เข้ารหัสไฟล์และโฟลเดอร์ด้วยคำสั่ง cipher
ใน Windows XP, Windows Vista และ Windows Server 2003 นั้น จะมีคำสั่ง cipher ซึ่งช่วยในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลบนฮาร์ดดิสที่ใช้ระบบไฟล์เป็น NTFS โดย cipher นั้นสามารถใช้ทำการเข้ารหัสได้ทั้งไฟล์และโฟลเดอร์ ทำงานจากคอมมานด์ไลน์ โดยหลังจากทำการเข้ารหัสแล้วจะมีเพียงยูสเซอร์ที่เป็นผู้ทำการเข้ารหัสเท่านั้นที่จะเปิดไฟล์เพื่อดูหรือแก้ไขข้อมูลได้
คำสั่ง cipher
คำสั่ง cipher นั้นทำงานจากคอมมานด์ไลน์ โดยถ้าทำการรันคำสั่งโดยไม่ใส่พารามิเตอร์ cipher จะแสดงรายการไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดในตำแหน่งไดเรกตอรีกำลังทำงาน ดังตัวอย่างด้านล่างเป็นการรันคำสั่ง cipher ที่โฟลเดอร G:\1234 สังเกตว่าสัญลักษณ์หน้าไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นจะมี 2 แบบ คือ U = Unencrypt และ E = Encrypt
G:\1234>cipher
Listing G:\1234\
New files added to this directory will not be encrypted.
U abc.html
U ip99.txt
E Setup.txt
U text37.txt
E Windowsxp.pdf
U xyz.doc
หากต้องการดูรายละเอียดการใช้งานและพารามิเตอร์ต่างๆ ให้รันคำสั่ง cipher /? ซึ่งจะแสดงความช่วยเหลือของคำสั่ง โดยการเข้ารหัสโฟลเดอร์นั้นจะใช้สวิตช์ /E แต่ให้พึงระวังไว้ว่า การใช้สวิตช์ /E เพื่อเข้ารหัสโฟลเดอร์นั้น จะทำการเข้ารหัสไฟล์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่หรือย้ายเข้ามาหลังการเข้ารหัสเท่านั้น โดยจะไม่ทำการเข้ารหัสไฟล์ต่างๆ ที่มีอยู่ในโฟลเดอร์ก่อนหน้าที่จะทำการรันคำสั่ง ดังนั้นหากต้องการข้ารหัสไฟล์ต่างๆ ที่มีอยู่ในโฟลเดอร์จะต้องใช้สวิตช์ /E คู่กับ สวิตช์ /A และในทางกลับกัน ในขั้นตอนการถอดรหัสก็ให้ทำในลักษณะเดียวกัน
หมายเหตุ: ใช้เป็นอักษรพิมพ์เล็กหรือใหญ่ก็ได้ เช่น /E จะให้ผลการทำงานเหมือนกันกับ /e
ตัวอย่างการใช่งานคำสั่ง cipher
::การใช่งาน cipher เพื่อเข้ารหัสไฟล์และโฟลเดอร์
ตัวอย่างที่ 1: เข้ารหัสโฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้เข้ารหัสโฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /e c:\1234
ตัวอย่างที่ 2: เข้ารหัสไฟล์ชื่อ Windowsxp.pdf ที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้เข้ารหัสไฟล์ชื่อ Windowsxp.pdf ที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /e /a c:\1234\Windowsxp.pdf
ตัวอย่างที่ 3: เข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้เข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /e /a c:\1234\*
ตัวอย่างที่ 4: เข้ารหัสโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้เข้ารหัสโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้ (ไม่ต้องเว้นช่องว่างระหว่างสวิตช์ /s: กับพาธของโฟลเดอร์ที่ต้องการ)
cipher /e /s:c:\1234
ตัวอย่างที่ 5: เข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 , โฟลเดอร์ C:\1234 \12 และโฟลเดอร์ C:\1234 \34
คำสั่งที่ใช้เข้ารหัสฟไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 , โฟลเดอร์ C:\1234 \12 และโฟลเดอร์ C:\1234 \34 เป็นดังนี้ (ให้เว้นช่องว่างระหว่างแต่ละโฟลเดอร์ C:\1234\* ช่องว่าง C:\1234 \12\* ช่องว่าง C:\1234 \34\*)
cipher /e /a C:\1234\* C:\1234 \12\* C:\1234 \34\*
::การใช่งานคำสั่ง cipher เพื่อถอดรหัสไฟล์และโฟลเดอร์
ตัวอย่างที่ 6: ยกเลิกการเข้ารหัสโฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้ยกเลิกการเข้ารหัสโฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /d c:\1234
ตัวอย่างที่ 7: ยกเลิกการเข้ารหัสไฟล์ชื่อ Windowsxp.pdf ที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้ยกเลิกการรหัสไฟล์ชื่อ Windowsxp.pdf ที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /d /a c:\1234\Windowsxp.pdf
ตัวอย่างที่ 8: ยกเลิกการเข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้ยกเลิกการเข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดที่อยู่โฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้
cipher /d /a c:\1234\*
ตัวอย่างที่ 9: ยกเลิกการเข้ารหัสโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234
คำสั่งที่ใช้ยกเลิกการเข้ารหัสโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 เป็นดังนี้ (ไม่ต้องเว้นช่องว่างระหว่างสวิตช์ /s: กับพาธของโฟลเดอร์ที่ต้องการ)
cipher /d /s:c:\1234
ตัวอย่างที่ 10: ยกเลิกการเข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 , โฟลเดอร์ C:\1234 \12 และโฟลเดอร์ C:\1234 \34
คำสั่งที่ใช้ยกเลิกการเข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ C:\1234 , โฟลเดอร์ C:\1234 \12 และโฟลเดอร์ C:\1234 \34 เป็นดังนี้ (ให้เว้นช่องว่างระหว่างแต่ละโฟลเดอร์ C:\1234\* ช่องว่าง C:\1234 \12\* ช่องว่าง C:\1234 \34\*)
cipher /d /a C:\1234\* C:\1234 \12\* C:\1234 \34\*
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
การใช้คำสั่ง Cipher เพื่อป้องกันการกู้ข้อมูล: http://thaiwinadmin.blogspot.com/2008/02/kb2008065.html
Keywords: Cipher Encryption
© 2008 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
No comments:
Post a Comment
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML