีสนใจที่จะทดสอบด้วยตนเองสามารถอ่านรายละเอียดการดาวน์โหลด Download Chrome OS VMware VM Image สำหรับ Download VMware Player 3.0
ขั้นตอนที่ 1 ทำการแตกไฟล์ Chrome OS VMWare Virtual Machine Image
เนื่องจากไฟล์ Chrome OS VMWare Virtual Machine Image นั้นจะอยู่ในฟอร์แมต .zip ดังนั้นให้ทำการขยายไฟล์ก่อน จากนั้นให้เก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่เข้าถึงได้สะดวก เช่น D:\VHD\chromeos
ขั้นตอนที่ 2 ทำการสร้าง Virtual Machine
ทำการสร้าง Virtaul Machine โดยใช้ VMware Player 3.0 ตามขั้นตอนในเอนทรี่ Create a Virtual Machine in VMware Player 3.0 โดยในขั้นตอน Select a Guest Operating System ให้เลือกเป็น Other และให้ตั้งชื่อเป็น ChromeOS
นอกจากนี้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทดสอบมีการ์ดแลนเพียงใบเดียว ให้คอนฟิกระบบเน็ตเวิร์กของเวอร์ชวลแมชชีนเป็นแบบ Bridged Networking เพื่อให้สามารถใช้งานระบบเครือข่ายได้
ขั้นตอนที่ 3 เพิ่ม VMware Virtual Hard Disk เข้า Virtual Machine
เนื่องจาก VMware Player 3.0 นั้นไม่รองรับการสร้างเวอร์ชวลแมชชีนโดยใช้ไฟล์ VMware Virtual Hard Disk (.vmhd) ที่มีอยู่ ดังนั้นต้องทำการเพิ่มไฟล์ .vmhd ของ Chrome OS แบบแมนนวลตามขั้นตอนดังนี้
1. ในหน้าต่าง VMware Player ให้คลิกขวาที่เวอร์ชวลแมชชีนที่สร้างในขั้นตอนที่ 2 แล้วเลือก Edit VM
2. จากนั้นในหน้า Virtual Machine Settings ให้คลิก Hard Disk (1) แล้วคลิก Remove (2) ดังรูปด้านล่าง
3. ยังคงทำงานอยู่ในหน้า Virtual Machine Settings ให้คลิก Add ดังรูปด้านล่าง หากวินโวส์แสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ User Account Control ให้คลิก Continue เพื่อดำเนินการต่อ
4. ในหน้า Add Hardware Wizard: Hardware Type ให้คลิก Hard Disk เสร็จแล้วคลิก Next ดังรูปด้านล่าง
5. ในหน้า Add Hardware Wizard: Select a Disk ให้เลือก Use an existing virtual disk เสร็จแล้วคลิก Next ดังรูปด้านล่าง
6. ในหน้า Add Hardware Wizard: Select an Existing Disk ให้เลือกไฟล์ "VMware Virtual Hard Disk (.vmhd)" ที่ได้จาก "ขั้นตอนที่ 1" เสร็จแล้วคลิก Finish
7. หากโปรแกรม VMware Player ถามให้ทำการเปลี่ยนฟอร์แมตไฟล์ของเวอร์ชวลดิสก์เป็นฟอร์แมตใหม่ ให้เลือก Keep Existing Format (ไม่ทำการเปลี่ยนฟอร์แมต) จากนั้นในหน้า Virtual Machine Settings ให้คลิก OK เพื่อจบการเพิ่มเวอร์ชวลดิสก์
ขั้นตอนที่ 4 รัน Virtual Machine
หลังจากทำการเพิ่มเวอร์ชวลดิสก์เสร็จแล้ว ให้ทำการรันเวอร์ชวลแมชชีนโดยการคลิกขวาแล้วเลือก Play VM ดังรูปด้านล่าง แล้วรอจนเวอร์ชวลแมชชีนพร้อมใช้งาน
ขั้นตอนที่ 5 ลอกอินเข้า Chrome OS
หลังจากเวอร์ชวลแมชชีนบูทระบบแล้วเสร็จ จะแสดงหน้าต่างลอกอินดังรูปด้านล่าง (หน้าต่างที่ได้จะไม่อยู่กลางหน้าจอไม่ทราบว่าเป็นบั๊กหรือว่า Google ตั้งใจ) ให้ทำการล็อกอินด้วยแอคเคาท์ของ Gmail
ขั้นตอนที่ 6 ทดลองใช้งาน Chrome OS
หลังจากลอกอินเข้า Chrome OS จะได้หน้าต่างซึ่งมีลักษณะกับเว็บเบราเซอร์ Chrome จากนั้นสามารถทำการท่องอินเทอร์เน็ตหรือรับ-ส่งอีเมลได้เหมือนการใช้งานปกติ โดยการแสดงผลเว็บไซต์ในภาษาอังกฤษนั้นสามารถแสดงผลได้ถูกต้อง
แต่ยังมีปัญหาเรื่องการแสดงผลหน้าเว็บไซต์ในภาษาไทย ถึงแม้ว่าจะตั้งค่า Encoding แล้วก็ตาม ซึ่งอาจจะเป็นเพราะยังอยู่ในเวอร์ชัน Pre-Beta
บทสรุปการทดลองใช้ Chrome OS
การทดลอง Chrome OS ผมพบบั๊กและปัญหาในการทำงานอีกหลายอย่างซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการพัฒนายังไม่เสร็จสมบูรณ์ ปัญหาที่พบเช่น เมื่อผมพยายามทำการเปลี่ยนการตั้งค่าพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์กลับไม่สามารถทำได้ การล็อกอินเข้าระบบต้องใช้อินเทอร์เน็ตนั้นคือหากไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตก็จะไม่สามารถทำการล็อกอินเข้าระบบได้ และผมหาวิธีการปิดระบบ (Shutdown) ไม่ได้ว่าจะต้องทำอย่างไร ที่สำคัญยังคงกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน
สำหรับเรื่องที่ผมรู้สึกประทับใจในการทดลอง Chrome OS คือ การบูทระบบที่เร็วมาก และการล็อกอินที่ใช้แอคเคาท์จาก Gmail ทำให้ลดความซับซ้อนในการใช้งาน นั้นคือล็อกออกเข้าเครื่องเสร็จสามารถใช้งานเซอร์วิสต่างๆ ของ Google ได้โดยไม่ต้องทำการลอกอินใหม่ (แนวคิดคล้ายๆ Single Sing On)
เนื่องจาก Chrome OS ที่ทดสอบยังอยู่ในเวอร์ชัน Pre-Beta จึงมีบั๊กและปัญหาในการทำงานอีกหลายอย่าง คิดว่าในเวอร์ชัน Beta นั้นคงจะดีขึ้น ทั้งนี้ Google วางแผนที่จะออก Chrome OS เวอร์ชันเสร็จสมบูรณ์ในช่วงเทศกาลวันหยุดปี 2010
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
© 2009 TWA Blog. All Rights Reserved.
No comments:
Post a Comment
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML