สำหรับคุณสมบัติ Hyper-V บน Windows 8 นั้นจะเป็นเวอร์ชัน 3.0 ซึ่งใช้พื้นฐานการทำงานเดียวกันกับ Hyper-V บน Windows Server 2012 ซึ่ง Hyper-V 3.0 ได้รับการปรับปรุงให้มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น โดยคุณสมบัติ Hyper-V จะมาแทนที่ Windows Virtual PC ที่ใช้งาน Windows 7
หมายเหตุ: Client Hyper-V เป็นชื่อที่ไมโครซอฟท์ใช้เรียก Hyper-V บน Windows 8 ในบทความนี้ขอเรียกสั้นๆ ว่า "Hyper-V" เพื่อความสะดวก
ความต้องการระบบ
Hyper-V บน Windows 8 ความต้องการระบบฮาร์ดแวร์ดังนี้
- ซีพียู 64-บิท และมีเทคโนโลยี Second Level Address Translation (SLAT)
- โฮสต์คอมพิวเตอร์ต้องการหน่วยความจำขั้นต่ำ 4GB และเพิ่มขึ้นตามความต้องการของคอมพิวเตอร์เสมือน (คอมพิวเตอร์เสมือนสนับสนุนหน่วยความจำสูงสุด 512GB)
Hyper-V บน Windows 8 ความต้องการระบบซอฟต์แวร์ดังนี้
- สนับสนุนระบบปฏิบัติการโฮสต์ Windows 8 Consumer Preview
- สนับสนุนระบบปฏิบัติการเกสต์ทั้งแบบ 32-บิท และ 64-บิท
สำหรับบทความนี้จะเป็นการสาธิตการเปิดใช้งานคุณสมบัติ Hyper-V บน Windows 8 Release Preview (วิธีการนี้สามารถใช้ได้กับ Windows 8 RTM) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. การกดปุ่ม Windows + X หรือคลิกเม้าส์ขวาบริเวณมุมซ้ายล่างของหน้าจอจากนั้นคลิก Programs and Features ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1
2. บนหน้าต่าง Programs and Features ให้คลิกลิงก์ Turn Windows features on or off ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2
3. บนหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Windows Features ให้ติ๊กเลือก Hyper-V ดังภาพที่ 3 เสร็จแล้วคลิก OK รอจนการติดตั้งแล้วเสร็จ จากนั้นให้คลิก Restart now (ภาพที่ 4) เพื่อให้การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์
ภาพที่ 3
ภาพที่ 4
หลังจากทำการติดตั้งคุณสมบัติ Hyper-V แล้วเสร็จ Windows จะทำการสร้างไทล์ Hyper-V Manager บนหน้า Start ให้โดยอัตโนมัติดังภาพที่ 5
ภาพที่ 5
การจัดการ Hyper-V บน Windows 8
การจัดการ Hyper-V บน Windows 8 ทำได้โดยการใช้เครื่องมือ Hyper-V Manager ซึ่งสามารถเปิดได้โดยการดับเบิลคลิกไทล์ภาพที่ 5 จากนั้นจะได้หน้าต่าง Hyper-V Manager ดังภาพที่ 6
ภาพที่ 6
จากนั้นบนหน้าต่าง Hyper-V Manager ให้คลิกเมนู Action แล้วคลิก Hyper-V Settings ดังภาพที่ 7
ทิป: สามารถเปิด Hyper-V Settings โดยการคลิกขวาบนคอมพิวเตอร์ที่รัน Hyper-V แล้วคลิก Hyper-V Settings ก็ได้เช่นกัน
ภาพที่ 7
บนหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Hyper-V Settings for Computer_Name ให้คลิกหัวข้อที่ต้องการจากคอลัมน์ด้านซ้ายมือ (ภาพที่ 8) เช่น Virtual Hard Disks หรือ Virtual Machines เป็นต้น จากนั้นให้ทำการตั้งค่าตามความต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK
ภาพที่ 8
สำหรับการตั้งค่าระบบเครือข่ายเสมือนนั้นให้คลิกเมนู Action (ภาพที่ 7) แล้วคลิก Virtual Switch Manager จะปรากฏหน้า Virtual Switch Manager for Computer_Name ดังภาพที่ 9
ภาพที่ 9
ในคอลัมน์ด้านซ้ายมือให้คลิก New virtual network switch ส่วนในคอลัมน์ด้านขวามือให้คลิกเลือก External จากนั้นคลิก Create virtual switch (ภาพที่ 9)
ในหน้า Virtual Switch Manager for Computer_Name ดังภาพที่ 10 ในคอลัมน์ด้านขวามือให้ใส่ชื่อ Virtual Switch ที่ต้องการในช่อง Name แล้วใส่รายละเอียดในช่อง Notes (อ็อปชัน) ในส่วน Connection type: ให้เลือกการ์ดเน็ตเวิร์คที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK โดย Windows จะแจ้งเตือนว่าระบบเครือข่ายจะใช้งานไม่ได้ชั่วคราวดังภาพที่ 11 ให้คลิก Yes เพื่อยืนยันการทำงาน
ภาพที่ 10
ภาพที่ 11
Virtual SAN Manager
Hyper-V บน Windows 8 สามารถรองรับการใช้งานร่วมกับระบบ SAN ได้ (ต้องมีระบบฮาร์แวร์รองรับ) โดยการตั้งค่าระบบ SAN ทำได้โดยดารคลิกเมนู Action (ภาพที่ 7) แล้วคลิก Virtual SAN Manager จะปรากฏหน้า Virtual SAN Manager for Computer_Name ดังภาพที่ 12 จากนั้นคลิก Create แล้วดำเนินการตามคำสั่งจนแล้วเสร็จ (ในบทความนี้ไม่ได้ทำการทดลอง)
ภาพที่ 12
วิธีการเปิด Hyper-V Manager
การเปิดเครื่องมือ Hyper-V Manager นั้นนอกจากเปิดจากไทล์บนหน้า Start แล้วยังสามารถเปิดโดยการ Search ตามขั้นตอนดังนี้
1. ในหน้า Start หรือ Desktop ให้เลื่อนเคอร์เซอร์เม้าส์ไปบริเวณมุมขวาบนหรือมุมขวาล่างของหน้า Start หรือหน้าต่าง Desktop หรือกดปุ่ม Windows + C แล้วคลิก Search
2. ในหน้า Search ให้คลิก Apps จากนั้นพิมพ์ hyper ดังภาพที่ 13 จากนั้นคลิกบน Hyper-V Manager ดังภาพที่ 14 จะได้หน้าต่าง Hyper-V Manager ดังภาพที่ 6
ภาพที่ 13
ภาพที่ 14
ความเห็นผู้เขียน
ผู้เขียนเองค่อนข้างผิดหวังและไม่เคยนำคุณสมบัติ Windows Virtual PC ของ Windows 7 มาใช้ในการทำงานจริงเนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ ดังนั้นจึงรู้สึกดีใจเมื่อได้ทราบข่าวว่าไมโครซอฟท์จะนำ Client Hyper-V ซึ่งใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับ Hyper-V ที่ใช้บนระบบ Windows Server มาบรรจุลงใน Windows 8 แทน Windows Virtual PC และหลังจากได้ทดสอบ Hyper-V บน Windows 8 RP ก็ได้ผลที่น่าพอใจ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วคิดว่า Hyper-V บน Windows 8 สามารถทำงานได้เทียบเท่าและดีกว่าซอฟต์แวร์ฟรีอย่างเช่น VirtualBox, VMware Player และด้วยคุณสมบัติ Dynamic Memory น่าจะทำให้ Windows 8 Hyper-V สามารถแข่งขันกับ VMware Workstation ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
ขั้นตอนต่อไป: สำหรับวิธีการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนบน Windows 8 Hyper-V
หมายเหตุ: สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ Windows Virtual PC ได้ ที่นี่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Copyright © 2012 TWA Blog. All Rights Reserved.
No comments:
Post a Comment
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML