ไมโครซอฟท์ประกาศออกอัปเดทความปลอดภัยเดือนเมษายน 2557 จำนวน 4 ตัวรวมถึงอัปเดทสำหรับแก้ช่องโหว่ความปลอดภัย Zero-Day ใน Word โดยจะออกอัปเดทเหล่านี้ในวันอังคารที่ 8 ที่จะถึงนี้
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ไมโครซอฟท์ประกาศออกอัปเดทความปลอดภัย (Security Update หรือ Patch Tuesday) เดือนเมษายน 2557 จำนวน 4 ตัว สำหรับปรับปรุงช่องโหว่ความปลอดภัยใน Windows, Office และ Internet Explorer (IE) โดยมีอัปเดท 2 ตัวสำหรับปรับปรุงช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงวิกฤต และอีก 2 ตัวสำหรับปรับปรุงช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรงสูง สำหรับรายชื่อซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่จะได้รับผลกระทบนั้นสามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ Microsoft Security TechCenter
โดยในอัปเดทความปลอดภัยเดือนนี้จะมีอัปเดท MS14-017 สำหรับใช้ปิดช่องโหว่ความปลอดภัยใน Word ซึ่งปัจจุบันมีรายงานการโจมตี (ในวงจำกัด) ผู้ใช้ Word 2010 เกิดขึ้นแล้ว โดยไมโครซอฟท์ได้ออก Fix it 51010 เพื่อใช้ป้องกันการโจมตีชั่วคราว อ่านรายละเอียด
ทั้งนี้ อัปเดทความปลอดภัยเดือนเมษายนนี้จะเป็นเดือนสุดท้ายของการออกอัปเดทสำหรับ Windows XP และ Office 2003 เนื่องจากการสนับสนุนซอฟต์แวร์ทั้ง 2 ตัวจะหมดในวันที่ 8 เมษายนที่จะถึงนี้ (อ่านเพิ่มเติม) นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์จะออก Windows 8.1 Update ให้แก่ผู้ใช้ Windows 8.1 ในวันดังกล่าวอีกด้วย (อ่านรายละเอียด)
Executive Summaries (เครดิต: Microsoft)
การออกอัปเดทและการอัปเดทระบบ
ไมโครซอฟท์จะออกอัปเดทเหล่านี้ในวันอังคารที่ 8 เมษายน 2557 (ตรงกับวันพุธที่ 9 ตามเวลาในประเทศไทย) ผู้ใช้ทั่วไปสามารถทำการอัปเดทผ่านทางอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ Microsoft Update หรือทำการอัปเดทผ่านทางเซิร์ฟเวอร์ WSUS (สำหรับผู้ใช้แบบองค์กร) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2557 เป็นต้นไป
ความเห็นของผู้เขียน
ผู้ใช้ Word เวอร์ชันที่ได้รับผลกระทบควรเตรียมแผนการติดตั้งอัปเดทและทำการอัปเดทระบบให้ เรียบร้อยในทันทีที่ทำได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Microsoft Security Center
Microsoft Security Response Center
Copyright © 2014 TWA Blog. All Rights Reserved.
2 comments:
windows xp มีคนใช้น้อยลงแล้วใช้windows 7กันเป็นส่วนมาก ส่วนตัวผมใช้ทั้ง windows 7-8
ที่ทำงานผมยังใช้ Windows 7 เป็นหลัก ส่วนตัวผมใช้พีซี Windows 7 แท็บเล็ต Windows 8 ครับ
ป.ล. ในอนาคต Windows 7 คงมีชะตา(กรรม)เดียวกับ Windows XP ปัจจุบัน
Post a Comment
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML