Pages - Menu

Pages - Menu

Pages

Tuesday, June 1, 2010

Windows 7 with 10 things to do - Part 1

10 สิ่งแรกที่คุณต้องทำกับ Windows 7 ตอนที่ 1/2
บทความนี้มีคำแนะนำจากไมโครซอฟท์เกี่ยวกับ 10 สิ่งแรกที่คุณต้องทำหลังในทันทีจากทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7 บนเครื่องคอมพิวเตอร์เสร็จเรียบร้อยแต่เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างยาวจึงแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนนี้จะเป็นตอนที่ 1 สำหรับบทความตอนที่ 2 นั้นจะนำเสนอในโอกาสต่อไปครับ

เนื่องจาก Windows 7 นั้นมีฟังก์ชันและสิ่งที่ได้รับการพัฒนาใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการศึกษาฟังก์ชันใหม่ๆ เป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้การนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยต่อไปนี้คือคำแนะนำ 10 สิ่งแรกที่คุณต้องทำกับ Windows 7

1. Get to know Windows 7 on a first-name basis
สิ่งที่ควรต้องทำประการแรก คือ พยายามทำความคุ้นเคยกับระบบ Windows 7 ให้มากที่สุด โดยควรทำการติดตั้งระบบ Windows 7 ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องนอกเหนือจากเครื่องในห้องทดลองของคุณด้วย ทั้งคอมพิวเตอร์ทุกตัวในองค์กรและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน เผื่อในกรณีที่ต้องรีโมทเข้ามาแก้ไขปัญหาฉุกเฉิน พยายามปรับตัวเองให้หาทางออกสำหรับทุกอย่างเพื่อให้ทุกอย่างทำงานได้

เครื่องมือที่ใช้จัดการ Windows Servers เกือบทั้งหมดจะมีอยู่ในชุดเครื่องมือ Windows 7 Remote Server Administration Tools (RSAT) แต่ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดมาติดตั้งเพิ่มเติมต่างหาก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดาวน์โหลด RSAT ได้ที่ RSAT for Windows 7

เนื่องจาก RSAT นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ Windows Feature ดังนั้น หลังจากทำการติดตั้งแพ็คเกจ RSAT เสร็จแล้ว จะยังไม่มีเครื่องมือใดๆ อยู่ในโฟลเดอร์ Administrative Tools โดยคุณจะต้องทำการเปิดใช้งานครั้งแรกเองผ่านทาง Programs and Features ใน Control Panel ดูรูปที่ 1 ประกอบ โดยจะต้องเลือกคุณสมบัติที่ต้องการทีละตัว และถ้ากดเลือกที่โฟลเดอร์ใหญ่ที่มีโฟลเดอร์ย่อยๆ ในนั้น โฟลเดอร์ย่อยๆ ก็ไม่ได้ถูกเลือกโดยอัตโนมัติ นั้นคือคุณจะต้องกดเลือกทีละอันเอง

รูปที่ 1 Windows 7 RSAT Feature List

เครื่องมือ Active Directory RSAT สามารถทำงานร่วมกับโดเมนคอนโทรลเลอร์เซิร์ฟเวอร์ (Domain controller) ที่เป็นระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 และ Windows Server 2008 ได้ แต่จะมีฟังก์ชันบางตัว อย่างเช่น Active Directory Recycle Bin ที่ต้องการระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 R2

สำหรับการจัดการระบบเซิร์ฟเวอร์ Exchange 2003 จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Windows 7 นั้นค่อนข้างมีความซับซ้อน เพราะในส่วนของคอนโซล Exchange System Manager (ESM) ที่ใช้จัดการระบบ Exchange ที่มากับแผ่นติดตั้งระบบเซิร์ฟเวอร์ Exchange 2003 นั้นไม่สามารถทำงานบนระบบ Windows 7 ได้ แต่สามารถใช้ ESM เวอร์ชันพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อ Windows Vista โดยเฉพาะซึ่งสามารถดาวโหลดได้ที่ Exchange System Manager for Windows Vista คอนโซลตัวนี้จะสามารถทำงานบนระบบ Windows 7 ได้เป็นอย่างดี แต่จะมีปัญหาเรื่องการติดตั้งเล็กน้อย เนื่องจากตัวติดตั้งจะเช็คว่าต้องมีระบบ Windows Vista (Windows 6.0.0) โดยไม่รองรับระบบ Windows 7 แต่เราสามารถไปดาวโหลดโปรแกรม Orca ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรีของไมโครซอฟต์มาใช้แก้ไขไฟล์ MSI เพื่อไม่ให้เช็คเวอร์ชันตอนติดตั้ง โดยที่โปรแกรม Orca นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ Windows Installer SDK สามารถอ่านรายละเอียดและดาวน์โหลดได้ที่ How to use the Orca database editor (KB255905) แต่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ติดตั้งใช้งาน ESM ใน XP Mode จะง่ายกว่า

2. Learn Windows PowerShell.
ทักษะอย่างหนึ่งที่ผู้ดูแลระบบ Windows ควรจะต้องมีในอนาคตคือ ความเชี่ยวชาญในการใช้งานโปรแกรม Windows PowerShell ทั้งระบบ Windows 7 และระบบ Windows Server 2008 R2 นั้นมีโปรแกรม PowerShell v2 ติดมาและเปิดทำงานโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ติดตั้งระบบ Windows PowerShell v2 กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเครื่องเดสก์ท็อปทั้งหมดเพื่อให้สามารถใช้สคริปต์ตัวเดียวในการจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด (ข้อพึงระวัง: ไม่สามารถลง PowerShell v2 บนเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ Exchange 2007 โดยต้องลงระบบ PowerShell v1.1 แทน)

ต่อให้เป็นผู้ดูแลระบบที่เป็นแฟนพันธุ์แท้โปรแกรมควบคุมแบบ GUI และไม่ได้ใช้งานหน้าจอแบบคอมมานด์พร็อมท์ตั้งแต่ปี 2000 ก็จะเห็นว่าโปรแกรมที่เป็นแบบ GUI ทั่วไปของไมโครซอฟต์นั้นจะมีหน้าอินเทอร์เฟชที่สวยงามครอบอยู่บน PowerShell cmdlets อีกที เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยบอกชื่อคำสั่งต่างๆ แก้ผู้ใช้ ถ้าผู้ใช้รู้ว่าต้องไปหาจากที่ไหน นี่เป็นตัวอย่างที่ง่ายที่สุดที่ผู้ใช้จะได้เห็นว่า cmdlets ทำงานอย่างไร

นอกจากนี้ สามารถศึกษาการใช้งานเพิ่มเติมได้จากบล็อกของทีม Windows PowerShell โดยไปที่ยูอาร์แอล http://blogs.msdn.com/PowerShell และที่สำคัญโปรแกรม Windows 7 RSAT นั้นมี Active Directory Windows PowerShell cmdlets ตัวเดียวกับที่ใช้ในระบบ Windows Server 2008 R2 สำหรับแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดเกี่ยวกับเครื่องมือตัวนี้คือ บล็อกของโปรแกรม Active Directory PowerShell ที่ยูอาร์แอล http://blogs.msdn.com/b/adpowershell/

โดย Active Directory cmdlets นั้นสามารถใช้ในการจัดการโดเมนที่รันระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 และ Windows Server 2008 ได้ แต่ก่อนอื่นคุณจะต้องลง AD Management Gateway Service หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า AD Web Services (ADWS) ที่ตัวจัดการโดเมนอย่างน้อยตัวหนึ่งเสียก่อน โดยสามารถดาวโหลดมาใช้งานได้จาก Active Directory Management Gateway Service โปรแกรม ADWS ต้องรันบนระบบ Windows Server 2003 SP2 (แบบธรรมดาหรือ R2) หรือระบบ Windows Server 2008 แบบธรรมดาหรือ SP2 และยังต้องลงโปรแกรม .NET Framework 3.5 SP1 ด้วย ซึ่งหาดาวน์โหลดได้จาก Download .NET Framework 3.5 Service Pack 1 และโปรแกรม Hotfix หมายเลข KB969429 หาดาวโหลดได้ที่ยูอาร์แอล http://support.microsoft.com/kb/969429 ซึ่งสนับสนุนระบบเว็บใน Netlogon (โปรแกรม Hotfix มาพร้อมกับระบบ Windows Server 2008 SP2)

อนึ่ง โปรแกรม Quest Supports Microsoft Windows PowerShell เป็นจาก Quest Software เป็นฟรีแวร์ตัวหนึ่งที่ช่วยให้การจัดการ Active Directory ทำได้ง่ายขึ้น สามารถดาวน์โหลดที่ยูอาร์แอล http://www.quest.com/powershell/

3. Plow through licensing.
ในกรณีที่องค์กรไม่ได้ลงระบบ Windows Vista ผู้ดูแลระบบอาจจะไม่คุ้นเคยกับฟังก์ชันที่เรียกว่า Volume activation ซึ่งเป็นการเปิดใช้งานไลเซ็นต์หรือสิทธิการใช้งานหลายๆ ตัวพร้อมกัน ถ้าองค์กรมีเครื่องเดสก์ท็อปมากกว่า 25 เครื่องและ/หรือมีเซิร์ฟเวอร์มากกว่า 5 เครื่องขึ้นไป ถ้าองค์กรอยากใช้ประโยชน์จากโปรแกรมชนิด Volume license อย่างโปรแกรม Enterprise Agreement หรือ Select Agreement ถ้าองค์กรซื้อระบบ Windows 7 เวอร์ชัน Professional หรือ Ultimate (หรือไม่ก็อัปเดตมาเป็นเวอร์ชันนั้น ตามแผนการของ Software Assurance) ผู้ดูแลระบบควรจะปฏิบัติดังต่อไปนี้ กล่าวคือ ควรดาวโหลดเอกสารหัวข้อ Volume Activation มาจาก Volume Activation 2.0 Technical Guidance นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำให้ดาวโหลดและศึกษาเว็บคาสต์ที่จัดทำโดย Kim Griffiths ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่ยูอาร์แอล http://tinyurl.com/volactwebcastwin7

โดยสรุปแล้ว ถ้าต้องการจะเปิดใช้งานระบบ Windows 7 โดยใช้ Volume licenses อาจต้องติดตั้งระบบ Key Management Server (KMS) ด้วยเช่นกัน ที่ใช้คำว่า "อาจ" เพราะว่าในองค์กรอาจมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เยอะพอที่จะรองรับการเปิดใช้งานไลเซ็นต์ที่ KMS ได้ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ KMS นี้จะไม่ทำการยืนยันการขอเปิดไลเซ็นต์จนกว่าจะได้รับการร้องขอจากเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างต่ำ 25 เครื่อง หรือไม่ก็เครื่องเซิร์ฟเวอร์ 5 เครื่องด้วยกัน ซึ่งนี่เป็นการป้องกันพวกหัวใสไม่ให้ใช้คีย์ Volume license ตัวเดียวกับลูกค้ารายย่อยหลายๆ กลุ่ม และหลังจากที่มีการเปิดใช้งาน License ครั้งแรกแล้ว ลูกค้าจะต้องทำการเปิดอีกครั้งทุกๆ 6 เดือน ทั้งนี้ข่าวลือที่ว่าระบบ Windows 7 จะปิดฟังก์ชันบางตัวไปเท่านั้นถ้าไม่ทำการ ไม่ Activate License ซึ่งไมโครซอฟท์ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ในกรณีที่ไม่ Activate License หน้าจอเดสก์ท็อปนั้นจะกลายเป็นสีดำและจะมีบอลลูนโผล่ขึ้นมาบอกว่าระบบปฏิบัติการของไม่ใช่ไลเซ็นต์แท้แค่นั้น

ถ้าในองค์กรมีเครื่องเดสก์ท็อปจำนวนน้อยกว่าที่ KMS ระบุไว้ ก็สามารถไปใช้ซื้อ Multiple Activation Key (MAK) ซึ่งจะเปิดใช้งานไลเซ็นต์ได้ตามจำนวนที่ซื้อมาและสามารถเพิ่มเติมจำนวนไลเซ็นต์ได้ในช่วงที่คุณต้องทำรายงานส่งไปที่ไมโครซอฟท์ว่าตอนนี้มีจำนวนไลเซ็นต์เท่าไหร่หรือที่ไมโครซอฟต์เรียกว่า True-ups เจ้าตัวคีย์ MAK นี้จะโดนตรวจสอบจากเซอร์วิสแบบโฮสต์ของไมโครซอฟต์ ดังนั้น ควรทำการต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตหลังจากที่ลงระบบเสร็จแล้ว

แต่ในระบบ Windows 7 และ Windows Server 2008 R2 มีสิ่งที่พิเศษขึ้นมา นั่นคือ สามารถนับเครื่องเสมือน (Virtual Machine ) ให้เป็น 1 ไลเซ็นต์ได้และสามารถรวมเข้าหนึ่งในจำนวนเครื่องที่สามารถมีสิทธิ์เปิดใช้งานด้วยเซิร์ฟเวอร์ KMS ได้ด้วย นี่เป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มจำนวนเครื่องได้ ถ้าหากคุณทำงานในร้านเล็กๆ ที่มีเครื่องเดสก์ท็อปและเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือนหลายๆ เครื่อง

ถ้าองค์กรมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ KMS ใช้ในระบบ Windows Vista และ Windows Server 2008 อยู่แล้ว ก็สามารถไปดาวโหลดเวอร์ชันอัปเดตมาใช้กับเครื่องที่ติดตั้งระบบ Windows 7 และ Windows Server 2008 R2 ได้

หมายเหตุ: อ่านรายละเอียด วิธีการแอคติเวต Windows 7 ด้วย KMS Host

4. Focus on strategic improvements.
หลังจากที่ได้ทำความคุ้นเคยกับการจัดการระบบ Windows 7 และติดตั้งเทคโนโลยีที่จะมาเปิดใช้งานไลเซ็นต์แล้ว ผู้ดูแลระบบควรจะเริ่มต้นวางแผนลงระบบนี้ให้กับผู้ใช้งานและสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ดูแลระบบควรทำในขั้นตอนนี้คือ การเรียกผู้ใช้งานเข้าประชุม

โดยการประชุมที่ว่านี้จะแตกต่างจากการประชุมแบบธรรมดาๆ ทั่วไป นั่นคือ ผู้ดูแลระบบจะต้องไปรวบรวมพลพรรครักไอทีที่ช่วยผู้ดูแลระบบลงระบบ Windows 7 ทุกคนมารวมกันไว้ในการประชุมครั้งนี้ ตั้งแต่อาร์คิเทคของระบบ คนดูแลระบบเดสก์ท็อป ทีมงานดูแลเซิร์ฟเวอร์ ช่างซ่อมเดสก์ท็อป นักพัฒนาระบบในบริษัทและผู้จัดการโครงการด้วยครับ ผู้ดูแลระบบต้องเรียกตัวแทนจากทุกๆ ทีมและทุกๆ หน่วยงาน มองการประชุมครั้งนี้เหมือนเป็นการประชุมระดับโลก ควรจะทำให้เป็นวันนัดรวมตัวอะไรกันเลยทีเดียว บอกผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ได้ต้องเป็นคนเจ๋งๆ เท่านั้น เพื่อว่าพวกเขาจะได้ไม่ปฏิเสธการเข้าร่วมยังไงล่ะครับ

แต่ก่อนที่ผู้ดูแลระบบจะเริ่มประชุมควรจะเตรียมตัวเลขต่างๆ ให้พร้อมจะได้ไม่ต้องลำบากตอนหลัง ทั้งนี้เป็นเพราะว่า พอถึงจุดหนึ่งจะต้องมีคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า "เราควรจะต้องนั่งรวบรวมแค็ตตาล็อกแอพพลิเคชั่นต่างๆ นะ เพื่อใช้ในการทดสอบความเข้ากันได้และเครื่องเราใช้ Windows 7 ได้ทุกเครื่องจริงหรือ" และทั้งห้องประชุมก็จะนั่งถกเถียงกันไปอีกชั่วโมงสองชั่วโมงเกี่ยวกับเรื่อง ว่าจะรวบรวมแคตตาล็อกที่ว่านั้นอย่างไร หรือทำไมมันถึงทำไม่ได้ หรือเจ้าหน้าที่จากทีมเดสก์ท็อปเคยเขียนข้อมูลเหล่านี้ไว้ในโปรแกรม Excel แล้ว แต่เขาไม่อัปเดตมาซักระยะแล้วล่ะ และในลิสต์นั้นไม่ได้รวมรายละเอียดเครื่องคอมพิวเตอร์ในภูมิภาคต่างๆ อีกด้วย

ผู้ดูแลระบบสามารถประหยัดเวลาในการถกเถียงอันน่าเบื่อนี้ได้ด้วยเครื่องมือที่ใช้เก็บรายชื่อและวิเคราะห์ ซึ่งมีทั้งหมดสองตัวด้วยกัน เครื่องมือตัวแรกคือ Microsoft Assessment and Planning Toolkit (MAP 4.0) ซึ่งหาดาวโหลดได้จาก Microsoft Assessment and Planning (MAP) Toolkit โปรแกรมตัวนี้เป็นโปรแกรมที่ไม่ได้อาศัยเอเจนท์ Agent และจะคอยเก็บสถิติเครื่องเดสก์ท็อปที่อยู่ในการดูแลของผู้ดูแลระบบ และรายงานว่าเครื่องใดที่พร้อมลงระบบ Windows 7 แล้วบ้าง เครื่องใดที่ต้องอัปเดตฮาร์ดแวร์เสียก่อน และเครื่องใดที่ไม่มีวันพร้อมที่จะลงระบบ Windows 7 เลยไม่ว่าผู้ดูแลระบบจะปรับแต่งเครื่องอย่างไรก็ตาม โปรแกรม MAP นี้ยังจะสร้างกราฟวงกลมอันสวยงามและตัวเลขสำหรับผู้ดูแลระบบอีกมากมาย

ตอนที่ทำการรันเครื่องมือตัวนี้ ผู้ดูแลระบบไม่จำเป็นต้องไปกำหนดกฏเกณฑ์อะไรกับฮาร์ดแวร์ที่ต้องใช้มาก ต่อจากนั้นก็ลงโปรแกรม Application Compatibility Toolkit (ACT) 5.5 ซึ่งหาดาวโหลดได้จาก Microsoft Application Compatibility Toolkit 5.6 และใช้โปรแกรมตัวนี้ในการทำสถิติซอฟต์แวร์บนเครื่องเดสก์ท็อปของผู้ดูแลระบบ การประเมินของโปรแกรม ACT นั้นไม่ได้ดูโปรแกรมจากในแค่รีจิสทรีเท่านั้น แต่มันยังเข้าไปรวบรวมข้อมูลแอพพลิเคชั่นที่หลบซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ ซึ่งเป็นผลพวงจากการลงด้วยโปรแกรมลงแบบเก่าๆ ในเครื่องอย่างละเอียด การทำงานเช่นนี้ต้องอาศัยโปรแกรมเอเจนท์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเริ่มต้นทำงานจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้จัดการโปรแกรม ACT และจะคอยส่งรายงานกลับมาเป็นระยะๆ เป็นเวลาหลายวันก่อนที่มันจะถอดตัวเองออกจากเครื่องเอง

โปรแกรม ACT นั้นจะตามเก็บข้อมูลอย่างละเอียดมาก ดังนั้น ผู้ดูแลระบบจึงต้องใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีกำลังสูงพอสมควรในการรันโปรแกรมตัวนี้ นอกจากนั้น ผู้ดูแลระบบยังสามารถเก็บข้อมูลนั้นไว้ใน SQL Express ได้ด้วย นอกจากว่าผู้ดูแลระบบจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์สุ่มตัวอย่างมากกว่า 1,000 เครื่อง อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ดูแลระบบต้องการรวบรวมรายชื่อซอฟต์แวร์ไล่ไปจนถึงระดับแผนกและทีมแต่ละทีม ผู้ดูแลระบบสามารถเลือกเพียงแค่สองสามเครื่องในแผนกนั้นมาทำเป็นเครื่องสุ่มตัวอย่าง ได้ แม้องค์กรของผู้ดูแลระบบจะมีเครื่องเดสก์ท็อปเป็นหมื่นหรือแสนเครื่องก็ตาม ผู้ดูแลระบบก็ควรจะสุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูลเป็นจำนวนสักร้อยละ 2 หรือ 3 ของจำนวนเครื่องทั้งหมด

ย้อนกลับไปยังเรื่องการประชุมครั้งสำคัญต่อ ผู้ดูแลระบบควรจัดงานให้เหมาะสมใช้งบแผนกของผู้ดูแลระบบซื้อโดนัทและพิซซ่ามาเลี้ยงกันให้อิ่มหนำสำราญหาห้องที่มีกระดานไวท์บอร์ดรอบห้อง ถ้ามีผู้ร่วมประชุมบางคนที่ไม่สามารถเข้ามาร่วมประชุมได้ ผู้ดูแลระบบควรติดตั้งจอขนาดใหญ่หลายๆ จอในห้องประชุม ติดตั้งซอฟต์แวร์การประชุมแรงๆ และเตรียมไมโครโฟนและกล้องไว้ให้ทั่ว

ครึ่งแรกของการประชุม ผู้ดูแลระบบควรถามผู้เข้าร่วมประชุมว่าระบบ Windows 7 ช่วยพัฒนาการทำงานประจำวันของพวกเขาอย่างไรบ้าง ลองถามไถ่ดูว่า ทำไมพวกเขาจึงใช้เวลาเรียนรู้นานกว่าที่วางแผนไว้ลองรับฟังเสียงบ่นของพวกเขาดู ประหนึ่งเหมือนเดินเข้าไปในสมองพวกเขาเพื่อมองหาความรู้และการผสมผสาน ฟังก์ชันต่างๆ ที่พวกเขาคิดมาได้ เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตของผู้ใช้งาน เพิ่มความปลอดภัย สนับสนุนระบบเคลื่อนที่ และทำให้กระบวนการการทำงานนั้นง่ายขึ้น

ส่วนครึ่งหลังของการประชุม ผู้ดูแลระบบควรใช้เป็นช่วงการวางแผนการลงระบบ อย่าใช้ช่วงนี้ในการเสาะแสวงหาวิธีที่จะมาแก้ปัญหาด้านการทำงานร่วมกันกับระบบเก่าหรือกระบวนการการทำงานต่างๆ องค์กรใดก็ตามที่ใช้ระบบ Windows XP มานานไปหน่อย การอัปเดตกระบวนการทำงานนั้นอาจจะมีสิ่งขัดๆ เกิดขึ้นบ้าง ผู้ดูแลระบบควรระบุปัญหา จัดประเภทของปัญหานั้น และข้ามไปคุยเรื่องอื่นต่อไป

ผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมนั้นควรจะออกมาในโร้ดแมพ (Roadmap) ที่บอกว่าใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไหร่และอย่างไรบ้าง นอกจากนั้น มันยังช่วยบอกถึงปัญหาอย่างเช่น ผู้ดูแลระบบต้องการลงระบบในส่วนของฟังก์ชันใดบ้าง ใครที่เป็นคนต้องเตรียมงาน ต้องใช้ระยะเวลานานเท่าใด ผู้ดูแลระบบต้องใช้วิธีการอย่างไรเพื่อให้ผู้ใช้งานร่วมมือกับผู้ดูแลระบบ ค่าใช้จ่ายในการลงระบบเท่าไหร่ทั้งที่เป็นงบประมาณจริงๆ และที่คิดขึ้นมา จุดไหนที่อาจจะเป็นจุดที่ล้มเหลวของโครงการได้ ผู้ดูแลระบบต้องการทรัพยากรใดบ้างในการทดสอบระบบ และที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ดูแลระบบจะต้องเริ่มดำเนินการเมื่อไหร่ ผู้ดูแลระบบควรสรุปประเด็นทั้งหมดนี้ลงในสไลด์เพียงแค่ 5 สไลด์พอ และนำเสนอแก่ผู้บริหาร และหลังจากนั้นถึงลุยดำเนินการอย่างมุ่งมั่น

5. Expand the deployment scope.
ฟังก์ชันที่ดีที่สุดบางฟังก์ชันในระบบ Windows 7 นั้นอาจจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนในโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรบ้าง ตัวอย่างเช่น ฟังก์ชัน Federated Search และ Libraries ในเชลล์ Windows Explorer ฟังก์ชันนี้จะทำงานร่วมกันเพื่อที่จะนำเสนอข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายในมุมที่รวมข้อมูลนั้นไว้ตรงกลางและยืดหยุ่น

จุดหลักในการใช้งาน Federated Search คือการหาหรือการสร้างตัวเชื่อมต่อ (Connector) กับที่เก็บข้อมูลที่รันบนระบบเว็บ ตัวเชื่อมต่อคือกลุ่มตัวแปรการตั้งค่าในไฟล์นามสกุล .OSDX ตัวแปรเหล่านี้จะชี้ไปที่เว็บไซต์และอธิบายว่าต้องทำอย่างไรกับเนื้อหาบ้าง

เมื่อผู้ดูแลระบบคลิกขวาที่ไฟล์ .OSDX ในหน้าจอ Windows Explorer จะแสดงตัวเลือกให้ผู้ดูแลระบบสร้างตัวเชื่อมต่อ Connector หรือ Create Search Connector ในเมนู Property เมื่อคลิกที่ตัวเลือกนี้ Connector ตัวใหม่ปรากฏที่รายการตัวต่อใต้ Favorites เริ่มต้นค้นหาข้อมูล Connector ด้วยการเอาเมาส์ไฮไลท์ตัวที่ต้องการหา และพิมพ์ข้อความลงไปในช่องค้นหาที่อยู่ด้านบนขวาของหน้าจอ Explorer อีกไม่กี่วินาทีต่อมา ผลการค้นหาก็จะปรากฏในฝั่งหนึ่ง ถ้าผู้ดูแลระบบต้องการดูเนื้อหาของหน้าไหน ก็ให้คลิกปุ่ม Preview ดูที่หน้านั้นได้

การสร้างตัว Connector นั้นทำได้ง่าย ควรสนับสนุนให้นักพัฒนาระบบขององค์กรสร้างขึ้นมาใช้งานในเซิร์ฟเวอร์อินทราเน็ต (พอร์ทัลขององค์กร เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในโปรแกรม ShaprePoint และอื่นๆ อีกมากมาย) สำหรับตัวอย่างตัวเชื่อมต่อสำหรับใช้เป็นแนวทางนั้นสามารถดูได้จากเว็บไซต์ยูอาร์แอล http://www.sevenforums.com/tutorials/742-windows-7-federated-search-providers.html ซึ่งเป็นเว็บไซต์อิสระที่มีคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับระบบ Windows 7 จากนั้นให้ทำการกระจายตัวเชื่อมต่อไปไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานโดยใช้เครื่องมือมาตรฐานที่มากับโปรแกรม หลังจากนั้นผู้ดูแลระบบจึงใช้ตัวตัวเชื่อมต่อสร้างภาพมาตรฐานของข้อมูลเว็บที่กระจายตามเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้

แม้ว่า Federated Search จะใช้จัดการข้อมูลเว็บไซต์ได้ดีพอ แต่องค์กรหลายแห่งก็ต้องทนนั่งหาข้อมูลจากกองข้อมูลหลายเทราไบต์ที่อยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่รวบรวมข้อมูลมาได้ ซึ่งตรงนี้หมายความว่าผู้ใช้งานที่ไม่คุ้นเคยกับการแมพไดรฟ์และการเก็บข้อมูลระบบเครือข่ายนั้น อาจจะต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงในการค้นหาข้อมูลในไดรฟ์เน็ตเวิร์กของพวกเขา เพื่อหาข้อมูลอย่างเช่น รายงานที่พวกเขาเขียนเมื่อเดือนที่แล้ว เป็นต้น

สำหรับวิธีการแก้ปัญหาดังที่กล่าวมาด้านบน สามารถใช้งาน Libraries มาช่วยได้ โดยที่ Libraries จะรวบรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งให้กลายมาเป็นวัตถุที่ผู้ดูแลระบบสามารถหาข้อมูลได้โดยง่าย Libraries พื้นฐานที่ Windows 7 เตรียมไว้ให้จะประกอบไปด้วยชนิดข้อมูลส่วนตัวและส่วนที่ใช้เก็บ ทั้งเอกสาร เพลง รูปภาพ และวิดีโอ และผู้ดูแลระบบสามารถขยาย Libraries นั้นไปครอบคลุมถึงส่วนที่เก็บข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ได้ด้วย เพียงผู้ดูแลระบบแค่คลิกขวาและเลือก New Library และใส่พาธของ UNC ไปที่ส่วนของแชร์โฟลเดอร์

การใช้งาน Libraries นั้นมีข้อแม้อย่างหนึ่ง กล่าวคือ ผู้ดูแลระบบต้องทำดัชนีในโฟลเดอร์ที่หาด้วย ในระบบ Windows Server 2008 หรือสูงกว่านั้น ผู้ดูแลระบบต้องลง File Services Roles และภายใต้ Role Services จะต้องลง Windows Search Service ส่วนในเซิร์ฟเวอร์ที่ระบบ Windows Server 2003 SP2 ผู้ดูแลระบบจะต้องลงโปรแกรม Windows Search 4.0 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่หาดาวโหลดได้ฟรีจาก http://www.microsoft.com/windows/products/winfamily/desktopsearch/choose/windowssearch4.mspx นอกเหนือจากนั้น เนื่องจากหน้าจอ Search มีข้อจำกัด ผู้ดูแลระบบจะไม่สามารถระบุพาธของ DFS ได้ ต่อให้ข้อมูลโฟลเดอร์ DFS นั้นเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บไฟล์ที่มีการทำดัชนี ไว้แล้วก็ตามที

การสร้าง Libraries ไม่สามารถทำผ่านทางคอมมานด์ไลน์ได้ แต่ในแพ็คเกจ Windows 7 SDK นั้นจะรวมเครื่องมือที่ใช้เขียนโปรแกรมจัดการ Libraries ด้วย เพราะฉะนั้นในอนาคต ต้องมีเครื่องมือใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอย่างแน่นอน

ท้ายนี้ มีข้อควรสังเกตอย่างหนึ่งของการทำงานของ Libraries นั่นคือ ในหน้าจอ Explorer นั้นจะมีหน้าจอ Common File ที่จะเอื้อให้ผู้ใช้เก็บไฟล์ไว้ใน Libraries ได้โดยการลากและปล่อยใน Libraries ถ้าใน Libraries ของผู้ดูแลระบบมีลิงค์หลายลิงค์อยู่ในนั้น ผู้ดูแลระบบต้องระบุเสียก่อนว่าตัวไหนจะเป็นลิงค์ Default สำหรับวิธีการใช้งาน Libraries นั้นสามารถอ่านได้จาก Introduction to Windows 7 Libraries

บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog

ที่มา

© 2010 TWA Blog. All Rights Reserved.

No comments:

Post a Comment

เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML