บทความนี้จะเป็นการแนะนำและสาธิตวิธีการใช้งานคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มขึ้นใน Firefox 11 ซึ่งออกเวอร์ชันเต็มให้ดาวน์โหลดและอัปเดทอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในเวอร์ชันนี้ที่ที่สังเกตได้และมีผลกับผู้ใช้ทั่วไปมีจำนวน 2 อย่างด้วยกัน คือ เพิ่มการสนับสนุนการไมเกรตบุ๊คมาร์ค (Bookmarks) ประวัติการใช้งาน (History) รหัสผ่าน (Password) และข้อมูลอื่นๆ จากโปรแกรม Google Chrome ของกูเกิล และการเพิ่ม Add-ons เป็นตัวเลือกใน Firefox Sync สำหรับรายละเอียดทั้งหมดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ "Firefox 11 Final"
สนับสนุนการไมเกรตบุ๊คมาร์คจาก Google Chrome
ใน Firefox เวอร์ชันก่อนหน้าเวอร์ชัน 11 นั้น ผู้ใช้สามารถทำการไมเกรตบุ๊คมาร์คและข้อมูลอื่นๆ ได้เฉพาะจาก Internet Explorer ของไมโครซอฟท์เท่านั้น แต่ใน Firefox 11 โมซิลล่าได้เพิ่มการสนับสนุนการไมเกรตบุ๊คมาร์คและข้อมูลอื่นๆ จาก Google Chrome ของกูเกิลขึ้นมา สำหรับวิธีการไมเกรตนั้นสามารถทำได้เมื่อทำการเปิดโปรแกรมครั้งแรกหรือโดยการใช้คำสั่ง Import Data from Another Browser จากเมนู Bookmarks
การไมเกรตข้อมูลจาก Google Chrome
หลังทำการติดตั้ง Firefox 11 แล้วเสร็จและเปิดใช้งานครั้งแรกโปรแกรมจะถามให้ทำการเลือกนำเข้าบุ๊คมาร์ค, ประวัติการใช้งาน, รหัสผ่าน, และข้อมูลอื่นๆ ดังรูปที่ 1 ให้คลิกเลือก Chrome จากนั้นคลิก Next จะปรากฏหน้าต่าง Home Page Selection ดังรูปที่ 2
รูปที่ 1
ในหน้าต่าง Home Page Selection ให้เลือกตัวเลือกที่ต้องการเสร็จแล้วคลิก Next แล้วรอจนการทำงานแล้วเสร็จ
รูปที่ 2
ในกรณีที่ไม่ได้ทำการนำเข้าจาก Google Chrome ในขั้นตอนการเปิดโปรแกรมครั้งแรก สามารถทำการนำเข้าโดยใช้คำสั่ง Import Data from Another Browser จากเมนู Bookmarks ได้โดยคลิกปุ่ม Firefox แล้วคลิกเมนู Bookmark จะปรากฏหน้าต่างดังรูปที่ 3 จากนั้นให้คลิก Import and Backup แล้วเลือกคำสั่ง Import Data from Another Browser จะปรากฏหน้าต่าง Import Settings and Data ดังรูปที่ 4
รูปที่ 3
ในน้าต่าง Import Settings and Data ด้านล่างให้เลือก Chrome จากนั้นคลิก Next จะปรากฏหน้าต่าง Items to Import ดังรูปที่ 5
รูปที่ 4
ในหน้าต่าง Items to Import ดังรูปด้านล่างให้คลิก Next จากนั้นในหน้าต่าง Import Complete ดังรูปที่ 6 ให้คลิก Finish เพื่อจบการนำเข้า
รูปที่ 5
รูปที่ 6
ทั้งนี้ Firefox จะทำการเก็บข้อมูลที่นำเข้าไว้ในโฟลเดอร์ From Google Chrome ซึ่งอยู่ภายใต้ All Bookmarks\Bookmarks Toolbar ดังรูปที่ 7
รูปที่ 7
สนับสนุนการซิงค์ Add-ons
ซิงค์ (Sync) เป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้ผู้ใช้ Firefox ทำการซิงค์ข้อมูลบุ๊คมาร์ค, ประวัติการใช้งาน, แอดเดรสบาร์, รหัสผ่าน, ข้อมูล Form-fill และแท็บที่เปิด ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางระบบคลาวด์ (Cloud) ของโมซิลล่าได้ โดยซิงค์มีใช้ครั้งแรกใน Firefox 4 และมาถึง Firefox 11 โมซิลล่าได้เพิ่มการรองรับการซิงค์ Add-ons ดังรูปที่ 8 การเรียกใช้คำสั่งซิงค์ทำได้โดยการคลิกปุ่ม Firefox แล้วคลิก Set Up Sync สำหรับวิธีการใช้งานสามารถอ่านได้ที่ วิธีการเซ็ตอัพ Firefox Sync
รูปที่ 8
การแก้ปัญหาความปลอดภัย
Firefox 11 ได้รับการแก้ปัญหาช่องโหว่ความปลอดภัยจำนวน 8 ปัญหา โดยที่เป็นปัญหาที่ร้ายแรงวิกฤตถึง 5 ปัญหา ดังนี้
- MFSA 2012-19 Miscellaneous memory safety hazards (rv:11.0/ rv:10.0.3 / rv:1.9.2.28) [Critical]
- MFSA 2012-17 Crash when accessing keyframe cssText after dynamic modification [Critical]
- MFSA 2012-16 Escalation of privilege with Javascript: URL as home page [Critical]
- MFSA 2012-14 SVG issues found with Address Sanitizer [Critical]
- MFSA 2012-12 Use-after-free in shlwapi.dll [Critical]
การปรับปรุงอื่นๆ
นอกจากนี้ ใน Firefox 11 ยังมีการปรับปรุงในการรองรับ HTML5 ซึ่งเป็นมาตรฐานเว็บรุ่นใหม่ล่าสุด และเพิ่มคุณสมบัติเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บอีกหลายอย่าง ซึ่งในส่วนนี้ไม่มีผลกับผู้ใช้ทั่วไปมากนัก สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จาก Release Notes ใน "แหล่งข้อมูลอ้างอิง"
ความเห็นผู้เขียน
ตั้งแต่โมซิลล่าออก Firefox เวอร์ชันใหม่ทุก 6 สัปดาห์ตามนโยบาย Rapid release ทำให้การออก Firefox เวอร์ชันใหม่ (นับตั้งแต่ Firefox 5 เป็นต้นมา) ไม่มีคุณสมบัติใหม่ที่โดดเด่นเหมือนตอนที่เปลี่ยนผ่านจากเวอร์ชัน 2 ไป 3 หรือ 3 ไป 4 นั้นคือ ถ้าพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงในด้านคุณสมบัติแล้วการเปลี่ยนเวอร์ชันอย่างเช่น 9 ไป 10 หรือ 10 ไป 11 ไม่ใช่การอัปเดทใหญ่ (Major Update) แต่เป็นเพียงการอัปเดทย่อย (Minor Update) เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยังมีความเห็นว่าผู้ใช้ Firefox ควรทำการอัปเดทเป็นเวอร์ชัน 11 เพราะถึงแม้ว่าจะไม่มีคุณสมบัติใหม่ที่โดดเด่น (โดยเฉพาะกับผู้ใช้ทั่วไป) แต่อย่างน้อย Firefox 11 ก็มีความปลอดภัยมากกว่าเวอร์ชันก่อนหน้า เนื่องจากได้รับการแก้ปัญหาความปลอดภัยถึง 8 ปัญหา ที่สำคัญเป็นปัญหาร้ายแรงวิกฤตถึง 5 ปัญหาด้วยกัน
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Copyright © 2012 TWA Blog. All Rights Reserved.
No comments:
Post a Comment
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML