อัพเดทล่าสุด:5 MAY 2008
อ่านรายละเอียดการใช้งาน MBSA Beta 2.1 Final ได้ที่ การตรวจสอบวินโดวส์ด้วย MBSA 2.1
MBSA Beta 2.1 Beta 2
Microsoft Baseline Security Analyzer 2.1 Beta 2 นั้นจะทำการปรับปรุงจาก Beta 1 เพื่อให้รองรับ Windows Vista ได้
MBSA 2.1 Beta 2 ทำการปรับปรุงดังนี้:
• รองรังการสแกนแบบ Full online remote ระบบ Windows Vista.
• รองรับระบบ 64-bit.
• อัพเดทกราฟิกอินเทอร์เฟชใหม่
MBSA 2.1 Beta 1 รองรับการใช้งานในลักษณะต่างๆ ดังนี้
• สามารถติดตั้งบน Windows 2000 SP4 จนถึง Windows Vista.
• มีการอัพเดทการสแกน Security
• สามารถทำการสแกนแบบ Local online บน Windows 2000 SP4 จนถึง Windows Vista.
• สามารถทำการสแกนแบบ Local offline บน Windows 2000 SP4 จนถึง Windows Vista.
• สามารถทำการสแกนแบบ Remote offline ระบบ Windows 2000 SP4 จนถึง Windows Vista.
• สามารถทำการสแกนแบบ Remote online ระบบ Windows 2000 SP4 จนถึง Windows 2003.
• สามารถทำการสแกนแบบ Local และ Remote VA ระบบ Windows 2000 SP4 จนถึง Windows Vista (32-bit and 64-bit)
การดาวน์โหลด:
Microsoft Baseline Security Analyzer v2.1 Beta 2 32-bit (x86)
Microsoft Baseline Security Analyzer v2.1 Beta 2 64-bit (x64)
32-bit WUA standalone installer
64-bit WUA standalone installer
หมายเหตุ: ไมโครซอฟท์จะออก MBSA 2.1 Full Version ประมาณไตรมาสที่สามปี 2007
การติดตั้ง MBSA 2.1 Beta 2
หากยังไม่มีโปรแกรมติดตั้ง ให้ไปดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ศูนย์ดาวน์โหลดของไมโครซอฟต์ http://www.microsoft.com/downloads จากนั้นให้ทำการติดตั้ง ตามขี้นตอนดังนี้
1.ในที่โฟลเดอร์ที่เก็บโปรแกรม ให้ทำการดับเบิลคลิกที่ไฟล์ setup.exe จะได้หน้าไดอะล็อกดังรูปที่ 1. ให้คลิก Next
รูปที่ 1. MBSA 2.1 Setup
2. ในหน้าไดอะล็อก License Agreement ให้คลิก I accept the license agreement ดังรูปที่ 2. แล้วคลิก Next
รูปที่ 2. License Agreement
3. ในหน้าไดอะล็อก Destination Folder หากต้องการเปลี่ยนตำแหน่งการติดตั้งให้คลิกที่ Browse แล้วเลือก โฟลเดอร์ที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next ดังรูปที่ 3.
รูปที่ 3. Destination Folder
4. ในหน้าไดอะล็อก Start Installation ให้คลิก Next เพื่อเริ่มทำการติดตั้งโปรแกรมดังรูปที่ 4.
รูปที่ 4. Start Installation
5. ระบบจะทำการติดตั้ง ดังรูปที่ 5. เมื่อการการติดตั้งแล้วเสร็จ ให้คลิก Finish ดังรูปที่ 6.
รูปที่ 5. Installation Progress
รูปที่ 6. Installation Completed
การติดตั้ง WUA
เมื่อทำการติดตั้ง MBSA 2.1 Beta2 เสร็จแล้วขั้นต่อไปต้องทำการติดตั้ง WUA โดยสามารถทำการดาวน์โหลดได้ตาม url ในหัวข้อ Download Location เสร็จแล้วทำการติดตั้งตามขั้นตอนดังนี้
1.ในที่โฟลเดอร์ที่เก็บโปรแกรม ให้ทำการดับเบิลคลิกที่ไฟล์ WindowsUpdateAgent30-x86.exe จะได้หน้าไดอะล็อกดังรูปที่ 7. ให้คลิก Next
รูปที่ 7. Installation Windows Update Agent
2. ในหน้าไดอะล็อก WUA License Term ให้คลิก I Agree เสร็จแล้วคลิก Next ดังรูปที่ 8.
รูปที่ 8. WUA License Term
3. ในหน้าไดอะล็อก ระบบจะทำการติดตั้ง ดังรูปที่ 9. เมื่อการการติดตั้งแล้วเสร็จ ให้คลิก Finish ดังรูปที่ 10.
รูปที่ 9. Installation Progress
รูปที่ 10. Install Completed
เริ่มต้นใช้งาน Microsoft Baseline Security Analyzer 2.1
เมื่อทำการติดตั้ง MBSA และ WUA เสร็จแล้วเริ่มต้นใช้งานโดยการดับเบิลคลิกที่ไอคอน Microsoft Baseline Security Analyzer 2.1 บนเดสท็อป ซึ่งจะได้หน้าต่าง MBSA ดังรูปที่ 11. สำหรับคำอธิบายแต่ละหัวข้ออ่านได้จากหัวข้อ การใช้งาน Microsoft Baseline Seciryt Analyzer http://thaiwinadmin.blogspot.com/2007/03/microsoft-baseline-security-analyzer.html
รูปที่ 11. MBSA startup windows
2. เริ่มทำการสแกนโดยการคลิก Scan a Computer จะได้หน้าต่างดังรูปที่ 12. ในช่อง Computer Name ให้ใส่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสแกน โดยค่าเริ่มต้นนั้นจะเป็นเครื่องที่โปรแกรมติดตั้งอยู่ แล้วคลิก Start scan
รูปที่ 12. Which computer do you want to scan
3. โปรแกรม MBSA จะทำการดาวน์โหลดอัพเดทฐานข้อมูลของมันเอง เสร็จแล้วจะเริ่มทำการสแกน ดังรูปที่ 13. รอจนกว่าโปรแกรมทำงานแล้วเสร็จ
รูปที่ 13. Scanning Computer
4. เมื่อ MBSA สแกนแล้วเสร็จจะแสดงผลการสแกนดังนี้
-รูปที่ 14. Security assessment & Security Update Scan Results
-รูปที่ 15. Windows Scan Results
-รูปที่ 16. Addition System Information IIS Scan Results SQL Server Scan results Desktop Application Scan Results
รูปที่ 14. Scan report 1/3
รูปที่ 15. Scan report 2/3
รูปที่ 16. Scan report 3/3
5. ในกรณีที่ MBSA แจ้งว่ามีปัญหา สามารถดูวิธีการแก้ไขได้โดยการคลิกที่ How to correct this ดังรูปที่ 17. ซึ่งจะเปิดหน้าต่างคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาดังรูปที่ 18.
รูปที่ 17. How to correct
รูปที่ 18. How to correct web page
การใช้งานร่วมกับ WSUS Server
สำหรับหน่วยงานที่บริหารจัดการการอัพเดทระบบวินโดวส์โดยใช้เซิร์ฟเวอร์ WSUS สามารถใช้งานร่วมกับ MBSA ได้ตามวิธีการดังนี้
1.จากหน้าหน้าต่าง MBSA Startup เมื่อคลิก Scan a computer หรือ Scan multiple computers ซึ่งจะได้หน้าต่าง MBSA ดังรูปที่ 12 จากนั้น ในหัวข้อ Check for security updates เลือกหัวข้อ Advanced Update Services Options แล้วเลือก Scan using assigned Update Services server only ดังรูปที่ 19. แล้วคลิก Start scan
รูปที่ 19. Scan using assigned WSUS
2. จากนั้นให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 2-5 ในหัวข้อ เริ่มต้นใช้งาน MBSA จนแล้วเสร็จ
การดูรายงานผลการสแกน
ในการดูรายงานผลการสแกนของ MBSA นั้น ทำได้ดังนี้
1. คลิก View Security Report จากหน้าต่างเริ่มต้นของ MBSA ดังรูปที่ 11. MBSA startup windows
2. คลิกเลือก Security Report ที่ต้องการดูจากหน้า Choose a security report to view ดังรูปที่ 20.
รูปที่ 20. Choose a security report to view
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
1. แนะนำ MBSA http://thaiwinadmin.blogspot.com/2007/03/microsoft-baselibe-security-analyzer.html
2. การใช้งาน MBSA 2.0 http://thaiwinadmin.blogspot.com/2007/03/microsoft-baseline-security-analyzer.html
3. MBSA web site http://www.microsoft.com/technet/security/tools/mbsahome.mspx
Microsoft Baseline Security Analyzer 2.1 MBSA2.1 Beta 2 MBSA v2.1 Beta 2
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
Pages - Menu
▼
Pages - Menu
▼
Pages
▼
Wednesday, May 23, 2007
Microsoft Virtual PC 2007 Installing Winodws XP as Guest OS - Part 4/4
แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 4 กันยายน 2550
Guest OS Installation
เมื่อทำการตั้งค่าคอนฟิกต่างๆ ของ Virtual Machine ที่สร้างขึ้นมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ ทำการติดตั้ง Guest OS ในที่นี้จะเป็นการติดตั้ง Windows XP Professional เป็น Guest OS ขั้นตอนดังนี้ (โดยจะกล่าวถึงวิธีการติดตั้ง Windows XP เพียงคร่าวๆ เท่านั้น โดยขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP อย่างละเอียด สามารถอ่านได้จาก การติดตั้ง การติดตั้ง Windows XP Step by step)
1. ทำการเปิดโปรแกรม Virtual PC Console ขึ้นมาดังรูปที่ 1. ใส่แผ่น Windows XP Installation CD ในไดรฟ์ซีดีรอม แล้วคลิกเลือก Virtual Machine ที่ต้องการ ในที่นี้จะเลือก XPSP2 ซึ่งเป็นเวอร์ชวลแมชีนที่สร้างในขั้นตอนที่ 2. Create New Virtual Machine (สำหรับท่านที่สร้าง Virtual Machine ในชื่ออื่นๆ ก็ให้เลือกตามความเหมาะสมครับ) เสร็จแล้วคลิก Start
รูปที่ 1. Virtual PC Console
2. ให้คลิกเมนู CD แล้วคลิก Use Physical drive F: ที่เมนูบาร์ของหน้า Virtual PC Console เพื่อกำหนดให้ Virtual Machine จะทำการบูตระบบจากไดรฟ์ CD-ROM ดังรูปที่ 2.
รูปที่ 2. Use Physical drive F:
3. ระบบจะทำการติดตั้ง Windows XP Professional ดังรูปที่ 3, 4, และ 5 สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง Windos XP อ่านได้จาก การติดตั้ง Windows XP Step by step
รูปที่ 3. Windows Setup
รูปที่ 4. Installaing Windows
รูปที่ 5. Windows restarting
4. เมื่อทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ (ในที่นี้ติดตั้ง Windows XP Professional) แล้วเสร็จ ระบบจะทำการรีสตาร์ทระบบดังรูปที่ 6. เมื่อบูตเสร็จจะได้หน้าจอดังรูปที่ 7. ซึ่งสามารถใช้งานเหมือนกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้ ดังรูปที่ 11. ด้านล่าง ซึ่งเป็นการเปิดเว็บไซต์ http://www.google.com ด้วย Internet Explorer
รูปที่ 6. Windows starting up
รูปที่ 7. Windows XP Desktop
การเปิดและปิด Virtual Machine
ในการเปิดใช้งาน Virtual machine นั้น จะต้องทำจากหน้า Virtual PC Control จากนั้นทำการเปิด Virtual machine ตามขั้นดังนี้
1. ทำการเปิดโปรแกรม Virtual PC Console ขึ้นมาดังรูปที่ 8. แล้วคลิกเลือก Virtual Machine ที่ต้องการ ในที่นี้จะเลือก XPSP2 เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Start
รูปที่ 8. Virtual PC Console
รูปที่ 9. Virtual Machine starting up
2. ระบบจะทำการรัน Virtual Machine ขึ้นมาเป็นระบบปฏิบัติการตามที่เราได้ติดตั้ง ในที่นี้คือ Windows XP Professional ดังรูปที่ 10. เมื่อระบบสตาร์ทเรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถใช้งานเหมือนกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ดังรูปที่ 11. ซึ่งเป็นการเปิดเว็บไซต์ http://www.google.com
รูปที่ 10. Windows XP Desktop
รูปที่ 11. Browsing Internet
3. เมื่อใช้งานแล้วเสร็จและต้องการปิดระบบ Virtual Machine เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำการปิดระบบ (Turn off) ดังรูปที่ 12. โดยเมื่อ Turn off แล้วเสร็จจะได้หน้าต่างดังรูปที่ 8. หรือว่าทำการบันทึกสถานะเก็บไว้ (Save state) ดังรูปที่ 13. ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะได้หน้าต่างดังรูปที่ 14.
*ข้อแตกต่างคือ Turn off นั้นเหมือนกับการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เวลาเปิดก็จะทำการสตาร์ทระบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าในการที่เครื่องจะพร้อมใช้งาน ในขณะที่ Save state นั้น เหมือนกับการสแตนด์บายเครื่องคอมพิวเตอร์ เวลาเปิดก็ไม่ต้องทำการสตาร์ทระบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลาน้อยกว่าในการที่เครื่องจะพร้อมใช้งาน
รูปที่ 12. Turn off
รูปที่ 13. Save state
รูปที่ 14. Saved state
4. หากต้องการรีเซต Virtual Machine ก็ให้ทำการคลิกที่เมนู Action บน Virtual PC Console แล้วคลิก Reset ซึ่งการรีเซตนั้นจะทำให้ข้อมูลที่ยังไม่ได้ทำการบันทึกจะหายไป โดย VPC จะแสดงข้อความแจ้งเตือนดังรูปที่ 15. ด้านล่าง
รูปที่ 15. Reset Virtual Machine
หมายเหตุ
หลังจากติดตั้ง Virtual Machine เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะยังไม่สามารถทำการแลกเปลี่ยนไฟล์ (File adn Folder Sharing) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จริงๆ ได้ ซึ่งวิธีการจะกล่าวถึงในหัวข้อ Virtual Machine Additions
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
Microsoft Virtual PC 2007
Virtual Machine Additions
ไลเซนส์การใช้งาน Microsoft Virtual PC 2007
Microsoft Virtual PC 2007 1/4 Installation
Microsoft Virtual PC 2007 2/4 Create New Virtual Machine
Microsoft Virtual PC 2007 3/4 Virtual machine settings
Microsoft Virtual PC 2007 4/4 Windows XP as Guest OS
MSVPC2007 Microsoft Virtual PC 2007 VirtualPC2007 VirtualPC 2007 VPC2007 VPC 2007 Virtualization
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
Guest OS Installation
เมื่อทำการตั้งค่าคอนฟิกต่างๆ ของ Virtual Machine ที่สร้างขึ้นมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ ทำการติดตั้ง Guest OS ในที่นี้จะเป็นการติดตั้ง Windows XP Professional เป็น Guest OS ขั้นตอนดังนี้ (โดยจะกล่าวถึงวิธีการติดตั้ง Windows XP เพียงคร่าวๆ เท่านั้น โดยขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP อย่างละเอียด สามารถอ่านได้จาก การติดตั้ง การติดตั้ง Windows XP Step by step)
1. ทำการเปิดโปรแกรม Virtual PC Console ขึ้นมาดังรูปที่ 1. ใส่แผ่น Windows XP Installation CD ในไดรฟ์ซีดีรอม แล้วคลิกเลือก Virtual Machine ที่ต้องการ ในที่นี้จะเลือก XPSP2 ซึ่งเป็นเวอร์ชวลแมชีนที่สร้างในขั้นตอนที่ 2. Create New Virtual Machine (สำหรับท่านที่สร้าง Virtual Machine ในชื่ออื่นๆ ก็ให้เลือกตามความเหมาะสมครับ) เสร็จแล้วคลิก Start
รูปที่ 1. Virtual PC Console
2. ให้คลิกเมนู CD แล้วคลิก Use Physical drive F: ที่เมนูบาร์ของหน้า Virtual PC Console เพื่อกำหนดให้ Virtual Machine จะทำการบูตระบบจากไดรฟ์ CD-ROM ดังรูปที่ 2.
รูปที่ 2. Use Physical drive F:
3. ระบบจะทำการติดตั้ง Windows XP Professional ดังรูปที่ 3, 4, และ 5 สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง Windos XP อ่านได้จาก การติดตั้ง Windows XP Step by step
รูปที่ 3. Windows Setup
รูปที่ 4. Installaing Windows
รูปที่ 5. Windows restarting
4. เมื่อทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ (ในที่นี้ติดตั้ง Windows XP Professional) แล้วเสร็จ ระบบจะทำการรีสตาร์ทระบบดังรูปที่ 6. เมื่อบูตเสร็จจะได้หน้าจอดังรูปที่ 7. ซึ่งสามารถใช้งานเหมือนกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้ ดังรูปที่ 11. ด้านล่าง ซึ่งเป็นการเปิดเว็บไซต์ http://www.google.com ด้วย Internet Explorer
รูปที่ 6. Windows starting up
รูปที่ 7. Windows XP Desktop
การเปิดและปิด Virtual Machine
ในการเปิดใช้งาน Virtual machine นั้น จะต้องทำจากหน้า Virtual PC Control จากนั้นทำการเปิด Virtual machine ตามขั้นดังนี้
1. ทำการเปิดโปรแกรม Virtual PC Console ขึ้นมาดังรูปที่ 8. แล้วคลิกเลือก Virtual Machine ที่ต้องการ ในที่นี้จะเลือก XPSP2 เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Start
รูปที่ 8. Virtual PC Console
รูปที่ 9. Virtual Machine starting up
2. ระบบจะทำการรัน Virtual Machine ขึ้นมาเป็นระบบปฏิบัติการตามที่เราได้ติดตั้ง ในที่นี้คือ Windows XP Professional ดังรูปที่ 10. เมื่อระบบสตาร์ทเรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถใช้งานเหมือนกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ดังรูปที่ 11. ซึ่งเป็นการเปิดเว็บไซต์ http://www.google.com
รูปที่ 10. Windows XP Desktop
รูปที่ 11. Browsing Internet
3. เมื่อใช้งานแล้วเสร็จและต้องการปิดระบบ Virtual Machine เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำการปิดระบบ (Turn off) ดังรูปที่ 12. โดยเมื่อ Turn off แล้วเสร็จจะได้หน้าต่างดังรูปที่ 8. หรือว่าทำการบันทึกสถานะเก็บไว้ (Save state) ดังรูปที่ 13. ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะได้หน้าต่างดังรูปที่ 14.
*ข้อแตกต่างคือ Turn off นั้นเหมือนกับการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เวลาเปิดก็จะทำการสตาร์ทระบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าในการที่เครื่องจะพร้อมใช้งาน ในขณะที่ Save state นั้น เหมือนกับการสแตนด์บายเครื่องคอมพิวเตอร์ เวลาเปิดก็ไม่ต้องทำการสตาร์ทระบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลาน้อยกว่าในการที่เครื่องจะพร้อมใช้งาน
รูปที่ 12. Turn off
รูปที่ 13. Save state
รูปที่ 14. Saved state
4. หากต้องการรีเซต Virtual Machine ก็ให้ทำการคลิกที่เมนู Action บน Virtual PC Console แล้วคลิก Reset ซึ่งการรีเซตนั้นจะทำให้ข้อมูลที่ยังไม่ได้ทำการบันทึกจะหายไป โดย VPC จะแสดงข้อความแจ้งเตือนดังรูปที่ 15. ด้านล่าง
รูปที่ 15. Reset Virtual Machine
หมายเหตุ
หลังจากติดตั้ง Virtual Machine เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะยังไม่สามารถทำการแลกเปลี่ยนไฟล์ (File adn Folder Sharing) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จริงๆ ได้ ซึ่งวิธีการจะกล่าวถึงในหัวข้อ Virtual Machine Additions
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
Microsoft Virtual PC 2007
Virtual Machine Additions
ไลเซนส์การใช้งาน Microsoft Virtual PC 2007
Microsoft Virtual PC 2007 1/4 Installation
Microsoft Virtual PC 2007 2/4 Create New Virtual Machine
Microsoft Virtual PC 2007 3/4 Virtual machine settings
Microsoft Virtual PC 2007 4/4 Windows XP as Guest OS
MSVPC2007 Microsoft Virtual PC 2007 VirtualPC2007 VirtualPC 2007 VPC2007 VPC 2007 Virtualization
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
System Volume Information folder
รู้จักกับโฟลเดอร์ System Volume Information
โฟลเดอร์ System Volume Information นั้นเป็นโฟลเดอร์ระบบที่ถูกซ่อนอยู่ (Hidden System folder) ซึ่งจะมีอยู่ในทุกๆ พาร์ติชัน (Partition) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยโฟลเดอร์ System Volume Information จะใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆ และ Restore Point ของ System Restore โดยค่าเริ่มต้นนั้นจะมีเฉพาะระบบ (System) เท่านั้นที่สามารถแอคเซสได้ แต่ยูสเซอร์สามารถทำการแอคเซสเพื่อดูข้อมูลต่างๆ ในโฟลเดอร์ System Volume Information ได้โดยดำเนินการตามวิธีการดังนี้
Windows XP Professional หรือ Home ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ FAT32
1. คลิก Start จากนั้นคลิก My Computer
2. คลิกเมนู Tools บนเมนูบาร์ แล้วคลิก Folder Options
3. คลิกแท็บ View แล้วคลิกเลือก Show hidden files and folders
4. ให้ลบเครื่องหมายถูกในเช็คบ็อกซ์หน้า Hide protected operating system files (Recommended) และให้ตอบ Yes เมื่อระบบถามให้ยืนยันการเปลี่ยน
5. คลิก OK เพื่อออกจากหน้า Folder Options
6. ในหน้าต่าง My Computer ให้คลิกเลือกไดรฟ์ที่ต้องการ
7. เปิดโฟลเดอร์โดยดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ System Volume Information
Windows XP Professional ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS และเป็นสมาชิกของ Domain
1. คลิก Start จากนั้นคลิก My Computer
2. คลิกเมนู Tools บนเมนูบาร์ แล้วคลิก Folder Options
3. คลิกแท็บ View แล้วคลิกเลือก Show hidden files and folders
4. ให้ลบเครื่องหมายถูกในเช็คบ็อกซ์หน้า Hide protected operating system files (Recommended) และให้ตอบ Yes เมื่อระบบถามให้ยืนยันการเปลี่ยน
5. คลิก OK เพื่อออกจากหน้า Folder Options
6. ในหน้าต่าง My Computer ให้คลิกเลือกไดรฟ์ที่ต้องการ
7. ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ System Volume Information แล้วคลิก Sharing and Security
8. คลิกแท็บ Security
9. คลิก Add และพิมพ์ชื่อที่ต้องการให้สิทธิ์ในการเอคเซสโฟลเดอร์ โดยส่วนมากจะเป็น account ที่ล็อกออนอยู่ เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อออกจากหน้า Select Users or Groups แล้วคลิก OK อีกครั้งเพื่อออกจากหน้า Folder Properties
9. เปิดโฟลเดอร์โดยดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ System Volume Information
Windows XP Professional ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS ใน Workgroup หรือ Standalone
1. คลิก Start จากนั้นคลิก My Computer
2. คลิกเมนู Tools บนเมนูบาร์ แล้วคลิก Folder Options
3. คลิกแท็บ View แล้วคลิกเลือก Show hidden files and folders
4. ให้ลบเครื่องหมายถูกในเช็คบ็อกซ์หน้า Hide protected operating system files (Recommended)และให้ตอบ Yes เมื่อระบบถามให้ยืนยันการเปลี่ยน
5. ให้ลบเครื่องหมายถูกในเช็คบ็อกซ์หน้า Use simple file sharing (Recommended)
6. คลิก OK เพื่อออกจากหน้า Folder Options
7. ในหน้าต่าง My Computer ให้คลิกเลือกไดรฟ์ที่ต้องการ
8. ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ System Volume Information แล้วคลิก Sharing and Security
9. คลิกแท็บ Security
10. คลิก Add และพิมพ์ชื่อที่ต้องการให้สิทธิ์ในการเอคเซสโฟลเดอร์ โดยส่วนมากจะเป็น account ที่ล็อกออนอยู่ เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อออกจากหน้า Select Users or Groups แล้วคลิก OK อีกครั้งเพื่อออกจากหน้า Folder Properties
11. เปิดโฟลเดอร์โดยดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ System Volume Information.
หมายเหตุ: ปัจจุบันในระบบ Windows XP Home เมื่อเปิดใช้งานแบบ normal mode นั้น User สามารถแอคเซส โฟลเดอร์ System Volume Information.
Using CACLS with Windows XP Home ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS
สำหรับ Windows XP Home ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS นั้นสามารถใช้เครื่องมือแบบคอมมานด์ไลน์ชื่อ Cacls เพื่อทำการแสดงและแก้ไข Access Control Lists (ACLs) ของไฟล์หรือโฟลเดอร์
1. คลิก Start แล้วคลิก Run พิมพ cmd เสร็จแล้วคลิก OK
2. ให้ทำการเปลี่ยนไปยัง root folder ของพาร์ติชันที่ต้องการเอคเซสโฟลเดอร์ System Volume Information folder ตัวอย่าง หากต้องการเเอคเซสโฟลเดอร์ C:\System Volume Information ให้เปลี่ยนไปยัง Root Folder ของไดร์ฟ C (คือ "C:\" )
3. ให้พิมพ์คำสั่งตามบรรทัดถัดไปโดยให้ใส่เครื่องหมายคำพูด "" ด้วย เสร็จแล้วกดปุ่ม ENTER
cacls "driveletter:\System Volume Information" /E /G username:F
คำสั่งด้านบนจะเป็นการกำหนดสิทธิ์การเอคเซสโฟลเดอร์แบบ Full ให้กับผู้ใช้ที่ชื่อ Username
4. เปิดโฟลเดอร์โดยดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ System Volume Information
5. หากต้องการลบสิทธิ์การเอคเซสโฟลเดอร์ ให้พิมพ์คำสั่งตามบรรทัดถัดไปที่คอมมานด์พรอมท์ โดยให้ใส่เครื่องหมายคำพูด "" ด้วย เสร็จแล้วกดปุ่ม ENTER
cacls "driveletter:\System Volume Information" /E /R username
Start computer แบบ Safe mode
เมื่อทำการสตาร์ทคอมพิวเตอร์แบบ Safe mode นั้นวินโดวส์จะทำการปิด Simple file sharing โดยอัตโนมัติ.
1. เมื่อสตาร์ทคอมพิวเตอร์แบบ Safe mode แล้วให้เปิด My Computer
2. ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ System Volume Information แล้วคลิก Properties
3. คลิกแท็บ Security
4. คลิก Add และพิมพ์ชื่อที่ต้องการให้สิทธิ์ในการเอคเซสโฟลเดอร์ โดยส่วนมากจะเป็น account ที่ล็อกออนอยู่ เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อออกจากหน้า Select Users or Groups แล้วคลิก OK อีกครั้งเพื่อออกจากหน้า Folder Properties
5. เปิดโฟลเดอร์โดยดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ System Volume Information
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
• ไมโครซอฟต์ซัพพอร์ตเว็บไซต์ How to gain access to the System Volume Information folder (KB309531) ที่เว็บไซต์ http://support.microsoft.com/kb/309531
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
โฟลเดอร์ System Volume Information นั้นเป็นโฟลเดอร์ระบบที่ถูกซ่อนอยู่ (Hidden System folder) ซึ่งจะมีอยู่ในทุกๆ พาร์ติชัน (Partition) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยโฟลเดอร์ System Volume Information จะใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆ และ Restore Point ของ System Restore โดยค่าเริ่มต้นนั้นจะมีเฉพาะระบบ (System) เท่านั้นที่สามารถแอคเซสได้ แต่ยูสเซอร์สามารถทำการแอคเซสเพื่อดูข้อมูลต่างๆ ในโฟลเดอร์ System Volume Information ได้โดยดำเนินการตามวิธีการดังนี้
Windows XP Professional หรือ Home ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ FAT32
1. คลิก Start จากนั้นคลิก My Computer
2. คลิกเมนู Tools บนเมนูบาร์ แล้วคลิก Folder Options
3. คลิกแท็บ View แล้วคลิกเลือก Show hidden files and folders
4. ให้ลบเครื่องหมายถูกในเช็คบ็อกซ์หน้า Hide protected operating system files (Recommended) และให้ตอบ Yes เมื่อระบบถามให้ยืนยันการเปลี่ยน
5. คลิก OK เพื่อออกจากหน้า Folder Options
6. ในหน้าต่าง My Computer ให้คลิกเลือกไดรฟ์ที่ต้องการ
7. เปิดโฟลเดอร์โดยดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ System Volume Information
Windows XP Professional ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS และเป็นสมาชิกของ Domain
1. คลิก Start จากนั้นคลิก My Computer
2. คลิกเมนู Tools บนเมนูบาร์ แล้วคลิก Folder Options
3. คลิกแท็บ View แล้วคลิกเลือก Show hidden files and folders
4. ให้ลบเครื่องหมายถูกในเช็คบ็อกซ์หน้า Hide protected operating system files (Recommended) และให้ตอบ Yes เมื่อระบบถามให้ยืนยันการเปลี่ยน
5. คลิก OK เพื่อออกจากหน้า Folder Options
6. ในหน้าต่าง My Computer ให้คลิกเลือกไดรฟ์ที่ต้องการ
7. ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ System Volume Information แล้วคลิก Sharing and Security
8. คลิกแท็บ Security
9. คลิก Add และพิมพ์ชื่อที่ต้องการให้สิทธิ์ในการเอคเซสโฟลเดอร์ โดยส่วนมากจะเป็น account ที่ล็อกออนอยู่ เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อออกจากหน้า Select Users or Groups แล้วคลิก OK อีกครั้งเพื่อออกจากหน้า Folder Properties
9. เปิดโฟลเดอร์โดยดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ System Volume Information
Windows XP Professional ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS ใน Workgroup หรือ Standalone
1. คลิก Start จากนั้นคลิก My Computer
2. คลิกเมนู Tools บนเมนูบาร์ แล้วคลิก Folder Options
3. คลิกแท็บ View แล้วคลิกเลือก Show hidden files and folders
4. ให้ลบเครื่องหมายถูกในเช็คบ็อกซ์หน้า Hide protected operating system files (Recommended)และให้ตอบ Yes เมื่อระบบถามให้ยืนยันการเปลี่ยน
5. ให้ลบเครื่องหมายถูกในเช็คบ็อกซ์หน้า Use simple file sharing (Recommended)
6. คลิก OK เพื่อออกจากหน้า Folder Options
7. ในหน้าต่าง My Computer ให้คลิกเลือกไดรฟ์ที่ต้องการ
8. ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ System Volume Information แล้วคลิก Sharing and Security
9. คลิกแท็บ Security
10. คลิก Add และพิมพ์ชื่อที่ต้องการให้สิทธิ์ในการเอคเซสโฟลเดอร์ โดยส่วนมากจะเป็น account ที่ล็อกออนอยู่ เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อออกจากหน้า Select Users or Groups แล้วคลิก OK อีกครั้งเพื่อออกจากหน้า Folder Properties
11. เปิดโฟลเดอร์โดยดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ System Volume Information.
หมายเหตุ: ปัจจุบันในระบบ Windows XP Home เมื่อเปิดใช้งานแบบ normal mode นั้น User สามารถแอคเซส โฟลเดอร์ System Volume Information.
Using CACLS with Windows XP Home ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS
สำหรับ Windows XP Home ที่ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS นั้นสามารถใช้เครื่องมือแบบคอมมานด์ไลน์ชื่อ Cacls เพื่อทำการแสดงและแก้ไข Access Control Lists (ACLs) ของไฟล์หรือโฟลเดอร์
1. คลิก Start แล้วคลิก Run พิมพ cmd เสร็จแล้วคลิก OK
2. ให้ทำการเปลี่ยนไปยัง root folder ของพาร์ติชันที่ต้องการเอคเซสโฟลเดอร์ System Volume Information folder ตัวอย่าง หากต้องการเเอคเซสโฟลเดอร์ C:\System Volume Information ให้เปลี่ยนไปยัง Root Folder ของไดร์ฟ C (คือ "C:\" )
3. ให้พิมพ์คำสั่งตามบรรทัดถัดไปโดยให้ใส่เครื่องหมายคำพูด "" ด้วย เสร็จแล้วกดปุ่ม ENTER
cacls "driveletter:\System Volume Information" /E /G username:F
คำสั่งด้านบนจะเป็นการกำหนดสิทธิ์การเอคเซสโฟลเดอร์แบบ Full ให้กับผู้ใช้ที่ชื่อ Username
4. เปิดโฟลเดอร์โดยดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ System Volume Information
5. หากต้องการลบสิทธิ์การเอคเซสโฟลเดอร์ ให้พิมพ์คำสั่งตามบรรทัดถัดไปที่คอมมานด์พรอมท์ โดยให้ใส่เครื่องหมายคำพูด "" ด้วย เสร็จแล้วกดปุ่ม ENTER
cacls "driveletter:\System Volume Information" /E /R username
Start computer แบบ Safe mode
เมื่อทำการสตาร์ทคอมพิวเตอร์แบบ Safe mode นั้นวินโดวส์จะทำการปิด Simple file sharing โดยอัตโนมัติ.
1. เมื่อสตาร์ทคอมพิวเตอร์แบบ Safe mode แล้วให้เปิด My Computer
2. ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ System Volume Information แล้วคลิก Properties
3. คลิกแท็บ Security
4. คลิก Add และพิมพ์ชื่อที่ต้องการให้สิทธิ์ในการเอคเซสโฟลเดอร์ โดยส่วนมากจะเป็น account ที่ล็อกออนอยู่ เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อออกจากหน้า Select Users or Groups แล้วคลิก OK อีกครั้งเพื่อออกจากหน้า Folder Properties
5. เปิดโฟลเดอร์โดยดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ System Volume Information
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
• ไมโครซอฟต์ซัพพอร์ตเว็บไซต์ How to gain access to the System Volume Information folder (KB309531) ที่เว็บไซต์ http://support.microsoft.com/kb/309531
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
Tuesday, May 22, 2007
การจัดการ Partition ด้วยคำสั่ง Diskpart.exe : Part 1/2
จัดการ Partition ด้วยคำสั่ง Diskpart.exe : ตอนที่ 1/2
ในกรณีที่เราแบ่งฮาร์ดดิสก์ ออกเป็นหลาย partition เราสามรถจัดการฮาร์ดดิสก์ได้ทั้งแบบ GUI โดยใช้ Disk Management และจาก command prompt โดยใช้คำสั่ง Diskpart.exe
ในส่วนนี้จะเป็นการจัดการ Partition ด้วยคำสั่ง Diskpart.exe : Part 1/2 ซึ่งเป็นการใช้งานในด้านพื้นฐาน ส่วน Part 2/2 นั้นจะเป็นการใช้งานขั้นสูง
http://thaiwinadmin.blogspot.com
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
• จัดการ Partition ด้วยคำสั่ง Diskpart.exe : Part 2/2
Hard Disk Partition Management Diskpart.exe
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
ในกรณีที่เราแบ่งฮาร์ดดิสก์ ออกเป็นหลาย partition เราสามรถจัดการฮาร์ดดิสก์ได้ทั้งแบบ GUI โดยใช้ Disk Management และจาก command prompt โดยใช้คำสั่ง Diskpart.exe
ในส่วนนี้จะเป็นการจัดการ Partition ด้วยคำสั่ง Diskpart.exe : Part 1/2 ซึ่งเป็นการใช้งานในด้านพื้นฐาน ส่วน Part 2/2 นั้นจะเป็นการใช้งานขั้นสูง
http://thaiwinadmin.blogspot.com
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
• จัดการ Partition ด้วยคำสั่ง Diskpart.exe : Part 2/2
Hard Disk Partition Management Diskpart.exe
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
การจัดการ Partition ด้วยคำสั่ง Diskpart.exe : Part 2/2
จัดการ Partition ด้วยคำสั่ง Diskpart.exe : ตอนที่ 2/2
ในกรณีที่เราแบ่งฮาร์ดดิสก์ ออกเป็นหลาย partition และเราทำการซ่อนบาง partition ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ limited user สามารถเข้าไปใช้ได้ แต่ในบางครั้งหากเราต้องการ format หรือ ลบบางไฟล์หรือโฟลเดอร์ ใน partition ที่ซ่อนไว้นั้น วิธีการทำค่อยข้างยุ่งยากหากทำแบบ GUI โดยใช้เครื่องมือ Disk Management แต่หากว่าใช้คำสั่ง Diskpart.exe จาก Script แล้ว สามารถลดความยุ่งยากลงไปได้มาก โดยเฉพาะกับ Administrator ที่ต้องจัดการกับเครื่องเป็นจำนวนมาก แค่รวบรวมคำสั่งเป็นไฟล์ batch แล้วสั่งให้รันในขณะที่ทำการ logon ก็สามารถช่วยประหยัดแรงไปได้เยอะ มาเริ่มกันเลยครับ
วิธีการรันเครื่องมือ Diskpart.exe
ก่อนอื่นมาดูวิธีการรันเครื่องมือ Diskpart.exe กันก่อน วิธีการรัน Diskpart.exe ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การรัน Diskpart.exe /s ..\todo.txt ที่ command prompt มีข้อดีคือสามารถสั่งให้ทำงานผ่านทาง logon script ได้
2. การรัน Diskpart.exe ที่ command prompt ซึ่งจะได้ Diskpart prompt (DISKPART>)แล้วจึงเลือกรันคำสั่งที่ต้องการ ไม่สามารถใช้านผ่านทาง logon script ได้
ตัวอย่าง: วิธีการใช้งาน Diskpart.exe เพื่อทำการฟอร์แมต partition ที่ถูกซ่อนไว้
1. สร้างไฟล์ Text โดยเปิดโปรแกรม Notepad แล้วพิมพ์คำสั่งดังนี้ ทีละบรรทัด เมื่อเสร็จแต่ละบรรทัดให้กด Enter
select volume 2
assign letter=T
format T: /Q /FS:FAT32
เสร็จแล้วทำการบันทึกไฟล์ลงในโฟลเดอร์ C:\admin โดยตั้งชื่อว่า todo.txt
2.สร้างไฟล์ Batch โดยเปิดโปรแกรม Notepad แล้วพิมพ์คำสั่งดังนี้ เสร็จแล้วกด Enter
diskpart /s C:\admin\todo.txt
เสร็จแล้วทำการบันทึกไฟล์ลงในโฟลเดอร์ C:\admin โดยตั้งชื่อว่า "todo.bat" (อย่าลืมเครื่องหมายคำพูด เพราะจะเป็นการบอกให้ Notepad ทำการบันทึกไฟล์เป็นนามสกุล .bat แทน .txt)
3. ทดลองการทำงานโดยคลิกเปิด command prompt แล้วรันไฟล์ todo.bat
4. ตรวจสอบการทำงานโดยเปิด My Computer หากการทำงานถูกต้อง จะได้ไดรฟ์ T:
คำอธิบายการทำงาน:
1. select volume 2 คือ เลือก partition ที่ 2 ในการทำงาน
2. assign letter:T กำหนดให้เป็นไดรฟ์ T:
3. format T: /Q /FS:FAT32 ทำการฟอร์แมตไดรฟ์ T: โดยไฟล์ระบบเป็น FAT32
Tip:
หากต้องการลบหรือซ่อนไดรฟ์ ให้เปลี่ยนคำสั่งในไฟล์ todo.txt จาก assign letter=T เป็น remove letter=T
http://thaiwinadmin.blogspot.com
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
• จัดการ Partition ด้วยคำสั่ง Diskpart.exe : Part 1/2
Hard Disk Partition Management Diskpart.exe
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
ในกรณีที่เราแบ่งฮาร์ดดิสก์ ออกเป็นหลาย partition และเราทำการซ่อนบาง partition ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ limited user สามารถเข้าไปใช้ได้ แต่ในบางครั้งหากเราต้องการ format หรือ ลบบางไฟล์หรือโฟลเดอร์ ใน partition ที่ซ่อนไว้นั้น วิธีการทำค่อยข้างยุ่งยากหากทำแบบ GUI โดยใช้เครื่องมือ Disk Management แต่หากว่าใช้คำสั่ง Diskpart.exe จาก Script แล้ว สามารถลดความยุ่งยากลงไปได้มาก โดยเฉพาะกับ Administrator ที่ต้องจัดการกับเครื่องเป็นจำนวนมาก แค่รวบรวมคำสั่งเป็นไฟล์ batch แล้วสั่งให้รันในขณะที่ทำการ logon ก็สามารถช่วยประหยัดแรงไปได้เยอะ มาเริ่มกันเลยครับ
วิธีการรันเครื่องมือ Diskpart.exe
ก่อนอื่นมาดูวิธีการรันเครื่องมือ Diskpart.exe กันก่อน วิธีการรัน Diskpart.exe ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การรัน Diskpart.exe /s ..\todo.txt ที่ command prompt มีข้อดีคือสามารถสั่งให้ทำงานผ่านทาง logon script ได้
2. การรัน Diskpart.exe ที่ command prompt ซึ่งจะได้ Diskpart prompt (DISKPART>)แล้วจึงเลือกรันคำสั่งที่ต้องการ ไม่สามารถใช้านผ่านทาง logon script ได้
ตัวอย่าง: วิธีการใช้งาน Diskpart.exe เพื่อทำการฟอร์แมต partition ที่ถูกซ่อนไว้
1. สร้างไฟล์ Text โดยเปิดโปรแกรม Notepad แล้วพิมพ์คำสั่งดังนี้ ทีละบรรทัด เมื่อเสร็จแต่ละบรรทัดให้กด Enter
select volume 2
assign letter=T
format T: /Q /FS:FAT32
เสร็จแล้วทำการบันทึกไฟล์ลงในโฟลเดอร์ C:\admin โดยตั้งชื่อว่า todo.txt
2.สร้างไฟล์ Batch โดยเปิดโปรแกรม Notepad แล้วพิมพ์คำสั่งดังนี้ เสร็จแล้วกด Enter
diskpart /s C:\admin\todo.txt
เสร็จแล้วทำการบันทึกไฟล์ลงในโฟลเดอร์ C:\admin โดยตั้งชื่อว่า "todo.bat" (อย่าลืมเครื่องหมายคำพูด เพราะจะเป็นการบอกให้ Notepad ทำการบันทึกไฟล์เป็นนามสกุล .bat แทน .txt)
3. ทดลองการทำงานโดยคลิกเปิด command prompt แล้วรันไฟล์ todo.bat
4. ตรวจสอบการทำงานโดยเปิด My Computer หากการทำงานถูกต้อง จะได้ไดรฟ์ T:
คำอธิบายการทำงาน:
1. select volume 2 คือ เลือก partition ที่ 2 ในการทำงาน
2. assign letter:T กำหนดให้เป็นไดรฟ์ T:
3. format T: /Q /FS:FAT32 ทำการฟอร์แมตไดรฟ์ T: โดยไฟล์ระบบเป็น FAT32
Tip:
หากต้องการลบหรือซ่อนไดรฟ์ ให้เปลี่ยนคำสั่งในไฟล์ todo.txt จาก assign letter=T เป็น remove letter=T
http://thaiwinadmin.blogspot.com
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
• จัดการ Partition ด้วยคำสั่ง Diskpart.exe : Part 1/2
Hard Disk Partition Management Diskpart.exe
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
Thursday, May 17, 2007
Tweak Windows XP Virtual Memory
การคอนฟิก Virtual Memory ใน Windows XP
Virtual Memory หรือหน่วยความจำเสมือน คือ พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ที่วินโดวส์จองเอาไว้สำหรับใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว ในกรณีเกิดเหตุการณ์หน่วยความจำหลักของระบบ (RAM) เหลือน้อย วินโดวส์ก็จะทำการย้ายข้อมูลบางส่วนลงไปเก็บไว้ในหน่วยความจำเสมือนซึ่งเรียกว่า "Paging file" เพื่อให้มีหน่วยความจำหลักมากพอที่จะทำงานให้แล้วเสร็จ
โดยดีฟอลท์นั้นวินโดวส์จะเป็นตัวจัดการการตั้งค่า Virtual Memory ให้โดยอัตโนมัติ แต่ในบางครั้งค่าที่ระบบกำหนดให้อาจจะไม่เหมาะสมกับการใช้งาน อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามารถทำการกำหนดค่า Virtual Memory ได้เองตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิก Start คลิกขวาที่ My Computer เลือก Properties หรือกดปุ่ม Windows + Break
2. ในหน้าต่าง System Properties คลิกแท็บ Advanced
3. ในหัวข้อ Performance ให้คลิกปุ่ม Settings
4. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Performance Options ในหัวข้อ Virtual Memory ให้คลิกปุ่ม Change
5. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Virtual Memory ให้เลือกเป็น Custom size จากนั้นในช่อง Drive [Volume Label] ให้เลือกไดรฟ์หรือพาร์ติชันที่ต้องการใช้เก็บหน่วยความจำเสมือน แล้วป้อนค่าในช่อง Initial size: และช่อง Maximum size: จากนั้นคลิกปุ่ม Set เสร็จแล้วคลิก OK
คำแนะนำของไมโครซอฟท์ในการตั้งค่า Virtual Memory
ไมโครซอฟท์ได้ให้คำแนะนำในการตั้งค่า Virtual Memory เพื่อให้วินโดวส์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพไว้ดังนี้
1. กำหนดขนาดของ Virtual Memory ให้มีขนาดอย่างน้อย 1.5 เท่าของขนาดของ RAM ที่ติดตั้งบนระบบ
2. หากมีฮาร์ดดิสก์ติดตั้งมากกว่าหนึ่งตัว (ไม่ใช้ฮาร์ดดิสก์ตัวเดียวแต่แบ่งออกเป้นหลายพาร์ติชัน) ควรเพิ่ม Virtual Memory บนฮาร์ดดิสก์ตัวที่สองหรือสามด้วยจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. กำหนดค่า Initial size ให้เท่ากับค่า Maximum size
6. วินโดวส์จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ System Control Panel Applet เพื่อแจ้งให้ทราบว่า "ต้องทำการรีสตาร์ทระบบเพื่อให้การตั้งค่ามีผล" ให้คลิก OK
7. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Performance Options ให้คลิก OK
8. ในหน้าต่าง System Properties ให้คลิก OK
9. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ System Settings Change ให้คลิก Yes
เมื่อวินโดวส์ทำการรีสตาร์ทแล้วเสร็จ ค่า Virtual Memory ของระบบจะเปลี่ยนเป็นค่าที่กำหนดในขั้นตอนที่ 5
© 2007, All Rights Reserved.
Virtual Memory หรือหน่วยความจำเสมือน คือ พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ที่วินโดวส์จองเอาไว้สำหรับใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว ในกรณีเกิดเหตุการณ์หน่วยความจำหลักของระบบ (RAM) เหลือน้อย วินโดวส์ก็จะทำการย้ายข้อมูลบางส่วนลงไปเก็บไว้ในหน่วยความจำเสมือนซึ่งเรียกว่า "Paging file" เพื่อให้มีหน่วยความจำหลักมากพอที่จะทำงานให้แล้วเสร็จ
โดยดีฟอลท์นั้นวินโดวส์จะเป็นตัวจัดการการตั้งค่า Virtual Memory ให้โดยอัตโนมัติ แต่ในบางครั้งค่าที่ระบบกำหนดให้อาจจะไม่เหมาะสมกับการใช้งาน อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามารถทำการกำหนดค่า Virtual Memory ได้เองตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิก Start คลิกขวาที่ My Computer เลือก Properties หรือกดปุ่ม Windows + Break
2. ในหน้าต่าง System Properties คลิกแท็บ Advanced
3. ในหัวข้อ Performance ให้คลิกปุ่ม Settings
4. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Performance Options ในหัวข้อ Virtual Memory ให้คลิกปุ่ม Change
5. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Virtual Memory ให้เลือกเป็น Custom size จากนั้นในช่อง Drive [Volume Label] ให้เลือกไดรฟ์หรือพาร์ติชันที่ต้องการใช้เก็บหน่วยความจำเสมือน แล้วป้อนค่าในช่อง Initial size: และช่อง Maximum size: จากนั้นคลิกปุ่ม Set เสร็จแล้วคลิก OK
คำแนะนำของไมโครซอฟท์ในการตั้งค่า Virtual Memory
ไมโครซอฟท์ได้ให้คำแนะนำในการตั้งค่า Virtual Memory เพื่อให้วินโดวส์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพไว้ดังนี้
1. กำหนดขนาดของ Virtual Memory ให้มีขนาดอย่างน้อย 1.5 เท่าของขนาดของ RAM ที่ติดตั้งบนระบบ
2. หากมีฮาร์ดดิสก์ติดตั้งมากกว่าหนึ่งตัว (ไม่ใช้ฮาร์ดดิสก์ตัวเดียวแต่แบ่งออกเป้นหลายพาร์ติชัน) ควรเพิ่ม Virtual Memory บนฮาร์ดดิสก์ตัวที่สองหรือสามด้วยจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. กำหนดค่า Initial size ให้เท่ากับค่า Maximum size
6. วินโดวส์จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ System Control Panel Applet เพื่อแจ้งให้ทราบว่า "ต้องทำการรีสตาร์ทระบบเพื่อให้การตั้งค่ามีผล" ให้คลิก OK
7. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Performance Options ให้คลิก OK
8. ในหน้าต่าง System Properties ให้คลิก OK
9. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ System Settings Change ให้คลิก Yes
เมื่อวินโดวส์ทำการรีสตาร์ทแล้วเสร็จ ค่า Virtual Memory ของระบบจะเปลี่ยนเป็นค่าที่กำหนดในขั้นตอนที่ 5
© 2007, All Rights Reserved.
Sunday, May 13, 2007
Microsoft Virtual PC 2007 Virtual Machine Settings - Part 3/4
แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 4 กันยายน 2550
Virtual Machine Settings
เมื่อทำการสร้าง Virtual Machine เสร็จเรียบร้อยแล้ว หากต้องการที่จะทำการปรับแต่งการตั้งค่าคอนฟิกต่างๆ ของ Virtual Machine ที่สร้างขึ้นมานั้น ตัวอย่างเช่น ได้ทำการเพิ่ม RAM ของเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น แล้วต้องการเพิ่ม memory ให้กับ Virtual Machine ก็สามารถทำได้ โดยขั้นตอนการปรับแต่งการตั้งค่าคอนฟิกต่างๆ ของเวอร์ชวลแมชีน มีดังนี้
1. ทำการเปิดโปรแกรม Virtual PC Console ขึ้นมาดังรูปที่ 1. แล้วคลิกเลือก Virtual Machine ที่ต้องการ ในที่นี้จะเลือก XPSP2 ซึ่งเป็นเวอร์ชวลแมชีนที่สร้างในขั้นตอนที่ 2. Create New Virtual Machine (สำหรับท่านที่สร้าง Virtual Machine ในชื่ออื่นๆ ก็ให้เลือกตามความเหมาะสมครับ)
รูปที่ 1. Virtual PC Console
2. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Settings for XPSP2 หากต้องการเปลี่ยนชื่อเวอร์ชวลแมชีน ให้คลิกเลือกที่ File name แล้วใส่ชื่อที่ต้องการในช่องหลัง File name ดังรูปที่ 2.
รูปที่ 2. Virtual Machine File name
3. หากต้องการเปลี่ยนการตั้งค่า Memory ของเวอร์ชวลแมชีน ให้คลิกเลือกที่ Memory แล้วใส่ค่าที่ต้องการในช่องหลัง RAM หรือปรับสไลด์บาร์ ดังรูปที่ 3.
รูปที่ 3. Virtual Machine Memory
4. หากต้องการเปลี่ยนการตั้งค่า Hard Disk ของเวอร์ชวลแมชีน ให้คลิกเลือกที่ Hard Disk แล้วบราวส์หาไฟล์ที่ต้องการ ดังรูปที่ 4.
รูปที่ 4. Virtual Machine Hard Disk
5. หากต้องการเปลี่ยนการตั้งค่าระบบเครือข่ายของเวอร์ชวลแมชีน ให้คลิกเลือกที่ Networking แล้วทำการกำหนดค่าที่ต้องการ ดังรูปที่ 5.
รูปที่ 5. Virtual Machine Network
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
Microsoft Virtual PC 2007
Virtual Machine Additions
ไลเซนส์การใช้งาน Microsoft Virtual PC 2007
Microsoft Virtual PC 2007 1/4 Installation
Microsoft Virtual PC 2007 2/4 Create New Virtual Machine
Microsoft Virtual PC 2007 3/4 Virtual machine settings
Microsoft Virtual PC 2007 4/4 Windows XP as Guest OS
MSVPC2007 Microsoft Virtual PC 2007 VirtualPC2007 VirtualPC 2007 VPC2007 VPC 2007 Virtualization
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
Virtual Machine Settings
เมื่อทำการสร้าง Virtual Machine เสร็จเรียบร้อยแล้ว หากต้องการที่จะทำการปรับแต่งการตั้งค่าคอนฟิกต่างๆ ของ Virtual Machine ที่สร้างขึ้นมานั้น ตัวอย่างเช่น ได้ทำการเพิ่ม RAM ของเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น แล้วต้องการเพิ่ม memory ให้กับ Virtual Machine ก็สามารถทำได้ โดยขั้นตอนการปรับแต่งการตั้งค่าคอนฟิกต่างๆ ของเวอร์ชวลแมชีน มีดังนี้
1. ทำการเปิดโปรแกรม Virtual PC Console ขึ้นมาดังรูปที่ 1. แล้วคลิกเลือก Virtual Machine ที่ต้องการ ในที่นี้จะเลือก XPSP2 ซึ่งเป็นเวอร์ชวลแมชีนที่สร้างในขั้นตอนที่ 2. Create New Virtual Machine (สำหรับท่านที่สร้าง Virtual Machine ในชื่ออื่นๆ ก็ให้เลือกตามความเหมาะสมครับ)
รูปที่ 1. Virtual PC Console
2. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Settings for XPSP2 หากต้องการเปลี่ยนชื่อเวอร์ชวลแมชีน ให้คลิกเลือกที่ File name แล้วใส่ชื่อที่ต้องการในช่องหลัง File name ดังรูปที่ 2.
รูปที่ 2. Virtual Machine File name
3. หากต้องการเปลี่ยนการตั้งค่า Memory ของเวอร์ชวลแมชีน ให้คลิกเลือกที่ Memory แล้วใส่ค่าที่ต้องการในช่องหลัง RAM หรือปรับสไลด์บาร์ ดังรูปที่ 3.
รูปที่ 3. Virtual Machine Memory
4. หากต้องการเปลี่ยนการตั้งค่า Hard Disk ของเวอร์ชวลแมชีน ให้คลิกเลือกที่ Hard Disk แล้วบราวส์หาไฟล์ที่ต้องการ ดังรูปที่ 4.
รูปที่ 4. Virtual Machine Hard Disk
5. หากต้องการเปลี่ยนการตั้งค่าระบบเครือข่ายของเวอร์ชวลแมชีน ให้คลิกเลือกที่ Networking แล้วทำการกำหนดค่าที่ต้องการ ดังรูปที่ 5.
รูปที่ 5. Virtual Machine Network
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
Microsoft Virtual PC 2007
Virtual Machine Additions
ไลเซนส์การใช้งาน Microsoft Virtual PC 2007
Microsoft Virtual PC 2007 1/4 Installation
Microsoft Virtual PC 2007 2/4 Create New Virtual Machine
Microsoft Virtual PC 2007 3/4 Virtual machine settings
Microsoft Virtual PC 2007 4/4 Windows XP as Guest OS
MSVPC2007 Microsoft Virtual PC 2007 VirtualPC2007 VirtualPC 2007 VPC2007 VPC 2007 Virtualization
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
Saturday, May 12, 2007
Install multiple updates with one reboot
ติดตั้ง Microsoft Update หลายตัวโดยทำการรีบูตเพียงครั้งเดียว
การติดตั้ง Update ของวินโดวส์หรือโปรแกรมอื่นๆ ของไมโครซอฟท์เป็นหนึ่งในงานหลักของผู้ดูและระบบคอมพิวเตอร์ วัตถประสงค์ก็เพื่อปิดช่องโหว่ความปลอดภัยต่างๆ อันจะนำมาซึ่งการถูกแฮกหรือโจมตีโดยมัลแวร์ โดยวิธีการติดตั้งอัพเดทโดยทั่วไปนั้นมีอยูหลายวิธีเช่น ใช้ Autonatic Update ในคอนโทรลพาเนล , ใช้ Windows Update ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ใช้ WSUS ขององค์กร หรือติดตั้งแบบแมนนวล เป็นต้น บทความนี้จะมุ่งไปที่การติดตั้งแบบแมนนวลเป็นหลัก
สำหรับในการติดตั้ง Update แบบแมนนวลนั้น Update บางตัวจำเป็นต้องรีบูตเครื่องเพื่อให้การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น ถ้าทำการติดตั้ง Update 5 ตัว และมี 3 ตัวที่ต้องทำการรีบูตเครื่อง ก็ต้องติดตั้ง Update ทีละตัวและต้องรีบูต 3 รอบ ซึ่งไม่ค่อยจะสะดวกสักเท่าไหร่ เพื่อแก้ปัญหานี้มี 2 วิธี แบ่งตามช่วงเวลาที่อัพเดทออก ดังนี้
1. Update ของ Windows NT 4.0, Windows 2000 และ Windows XP ที่ออกหลังเดือนธันวาคม 2545
สามารถทำการติดตั้ง Update หลายตัวโดยรีบูตเครื่องครั้งเดียวโดยใช้ออปชัน /z
การติดตั้ง Update หลายๆ ตัวในครั้งเดียวกัน
• รันโปรแกรมติดตั้ง Update แต่ละตัวด้วยออปชัน /z ซึ่งจะเป็นการสั่งให้ไม่ต้องรีบูตหลังการติดตั้ง
• หลังจากทำการติดตั้ง Update เสร็จทุกตัวแล้วให้ทำการรีบูตเครื่องเพื่อให้การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์
นอกจากนี้ เพื่อให้การติดตั้งตามวิธีข้างต้นทำได้ง่ายขึ้น สามารถเขียน batch (.bat) ไฟล์ สำหรับรันคำสั่ง ดังนี้
@echo off
setlocal
set PATHTOFIXES=E:\hotfix
%PATHTOFIXES%\Q123456_w2k_sp4_x86.exe /Z /M
%PATHTOFIXES%\Q123321_w2k_sp4_x86.exe /Z /M
%PATHTOFIXES%\Q123789_w2k_sp4_x86.exe /Z /M
2. Update ของ Windows NT 4.0, Windows 2000 และ Windows XP ที่ออกก่อนเดือนธันวาคม 2545
ไมโครซอฟท์ได้ออกเครื่องมือที่ชื่อว่า QChain.exe เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลระบบในการติดตั้ง Update โดย QChain.exe นั้นสามารถติดตั้ง Update ได้หลายตัว โดยไม่ต้องรีบูตทุกๆ ครั้ง หลังการติดตั้ง Update แต่ละตัว โดยทำการรีบูตเพียงแค่ครั้งเดียวหลังการติดตั้ง Update ทุกตั้งเสร็จ
สามารถดาวน์โหลด QChain.exe ได้ที่ http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=3C64D889-74F1-490B-A2FB-F15671A3B60C&displaylang=en&displaylang=en
ข้อดีของการติดตั้ง Update โดยใช้ QChain.exe คือ
• ลดเวลา Downtime ของเซิร์ฟเวอร์ลง เนื่อวจากไม่ต้องรีบูตทุกครั้งที่ติดตั้ง Update
• ลดภาระของผู้ดูแลระบบ เนื่องจากการติดตั้ง Update ทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น
• สามารถทำงานได้บนระบบ Windows 2000 และ Windows NT 4.0 เท่านั้น
การติดตั้ง Update หลายๆ ตัวในครั้งเดียวกัน
• รันโปรแกรมติดตั้ง Update แต่ละตัวด้วยออปชัน -z ซึ่งจะเป็นการสั่งให้ไม่ต้องรีบูตหลังการติดตั้ง
• รันโปรแกรมติดตั้ง Update ทุกตัวเสร็จแล้ว ให้รันคำสั่ง QChain.exe
• ทำการรีบูตเครื่องเพื่อให้การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์
นอกจากนี้ เพื่อให้การติดตั้งตามวิธีข้างต้นทำได้ง่ายขึ้น สามารถเขียน batch (.bat) ไฟล์ สำหรับรันคำสั่ง ดังนี้
@echo off
setlocal
set PATHTOFIXES=some path
%PATHTOFIXES%\Q123456_w2k_sp2_x86.exe -z -m
%PATHTOFIXES%\Q123321_w2k_sp2_x86.exe -z -m
%PATHTOFIXES%\Q123789_w2k_sp2_x86.exe -z -m
%PATHTOFIXES%\qchain.exe
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
• http://support.microsoft.com/kb/296861
© 2007, All Rights Reserved.
การติดตั้ง Update ของวินโดวส์หรือโปรแกรมอื่นๆ ของไมโครซอฟท์เป็นหนึ่งในงานหลักของผู้ดูและระบบคอมพิวเตอร์ วัตถประสงค์ก็เพื่อปิดช่องโหว่ความปลอดภัยต่างๆ อันจะนำมาซึ่งการถูกแฮกหรือโจมตีโดยมัลแวร์ โดยวิธีการติดตั้งอัพเดทโดยทั่วไปนั้นมีอยูหลายวิธีเช่น ใช้ Autonatic Update ในคอนโทรลพาเนล , ใช้ Windows Update ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ใช้ WSUS ขององค์กร หรือติดตั้งแบบแมนนวล เป็นต้น บทความนี้จะมุ่งไปที่การติดตั้งแบบแมนนวลเป็นหลัก
สำหรับในการติดตั้ง Update แบบแมนนวลนั้น Update บางตัวจำเป็นต้องรีบูตเครื่องเพื่อให้การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น ถ้าทำการติดตั้ง Update 5 ตัว และมี 3 ตัวที่ต้องทำการรีบูตเครื่อง ก็ต้องติดตั้ง Update ทีละตัวและต้องรีบูต 3 รอบ ซึ่งไม่ค่อยจะสะดวกสักเท่าไหร่ เพื่อแก้ปัญหานี้มี 2 วิธี แบ่งตามช่วงเวลาที่อัพเดทออก ดังนี้
1. Update ของ Windows NT 4.0, Windows 2000 และ Windows XP ที่ออกหลังเดือนธันวาคม 2545
สามารถทำการติดตั้ง Update หลายตัวโดยรีบูตเครื่องครั้งเดียวโดยใช้ออปชัน /z
การติดตั้ง Update หลายๆ ตัวในครั้งเดียวกัน
• รันโปรแกรมติดตั้ง Update แต่ละตัวด้วยออปชัน /z ซึ่งจะเป็นการสั่งให้ไม่ต้องรีบูตหลังการติดตั้ง
• หลังจากทำการติดตั้ง Update เสร็จทุกตัวแล้วให้ทำการรีบูตเครื่องเพื่อให้การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์
นอกจากนี้ เพื่อให้การติดตั้งตามวิธีข้างต้นทำได้ง่ายขึ้น สามารถเขียน batch (.bat) ไฟล์ สำหรับรันคำสั่ง ดังนี้
@echo off
setlocal
set PATHTOFIXES=E:\hotfix
%PATHTOFIXES%\Q123456_w2k_sp4_x86.exe /Z /M
%PATHTOFIXES%\Q123321_w2k_sp4_x86.exe /Z /M
%PATHTOFIXES%\Q123789_w2k_sp4_x86.exe /Z /M
2. Update ของ Windows NT 4.0, Windows 2000 และ Windows XP ที่ออกก่อนเดือนธันวาคม 2545
ไมโครซอฟท์ได้ออกเครื่องมือที่ชื่อว่า QChain.exe เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลระบบในการติดตั้ง Update โดย QChain.exe นั้นสามารถติดตั้ง Update ได้หลายตัว โดยไม่ต้องรีบูตทุกๆ ครั้ง หลังการติดตั้ง Update แต่ละตัว โดยทำการรีบูตเพียงแค่ครั้งเดียวหลังการติดตั้ง Update ทุกตั้งเสร็จ
สามารถดาวน์โหลด QChain.exe ได้ที่ http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=3C64D889-74F1-490B-A2FB-F15671A3B60C&displaylang=en&displaylang=en
ข้อดีของการติดตั้ง Update โดยใช้ QChain.exe คือ
• ลดเวลา Downtime ของเซิร์ฟเวอร์ลง เนื่อวจากไม่ต้องรีบูตทุกครั้งที่ติดตั้ง Update
• ลดภาระของผู้ดูแลระบบ เนื่องจากการติดตั้ง Update ทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น
• สามารถทำงานได้บนระบบ Windows 2000 และ Windows NT 4.0 เท่านั้น
การติดตั้ง Update หลายๆ ตัวในครั้งเดียวกัน
• รันโปรแกรมติดตั้ง Update แต่ละตัวด้วยออปชัน -z ซึ่งจะเป็นการสั่งให้ไม่ต้องรีบูตหลังการติดตั้ง
• รันโปรแกรมติดตั้ง Update ทุกตัวเสร็จแล้ว ให้รันคำสั่ง QChain.exe
• ทำการรีบูตเครื่องเพื่อให้การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์
นอกจากนี้ เพื่อให้การติดตั้งตามวิธีข้างต้นทำได้ง่ายขึ้น สามารถเขียน batch (.bat) ไฟล์ สำหรับรันคำสั่ง ดังนี้
@echo off
setlocal
set PATHTOFIXES=some path
%PATHTOFIXES%\Q123456_w2k_sp2_x86.exe -z -m
%PATHTOFIXES%\Q123321_w2k_sp2_x86.exe -z -m
%PATHTOFIXES%\Q123789_w2k_sp2_x86.exe -z -m
%PATHTOFIXES%\qchain.exe
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
• http://support.microsoft.com/kb/296861
© 2007, All Rights Reserved.