Pages - Menu

Pages - Menu

Pages

Saturday, March 6, 2010

วิธีการสร้าง Virtual Hard Disk (VHD) ใน Windows 7 โดยใช้ Disk Management

Windows 7 มีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่างและหนึ่งในฟีเจอร์ที่ได้รับความสนใจจากแอดมินยูสเซอร์หรือพาวเวอร์ยูสเซอร์ค่อนข้างมากคือการรองรับการใช้งาน Virtual Hard Disk (VHD) ซึ่งเป็นระบบไฟล์ที่ใช้บนระบบเวอร์ชวลไลเซชันต่างๆ เช่น Hyper-V, Virtual Server, Virtual PC, VMware Server หรือ SUN VirtualBox

สำหรับวิธีการสร้างไฟล์ VHD ใน Windows 7 นั้น ทั่วไปจะมีอยู่ 2 วิธีการ คือ การใช้เครื่องมือ Disk Management และใช้ Diskpart ซึ่งเป็นยูทิลิตี้แบบคอมมานด์ไลน์ โดยในบทความนี้จะสาธิตวิธีการสร้างไฟล์ VHD บน Windows 7 โดยใช้ Disk Management สำหรับวิธีการใช้คำสั่ง Diskpart นั้นจะนำมาโพสต์ในบทความต่อๆ ไปครับ

หมายเหตุ:
สำหรับระบบที่ใช้ในการทดสอบในครั้งนี้เป็น Windows 7 Ultimate 32-Bit รันบนเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ HP รุ่น DC5750 ใช้ซีพียู AMD Athlon X2 5200+ 2.6 GHz, RAM 2GB, Hard Disk 250 GB แบ่งออกเป็น 2 พาร์ติชัน ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ในพาร์ติชันที่ 1 ฟอร์แมตพาร์ติชันเป็น NTFS

1. คลิก Start คลิกขวา Computer แล้วคลิก Manage
2. ในเนวิเกชันแพนของหน้าต่าง Computer Management ให้คลิกขวาบน Disk Management จากนั้นเลือก Create VHD


3. จากนั้นในหน้าได้อะล็อกบ็อกซ์ Create and Attach Virtual Hard Disk ให้เลือกตำแหน่งที่ต้องการสร้างไฟล์ VHD โดยป้อนพาธที่ต้องการในช่องด้านล่าง Location จากนั้นกำหนดขนาดของ VHD ที่ทำการสร้างโดยป้อนค่าในช่อง Virtual hard disk size: โดยให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับการสร้าง VHD ขั้นตอนต่อไปให้เลือกฟอร์แมตที่ต้องการ Fixed size ซึ่งจะมีขนาดคงที่และ Dynamically expanding ซึ่งจะมีขนาดเปลี่ยนแปลงแบบไดนามิค เสร็จแล้วคลิก OK รอจนระบบทำการเม้าท์ (Mount) ไฟล์ VHD แล้วเสร็จ


สำหรับการเลือกฟอร์แมตของ VHD นั้น โดยดีฟอลท์ระบบจะกำหนดเป็น Fixed size (recommended) แต่สามารถกำหนดเป็น Dynamically expanding ได้ โดยฟอร์แมตแบบ Fixed size นั้นจะมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าเล็กน้อย ทั้งนี้ สำหรับการใช้งานจริงนั้น (Production Environment) นั้นแนะนำให้ใช้ฟอร์แมตแบบ Fixed size สำหรับการใช้งานเพื่อการทอสอบ (Demo) นั้นสามารถเลือกใช้แบบใดก็ได้ตามความต้องการ

4. หลังจากระบบทำการเม้าท์ (Mount) ไฟล์ VHD แล้วเสร็จ จะได้ Disk 1 ดังรูปด้านล่าง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการ Initialize Disk ก่อน


โดยให้คลิกขวาบน Disk 1 แล้วคลิก Initialize เพื่อทำการ Initialize Disk


5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Initialize Disk ให้คลิกเลือกพาร์ติชันที่ต้องการแล้วคลิก OK (โดยดีฟอลท์ระบบจะเลือกพาร์ติชันให้โดยอัตโนมัติ) หลังจากระบบทำงานแล้วแสร็จสถานะของ Disk 1 จะเปลี่ยนเป็น Online จากนั้นให้ทำการสร้าง New simple volume ก่อนจึงจะสามารถใช้งาน VHD ที่สร้างขึ้นได้ ซึ่งหลังจากสร้างโวลุ่มและทำการฟอร์แมตแล้วจะสามารถใช้งาน VHD เหมือนกับฮาร์ดดิสก์แบบกายภาพทุกประการ


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

© 2010 TWA Blog. All Rights Reserved.

No comments:

Post a Comment

เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML