Pages - Menu

Pages - Menu

Pages

Thursday, August 30, 2007

วิธีการดูแลบำรุงรักษาฮาร์ดดิสก์

แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2552

บทความนี้จะแนะนำถึงวิธีการทั่วๆ ไปในการดูแลบำรุงรักษาฮาร์ดดิสก์ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ พร้อมสาเหตุและวิธีการป้องกันการสูญเสียข้อมูลที่สำคัญต่างๆ

หากจะจัดอันดับ เกี่ยวกับปัญหาที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่อยากเจอมากที่สุดเเล้ว กล่าวได้ว่า ปัญหา "ข้อมูลหาย" นั้น คงอยู่ในอันดับต้นๆ เลยที่เดียว และเมื่อพิจารณาถึงสาเหตุแล้ว ก็จะพบว่าปัญหา "ข้อมูลหาย" นั้น ส่วนมากมีสาเหตุมาจากปัญหาฮาร์ดดิสก์เสียนั้นเอง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ปัญหา "ข้อมูลหาย" เป็นผลมาจาก ปัญหาฮาร์ดดิสก์เสีย นั้นเอง

สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ถ้าหากมีปัญหาอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์เสีย เราคงจะกลุ้ม (ปวดหัว) ว่าจะหาเงินจากไหนมาเปลี่ยน มีเงินซื้อมาเปลี่ยนปัญหาก็จบ สามารถที่จะใช้งานต่างๆ ได้เหมือนเดิม แต่ถ้าหากในกรณีที่ฮาร์ดดิสก์สุดเลิฟเสียนั้น ถือเป็นฝันร้ายยิ่งกว่าฝันถึง เจสัน+เฟร็ดดี้ พร้อมกัน

สาเหตุของปัญหา
ก่อนอื่น เรามาดูกันดีกว่าว่าสาเหตุใด ทำไมฮาร์ดดิสก์จึงเสีย ซึ่งมีหลายๆ สาเหตุด้วยกัน ดังนี้
1. เกิดจากตัวฮาร์ดดิสก์เอง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากขั้นตอนการผลิค กรณีนี้จะเกิดกับคนที่มีโชคในการซื้อของ เพราะจะได้ใช้ใช้สิทธิ์การประกันสินค้า
2. ฮาร์ดดิสก์หมดอายุใช้งาน พบในกรณีที่ฮาร์ดดิส์ที่มีอายุการใช้งานมานานเกิน 3 ปีขึ้นไป
3. เกิดการการหมดสภาพใช้งาน เนื่องจากมีการใช้งานหนักจนระบบกลไกหมดสภาพใช้งาน
4. เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น เสียเนื่องจากเกิดปัญหาไฟฟ้ากระชาก เป็นต้น
5. ฮาร์ดดิกส์ถูกขโมย (จะถูกขโมยไปพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือขโมยเฉพาะฮาร์ดดิสก์อย่างเดียวก็ได้)
6. เกิดจาก "ยูสเซอร์" เองนั้นแหละ ที่ใช้งานไม่ถูกต้อง เช่น เครื่องยังชัทดาวน์ไม่เสร็จก็ถอดปลั๊ก หรือใช้การชัทด่วนแทนการชัทดาวน์บ่อยๆ

วิธีการป้องกันปัญหา
สำหรับวิธีการป้องกันปัญหา ทั้ง6 ข้อที่กล่าวมานั้น มีดังนี้
- กรณีที่ 1 นั้น การป้องกันในระดับยูสเซอร์เองนั้นอาจทำได้ยาก เนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่าฮาร์ดดิสก์นั้น ถูกผลิตมาอย่างไร มีคุณภาพแค่ไหน คงต้องอาศัยโชคของใครของมันกันเอง ขอให้โชคดีครับท่าน
- กรณีที่ 2-3 นั้น การป้องกันทำได้ง่ายมาก คือทำการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่แทนตัวเก่า แต่ที่ยากคือจะเอาเงินมากจากไหนแค่นั้นเอง (อันนี้ก็ตัวใครตัวมันครับ)
- กรณีที่ 4 นั้นอาจใช้วิธีการต่อผ่าน UPS อาจช่วยได้ในกรณีที่ใช้งาน UPS ที่มีคุณภาพ UPS ประเภทแถมมาพร้อมซื้อเครื่องบางครั้งแค่ไฟกระพริบ UPS ตัวดี ดับเฉยเลยก็มี ดังนั้น หากต้องซื้อ UPS ก็เลือกนิดนึงแล้วกันครับ
- กรณีที่ 5 นั้น การป้องกันขึ้นอยู่กับว่าหากเป็นเครื่องในที่ทำงานก็ รปภ. รับหน้าที่ไป แต่ในกรณีเครื่องส่วนตัวก็ต้องระมัดระวังเอาเอง
- กรณีที่ 6 นั้น เกิดจาก "ยูสเซอร์" ซึ่งเป็นใครไปเสียมิได้ ก็คือ "คุณนั้นแหละ" หรือเอาให้ครอบคลุมกว้างขึ้นอีกนิดนึงก็ตัวเรา ซึ่งเป็นผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เองนั้นแหละครับ หากต้องการให้ฮาร์ดดิสก์สุดเลิฟมีอายุการใช้งานนานๆ ก็ต้องเลิกนิสัยไม่ดีไปได้เลย อย่างเช่น ใช้การชัทด่วนแทนการชัทดาวน์บ่อยๆ เป็นกิจวัตร ฮาร์ดดิสก์เสียมาเดี๋ยวจะหาว่าไม่บอก

วิธีการดูแลบำรุงรักษา
ท้ายสุด เรามาดูวิธีการดูแลบำรุงรักษา เนื่องจากฮาร์ดดิสก์สุดเลิฟนั้นสำคัญการเรามาก ดังนั้นเมื่อเป็นของรักก็ต้องดูแลรักษากันหน่อย โดยวิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปนั้น จะมีสองขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

1. ทำการ Check Disk เป็นประจำ
ข้อนี้ถือเป็นข้อแนะนำแรกเสมอ เมื่อพูดถึงการการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ ซึ่งมีโปรแกรมสำหรับทำ Check Disk ให้มาพร้อมกับวินโดวส์อยู่แล้ว และวิธีการทำก็ง่ายโดยการเปิด My Computer แล้วคลิกขวาที่ Hard Disk ที่ต้องการ คลิก Propeties จากนั้นคลิก Tools แล้วคลิก Check Now เท่านี้ก็เรียบร้อย อาจเลือกอ็อปชันอื่นๆ ตามความต้องการ ทั้งนี้หาก Hard Disk ที่ต้องการทำการ Check นั้นเป็นพาร์ติชันที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการอยู่ ก็จะแสดง Message แจ้งให้ทำการ Check ในตอนการสตาร์ทเครื่อง หากทำเป็นประจำก็ช่วยให้ฮาร์ดดิสมีสุขภาพแข็งแรง และอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

2. ทำการ Defragment สม่ำเสมอ
ข้อนี้อาจจะไม่ได้ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น หรือเสียยากขึ้นโดยตรง แต่จะช่วยให้การทำงานของกลไกต่างๆ ทำงานน้อยลง การสึกหรอน้อยลง ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้น โดยทั่วไปจะจัดเก็บแบบสุ่ม นั้นคือ ไฟล์เดียวกันอาจจะจัดเก็บอยู่คนละที่กัน ซึ่งทำให้การแอคเซสไฟล์นั้น ทำได้ช้ากว่าการที่ไฟล์เก็บอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากหัวอ่านอาจต้องย้อนกลับไปกลับมา นอกจากนี้การ Defrag ยั้งช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น ซึ่งมีโปรแกรมสำหรับทำ Defragment ให้มาพร้อมกับวินโดวส์อยู่แล้ว และวิธีการทำก็ง่ายโดยการเปิด My Computer แล้วคลิกขวาที่ Hard Disk ที่ต้องการ คลิก Propeties จากนั้นคลิก Tools แล้วคลิก Defragment Now จากนั้นเลือก Hard Disk ตัวที่ต้องการ หากไม่อยากใช้โปรแกรมของวินโดวส์ ก็สามารถใช้โปรแกรมฟรีที่ชื่อ Power Defragmenter ก็ได้ อ่านรายละเอียดวิธีใช้ได้ที่ url
Power Defragmenter

3. ทำประกันอุบัติเหตุให้กับข้อมูล
เป็นการรับประกันว่าถ้าเกิดดวงแตกขึ้นมาจริงๆ จะเกิดผลกระทบกับข้อมูลน้อยที่สุด (ไม่รวมผลกระทบกับกระเป๋าสตางค์) ก็ให้ทำการซื้อประกันอุบัติเหตุให้กับข้อมูล ไม่ต้องตกใจครับ ผมไม่ได้ให้ไปซื้อประกันกับบริษัทขายประกันซะหน่อย แต่หมายถึงให้ทำการ Backup ข้อมูล เก็บไว้ในสื่อต่างๆ เช่น CD หรือ DVD เป็นต้น ซึ่งวิธีการก็ไม่ได้ยากอะไร คิดว่าคงทำเป็นกันทุกท่าน วิธีการ Backup อย่างง่ายที่สุด ก็ให้เขียนลงแผ่น CD หรือ DVD ไปเลย แต่ถ้าหากต้องการให้ดูเป็นมืออาชีพ ก็สามารถใช้โปรแกรมช่วยในการ Backup ก็ไม่ว่ากัน วิธีที่ง่ายและฟรี คือ ใช้โปรแกรม Backup ที่มากับวินโดวส์แล้ว (เรียกได้จาก All Programs\Accessorie\System Tools\Backup) ซึ่งใช้งานได้ดีในระดับนึง สำหรับวิธีการใช้งานอย่างละเอียดนั้น เอาไว้โอกาสต่อไปจะเขียนให้อ่านกันในครั้งต่อๆ ไปครับ และสำหรับวิธีการป้องกันข้อมูลสูญหายสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ การป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์จากมัลแวร์ และ การป้องกันข้อมูลสูญหาย


Hard Disk Maintenance

© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

No comments:

Post a Comment

เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML