โดยการปรับปรุงครั้งนี้ไมโครซอฟท์นำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน Windows Explorer ที่ได้จากการแนะนำจากผู้ใช้มากกว่า 100 ล้านคน ซึ่งมีคำสั่งทั้งหมดมากกว่า 200 คำสั่ง ในจำนวนนี้ 10 อันดับคำสั่งที่มีการใช้งานมากที่สุดได้แก่คำสั่ง paste, properties, copy, delete, Rename, Refresh, Cut, NewMenu, CommandBar และ new มีการใช้งานคิดเป็น 81.8% ของการใช้งานทั้งหมด (7 อันดับแรกมีการใช้งานคิดเป็น 72.2% ของการใช้งานทั้งหมด) ในขณะที่คำสั่งส่วนใหญ่ที่เหลือมีการใช้งานน้อยมาก ดังนั้นใน Windows Explorer ใน Windows 8 ไมโครซอฟท์จะนำระบบอินเทอร์เฟชแบบริบบอน (Ribbon Interface) เหมือนที่ใช้ในชุดโปรแกรม Microsoft Office โดยจะมีลักษณะดังรูปที่ 1
รูปที่ 1: Windows Explorer in Windows 8 (Credit: Microsoft)
โดยไมโครซอฟท์ตั้งเป้าหมายของการปรับปรุงครั้งนี้ไว้ 3 ประเด็น คือ
1. ปรับ Explorer ให้สามารถใช้ในงานจัดการไฟล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการทำให้ Explorer กลับไปยังวัตถุประสงค์หลักนั้นคือ efficient file manager และแสดงให้เห็นคำสั่งสำหรับจัดการไฟล์ที่มีอยู่แต่ผู้ใช้ไม่ทราบ
2. ให้ประสบการณ์การใช้งานคำสั่งที่คล่องตัวกับผู้ใช้ โดยการวางคำสั่งที่มีการใช้งานบ่อยไว้ในตำแหน่งที่เรียกใช้งานได้ง่ายและเร็วที่สุด ทำการจัดวางคำสั่งในตำแหน่งที่สามารถคาดเดาได้ ทำการจัดกลุ่มคำสั่งตามลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมพร้อมทั้งแสดงข้อมูลที่สัมพันธ์กับคำสั่งเหล่านั้น
3. ให้ความเคารพต่อคำสั่งที่สืบทอดมาจาก Explorer เวอร์ชันก่อนหน้า (โดยเฉพาะเวอร์ชันใน Windows XP) โดยยังคงรักษาพลังและความหลากหลายของฟังก์ชันการทำงานของ Explorer และนำคุณสมบัติบางตัวจาก Windows XP ที่ผู้ใช้เรียกร้องย้อนกลับมาโดยไม่ขัดกับสถาปัตยกรรมและรูปแบบความปลอดภัยของ Windows ในปัจจุบัน
ระบบอินเทอร์เฟชแบบริบบอนใน Windows Explorer ใน Windows 8
ระบบอินเทอร์เฟชแบบริบบอนของ Windows Explorer ใน Windows 8 มีลักษณะดังรูปที่ 2 โดยมีรายละเอียดของแท็บและเมนูต่างๆ ดังนี้
Home tab
แท็บ Home จะโฟกัสอยู่บนงานจัดการไฟล์ (File management) โดยไมโครซอฟท์จะวางคำสั่งหลักในการจัดการไฟล์เช่น Copy, Paste, Delete, Rename, Cut และ Properties ไว้ในตำแหน่งที่สามารถเรียกใช้งานได้ง่ายลักษณะดังรูปที่ 2 และยังเพิ่มคุณสมบัติที่มีใน Windows XP แต่ถูกตัดออกใน Windows 7 และ Vista คือ Move และ Copy to ขึ้นมา
รูปที่ 2: Home tab (Credit: Microsoft)
สำหรับรูปที่ 3 จะเป็นการแสดงจำนวนการใช้งานของแต่ละคำสั่งที่อยู่บนแท็บ Home ซึ่งจะครอบคลุม 84% ของคำสั่งใน Explorer ที่มีการใช้งานบ่อยที่สุด
รูปที่ 3: Command usage % by button on the new Home tab (Credit: Microsoft)
Share tab
แท็บ Share เป็นแท็บที่รวบรวมคำสั่งทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการแชร์ไฟล์ อย่างเช่นคำสั่ง zipping and emailing หรือ burning to optical media เป็นต้น และยังมีคำสั่งสำหรับใช้ในการแชร์ไฟล์ใน Home Group หรือระบบ Active Directory Domain นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าถึง ACLs ของไฟล์ที่ถูกเลือกได้โดยการคลิกเม้าส์ครั้งเดียว (one-click access to the ACLs)
รูปที่ 4: Share tab (Credit: Microsoft)
View tab
แท็บ View จะรวบรวมคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงอ็อปชันสำหรับแต่งมุมมอง (View customization) ซึ่งใน Windows Explorer ใน Windows 8 นั้นสามารถเปิด/ปิดคุณสมบัติต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้โดยการคลิกเม้าส์ครั้งเดียว Navigation pane Preview pane, Details pane, live preview gallery, sorting and grouping by column, add columns และยังสามารถเข้าถึง 3 คุณสมบัติที่ถูกซ่อนไว้คือ show file name extensions, show hidden items และ hide selected items ได้อีกด้วย
รูปที่ 5: View tab (Credit: Microsoft)
รูปที่ 6 แสดงอ็อปชันของ Navigation pane ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ง่ายขึ้น โดยจากเมนูดร็อปดาวน์ผู้ใช้สามารถเลือกอ็อปชันที่ต้องการได้โดยการคลิกเม้าส์ครั้งเดียวรวมถึง show / hide favorites ซึ่งเป็นอ็อปชันใหม่ใน Windows Explorer ใน Windows 8
รูปที่ 6: Navigation pane options (Credit: Microsoft)
ออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบ Wider Screen
จากรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้ Windows 7 ไมโครซอฟท์พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่จะใช้งานจอภาพแบบไวด์สกรีนและใช้ความละเอียดการแสดงผลที่ 1366 X 768 ดังนั้นจึงออกแบบ Details pane ของ Windows Explorer ใน Windows 8 ให้เหมาะสมกับเงื่อนไขดังกล่าวเพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ง่ายขึ้นบนจอภาพแบบไวด์สกรีนในขณะที่ยังคงรักษาพื้นที่ของ Main file/Folder pane ไว้ตามเดิม โดย Windows Explorer ตัวใหม่นั้นจะสามารถแสดงข้อมูลที่ความละเอียด 1366 X 768 ได้มากกว่าใน Windows 7 จำนวน 2 บรรทัดที่ ลักษณะดังรูปที่ 1
รูปที่ 7: Windows Explorer in Windows 7 vs Windows Explorer in Windows 8 (Credit: Microsoft)
ผู้ใช้ขั้นสูงสามารถปรับแต่งได้มากขึ้น
นอกจาก Windows Explorer เวอร์ชันใหม่จะได้รับการปรับปรุงการทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานทั่วไปแล้ว มันยังได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้ขั้นสูง (power users) อีกด้วย โดยคุณสมบัติที่มีการเรียกร้องจากผู้ใช้ขั้นสูงมากที่สุดคือคีย์ลัด (Keyboard shortcuts) ซึ่งคีย์ลัดทั้งหมดที่มีใน Windows Explorer เวอร์ชันก่อนยังคงสามารถทำงานได้ดีใน Windows Explorer เวอร์ชันใหม่แต่ในกรรมวิธีใหม่ โดยคำสั่งในริบบอนทั้งหมดประมาณ 200 คำสั่งจะมีคีย์ลัดของตัวเอง (ในเวอร์ชันสมบูรณ์จะมีคำสั่งระหว่าง 193-203 คำสั่ง)
รูปที่ 8: Quick Access Toolbar (Credit: Microsoft)
ผู้ใช้ขั้นสูงยังคงเรียกร้องให้สามารถทำการปรับแต่งการทำงานของ Windows Explorer ได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า Windows Explorer ใน Windows XP คือเวอร์ชันที่สามารถทำการปรับแต่งได้มากที่สุด แต่ด้วยระบบ Explorer UI ใน Windows 7 และ Vista ทำให้การปรับแต่งทำได้อย่างจำกัดนอกเสียจากการใช้เครื่องมือแบบเธิร์ดพาร์ตี้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ไมโครซอฟท์เพิ่มฟังก์ชันใหม่ที่ชื่อว่า Quick Access Toolbar (QAT) เข้าใน Windows Explorer ใน Windows 8 ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถทำการปรับแต่งได้เหมือนกับของ Microsoft Office โดยการคลิกขวาบนปุ่มใดๆ ในริบบอนผู้ใช้จะสามารถเพิ่มมันเข้าใน QAT และยังสามารถเลือกได้ว่าจะแสดง QAT ไว้ด้านบนหรือด้านล่างของริบบอนและเพิ่มมันเข้าในริบบอนเมื่ออยู่ในสถานะ open หรือ minimized โดยสามารถเพิ่มคำสั่งใน QAT ได้ประมาณ 200 คำสั่ง ทั้งนี้สามารถดูคลิปวีดีโอสาธิตการทำงานของ Windows Explorer เวอร์ชันใหม่ได้จาก Windows 8 Ribbon Explorer UI Demo Video
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Improvements in Windows Explorer
Copyright © 2011 TWA Blog. All Rights Reserved.
No comments:
Post a Comment
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML