ไซต์ (Site) ใน Windows Server 2003 Active Directory (AD)
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
ในสภาพแวดล้อมโดเมน AD ที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อน มีเครื่องลูกข่ายที่กระจายอยู่ตามเครือข่ายย่อย หรือ ซับเน็ต (Subnet) ต่างๆ หลายเครือข่าย หากในเครือข่ายย่อยใดมีจำนวนเครื่องลูกข่ายมากว่า 100 เครื่อง จะต้องทำการสร้างไซต์ (Site) ของเครือข่ายย่อนั้น พร้อมติดตั้งโดเมนคอนโทรลเลอร์ (Donain Controller) และโกลบอลแคตาล็อก (Global Catalog) อย่างน้อย 1 เซิร์ฟเวอร์ต่อไซต์ เพื่อช่วยให้การล็อกออนของเครื่องลูกข่ายทำงานได้รวดเร็วขึ้น
หมายเหตุ: โดเมนคอนโทรลเลอร์ (Donain Controller) และโกลบอลแคตาล็อก (Global Catalog) สามารถเป็นเซิร์ฟเวอร์ตัวเดียวกันได้
รู้จัก Site
ไซต์ (Site) คือ เป็นการแบ่งโครงสร้างของโดเมนตามโครงสร้างของเครือข่ายย่อย หรือ ซับเน็ต (Subnet) ที่การเชื่อมต่อมีความน่าเชื่อถือสูง มีความเร็วสูงและเชื่อมต่อถึงกันตลอดเวลา ขอยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้
ตัวอย่าง: ระบบโดเมน AD ประกอบด้วย 3 เน็ตเวิร์ก ดังนี้
1. 192.100.1.0/255.255.255.0 มีเครื่องลูกข่ายจำนวน 250 เครื่อง
2. 192.168.1.0/255.255.255.0 มีเครื่องลูกข่ายจำนวน 120 เครื่อง
3. 192.168.2.0/255.255.255.0 มีเครื่องลูกข่ายจำนวน 70 เครื่อง
จากตัวอย่างนี้ ดัจะต้องสร้างไซต์จำนวน 2 ไซต์ สำหรับเน็ตเวิร์ก 192.100.1.0 และ 192.168.1.0 ส่วนเน็ตเวิร์ก 192.168.2.0 ไม่จำเป็นต้องสร้างไซต์ เนื่องจากมีจำนวนเครื่องลูกข่ายน้อยกว่า 100 เครื่อง
การสร้างไซต์ใน Windows Server 2003 AD
วิธีการสร้างไซต์ใน Windows Server 2003 AD มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิก Start คลิก Administrative Tools แล้วคลิก Directory Sites and Services
2. ในหน้าต่าง Directory Sites and Services คลิกขวาที่โฟลเดอร์ Site แล้วคลิก New Site
รูปที่ 1 New Site
3. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ New Object - Site ให้ใส่ชื่อไซต์ในกล่อง Name (ตัวอย่างเช่น Site A) จากนั้นเลือก Link ที่ต้องการในรายชื่อใต้ Link Name เสร็จแล้วคลิก OK
รูปที่ 2 New Object - Site
4. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Active Directory (ซึ่งระบบแจ้งให้ทำการสร้างลิงก์กับไซต์อื่นๆ เพิ่มซับเน็ต และติดตั้งโดนเมนคอนโทรลเลอร์ให้กับไซต์ที่สร้างขึ้น) ให้คลิก OK เพื่อจบการสร้างไซต์
รูปที่ 3 AD Domain Services
ขั้นตอนต่อไป
• Create Subnet in Windows Server 2003 AD
© 2008 TWAB. All Rights Reserved.
No comments:
Post a Comment
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML