Hyper-V 3.0 ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป้าหมายในการช่วยองค์กรยกระดับระบบเสมือนไปสู่เป็นระบบไพรเวทคลาวด์เซอร์วิส (Private Cloud Services) โดยมีคุณสมบัติใหม่ดังนี้
Scalability
Hyper-V 3.0 ได้รับการปรับปรุงให้สามารถรองรับการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก (เท่ากับหรือมากกว่าที่ VMware ทำได้) ดังนี้
- สามารถรองรับโปรเซสเซอร์แบบลอจิคัลได้สูงสุด 160 ตัวต่อโฮสต์
- สามารถรองรับหน่วยความจำได้สูงสุด 2 TB ต่อโฮสต์
- สามารถรองรับโปรเซสเซอร์แบบเสมือนได้สูงสุด 32 ต่อเวอร์ชวลแมชชีน
- สามารถรองรับความจำได้สูงสุด 512 GB ต่อเวอร์ชวลแมชชีน
- รองรับ VHDX ซึ่งเป็นรูปแบบฮาร์ดดิสก์เสมือนแบบใหม่ได้สูงสุด 16 TB ต่อฮาร์ดดิสก์เสมือนและการรองรับฮาร์ดิสก์รุ่นใหม่ที่มีดิสก์เซ็กเตอร์ขนาดใหญ่
* Hyper-V 3.0 สามารถผ่านดิสก์ได้โดยไม่มีขีดจำกัดสูงสุดยกเว้นข้อจำกัดการรองรับโดยระบบปฏิบัติการเกสต์ (Guest OS)
** Hyper-V 3.0 สามารถทำการไมเกรตพร้อมกันไม่มีขีดจำกัดสูงสุดยกเว้นข้อจำกัดของแบนด์วิธ
Client Hyper-V
ข่าวดีสำหรับผู้ที่ผิดหวังกับ Windows Virtual PC ใน Windows 7 เนื่องจากไมโครซอฟท์ได้บรรจุเทคโนโลยี Hyper-V ลงใน Windows 8 ในชื่อ Client Hyper-V ทำให้ผู้ใช้เครื่องพีซี Windows 8 สามารถใช้งานเวอร์ชวลไลเซชันด้วยเทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้บนบนเครื่องแม่ข่าย
สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ Windows Virtual PC ได้ ที่นี่
Hyper-V module for Windows PowerShell
โมดูล Hyper-V สำหรับ Windows PowerShell จะมาพร้อมกับบิลด์อิน cmdlets มากกว่า 160 ชุด สำหรับใช้จัดการ Hyper-V, คอมพิวเตอร์เสมือน, และฮาร์ดดิสก์เสมือน (Virtual Hard Disks) ซึ่งช่วยให้การทำงานต่าง ๆ ในแบบอัตโนมัติได้ง่ายกว่าใน Hyper-V เวอร์ชันก่อนหน้า โดยชื่อ cmdlet จะสอดคล้องกับ cmdlet ของ Windows PowerShell ทำให้ง่ายในการเรียนรู้และใช้งานกับผู้ที่คุ้นเคยกับ Windows PowerShell
Hyper-V Replica
Hyper-V Replica ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถทำการเรพพลิเคตคอมพิวเตอร์เสมือนระหว่างระบบเก็บข้อมูล (Storage Systems), คลัสเตอร์ (Clusters) และศูนย์ข้อมูล (Data centers) ใน 2 ไซต์ได้ ทำให้การทำโซลูชัน Business continuity และ Disaster recovery สำหรับคอมพิวเตอร์เสมือนทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายถูกลง
Resource metering
Resource metering ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถติดตามและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โปรเซสเซอร์กายภาพ (Physical processor), หน่วยความจำ, ตัวเก็บข้อมูล, และระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์เสมือนแต่ละตัวได้ ช่วยให้ทราบจำนวนการใช้ทรัพยากรระบบของคอมพิวเตอร์เสมือนแต่ละตัว และยังช่วยให้มีข้อมูลสำหรับใช้ในการวางแผนหรือมอนิเตอร์การใช้ทรัพยากรของฝ่ายต่าง ๆ หรือผู้ใช้แต่ละคนได้
Simplified authorization
Hyper-V 3.0 มีกลุ่ม Hyper-V Administrators ซึ่งเป็น Local Security Group ช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดการ Hyper-V โดยสามารถเพิ่มผู้ใช้ที่ต้องการให้จัดการ Hyper-V เข้ากลุ่ม Hyper-V Administrators ได้โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกกลุ่ม Local Administrators
SR-IOV
SR-IOV อนุญาตให้ผู้ดูแลระบบสามารถมอบหมายอะแด็ปเตอร์เครือข่ายซึ่งรองรับ Single-root I/O virtualization (SR-IOV) ให้กับคอมพิวเตอร์เสมือนได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยเพิ่มทรูพุธ (Throughput) ให้กับเครือข่ายในขณะที่ลดเวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูล (Network latency) และยังช่วยลดภาระซีพียูในการประมวลผลการจราจรบนเครือข่าย (Network traffic) อีกด้วย
Storage migration
Storage migration ช่วยให้สามารถย้ายฮาร์ดดิสก์เสมือนที่ถูกใช้โดยคอมพิวเตอร์เสมือนไปยังระบบเก็บข้อมูลตัวใหม่ได้โดยไม่ต้องปิดคอมพิวเตอร์เสมือน ทำให้การจัดการระบบเก็บข้อมูล เช่น การอัปเกรด การปิดบำรุงรักษา เป็นต้น ทำได้ง่ายขึ้นและยังลดเวลาดาวน์ไทม์ลงอีกด้วย
Storage on SMB2 file shares
Hyper-V 3.0 สนับสนุนการแชร์ไฟล์แบบ SMB2 เพื่อจัดเตรียมระบบเก็บข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์เสมือน ช่วยให้มีช่องทางใหม่ในการตรียมคอมพิวเตอร์เสมือนบนระบบเก็บข้อมูลที่ใช้งานร่วมกัน โดยไม่ต้องใช้ Storage Area Network (SAN)
Virtual Fibre Channel
Virtual Fibre Channel อนุญาตให้ผู้ดูแลระบบสามารถทำการเชื่อมต่อระบบปฏิบัติการเกสต์บนคอมพิวเตอร์เสมือนกับ Fibre Channel storage ได้โดยตรง ทำให้เป็นไปได้ที่จะทำการจำลองภาระงานและแอพพลิเคชันที่ต้องการการเข้าถึง Fibre Channel-based storage โดยตรงได้ และยังเป็นไปได้ที่จะตั้งค่าคลัสเตอร์ได้โดยตรงจากภายในระบบปฏิบัติการเกสต์ (หรือ Guest Clustering)
Virtual NUMA
ระบบปฏิบัติการเกสต์บนคอมพิวเตอร์เสมือนสนับสนุน Non-Uniform Memory Access (NUMA) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่และแอพพลิเคชันสมรรถนะสูงอย่างเช่น SQL Server โดยการพิจารณา NUMA เมื่อทำการจัดตารางเธรดหรือจัดสรรหน่วยความจำ
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Copyright © 2012 TWA Blog. All Rights Reserved.
No comments:
Post a Comment
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML