Pages - Menu

Pages - Menu

Pages

Wednesday, April 30, 2008

มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ด้าน IT

[อัพเดทล่าสุด: 27 มกราคม 2552]

มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ด้าน IT
คิดว่าหลายท่านที่ติดตามข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ ในช่วงปีกว่ามานี้ คงจะได้ยินคำว่าสภาวะโลกร้อนหรือ Global Warming กันค่อยข้างบ่อย ซึ่งเจ้าสภาวะโลกร้อนนี้ทำให้สภาวะอากาศบนโลกเกิดความแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล ที่ที่เคยหนาวกลับร้อน ที่ที่เคยร้อนกลับหนาว และอื่นๆ อีกมากมาย

นอกจากช่วยประหยัดไฟฟ้าโดยการปิดเมื่อไม่ใช้หรือใช้เท่าที่จำเป็นแล้ว สำหรับคนในส่วน IT อย่างเราๆ ท่านๆ สิ่งที่พอจะช่วยได้อีกทางคือการใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีผลกระทบอย่างสิ้นเชิง แต่อย่างน้อยก็ช่วยลดผลกระทบลง และถ้าทุกคนช่วยกัน ก็คงส่งผลที่ยิ่งใหญ่ได้

มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ด้าน IT
มาตรทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ด้าน IT นั้นมีอยู่หลายๆ ตัวด้วยกัน โดยมาตรฐานที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป มีดังนี้

1. Energy Star

Energy Star

มาตรฐาน Energy Star นั้น จะเป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยโครงการมาตรฐาน Energy Star นั้นเริ่มต้นโดยองค์กร Environment Protection Agency (EPA) ในปี 1992 โดยเริ่มแรกนั้นจะเป็น มาตรฐาน Energy Star เวอร์ชัน 1.0 และได้รับการพัฒนาต่อเนื่องจนเป็นเวอร์ชัน 4.0 ในปัจจุบัน

มาตรฐาน Energy Star 4.0 ได้มีการกำหนดการประกาศใช้เป็นสองขั้น (Tier) ซึ่งในขั้นแรก (1st Tier) ได้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมาและในขั้นที่สอง (2nd Tier) ที่คาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนมกราคม พ.ศ.2552 ซึ่ง EPA ตั้งเป้าหมายว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่วางจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ จะต้องมีระบบ Power Management ที่ 40% ภายในปีพ.ศ.2553 60% ภายในปี พ.ศ.2555 และมากกว่า 80% ภายในปี พ.ศ.2557

มาตรฐาน Energy Star 4.0 นั้น มีผลครอบคลุมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น จอมอนิเตอร์ และอุปกรณ์จ่ายกระแสไฟฟ้า (Power Supply) ซึ่งได้มีการจำแนกประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้อย่างชัดเจนภายใต้มาตรฐานนี้ไว้ ดังนี้

การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาและมีเครื่องหมาย Energy Star นั้น จะหมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์มีคอนฟิเกอเรชันพื้นฐานของตรงตามคุณสมบัติการจัดการพลังงานทั้งหมดของ ENERGY STAR® แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป้นเช่นนั้นตลอดไป นั้นคือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าคอนฟิเกอเรชันใด ๆ เช่น การติดตั้งการ์ดเอ็กซ์แพนชันหรือไดรฟ์เพิ่มเติม ก็อาจเพิ่มการใช้พลังงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จนเกินระดับที่มาตรฐาน ENERGY STAR® ของ EPA ได้กำหนดไว้ก็เป็นได้ สำหรับตลาด IT ในประเทศไทยนั้น โดยส่วนมากจะยังเป็น มาตรฐาน Energy Star 3.0 มี บางยี่ห้อเช่น Dell ว่าใช้ มาตรฐาน Energy Star 4.0 สำหรับการตรวจสอบว่าเป็นมาตรฐาน Energy Star เวอร์ชันอะไรนั้น หากเป้น HP จะต้องนำหมายเลขรุ่น (Model) และหมายเลขริวิชัน (Revision number) ไปตรวจสอบในเว็บไซต์ http://www.80plus.org/

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1. thai environment website http://www.thaienv.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=367&Itemid=27
2. 80Plus http://www.80plus.org/
3. HP 80Plus Power Supply http://www.hp.com/sbso/solutions/pc_expertise/energy-efficient-computing/80plus.html?jumpid=reg_R1002_USEN
4. Dell http://support.dell.com/support/edocs/systems/opgx200/th/ug/intro.htm

2. TCO

TCO

มาตรฐาน TCO เป็นมาตรฐานที่เห็นได้บ่อยบนอุปกรณ์ประเภทจอภาพคอมพิวเตอร์ มาตรฐาน TCO นั้นถือกำเนิดในภาคพื้นยุโรป โดย TCO Development ซึ่งก่อตั้งโดย Swedish Confederation of Professional Employees มาตรฐาน TCO นั้นประกาศใช้ครั้งแรกในปี 1992 (TCO’92) และได้รับการพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมา TCO’99, TCO’01, TCO’04, TCO’03, TCO’05, TCO’06 และ TCO’07 มาตรฐาน TCO นั้นจะมีหลายเวอร์ชันด้วยกัน โดยแต่ละเวอร์ชันจะเป็นข้อกำหนดของแต่ละอุปกรณ์

• TCO’99
มาตรฐาน TCO’99 เป็นมาตรฐานที่เน้นความสะดวกและปลอดภัยของผู้ใช้งาน (Workload Ergonomics) ระบบนิเวศวิทยา (Ecology) และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า (Energy) โดย TCO’99 จะครอบคลุมอุปกรณ์ 3 รายการ คือ จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Desktop และ คีย์บอร์ด

• TCO’01
มาตรฐาน TCO’01 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์เคลื่อนที่

• TCO’03
มาตรฐาน TCO’03 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะจอภาพคอมพิวเตอร์ เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐาน TCO’99 โดยเน้นที่ความสะดวกและปลอดภัยของผู้ใช้งาน (Workload Ergonomics) ระบบนิเวศวิทยา (Ecology) และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า (Energy)

• TCO’04
มาตรฐาน TCO’04 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับข้องเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน

• TCO’05
มาตรฐาน TCO’05 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Desktop และ Notebook เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐาน TCO’99 โดยเน้นที่ความสะดวกและปลอดภัยของผู้ใช้งาน (Workload Ergonomics) ระบบนิเวศวิทยา (Ecology) และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า (Energy) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งแบบ Desktop และ Notebook

• TCO’06
มาตรฐาน TCO’04 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ Media Displays

• TCO’07
มาตรฐาน TCO’07 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ Headsets

• Workload Ergonomics
ในส่วนของ Workload Ergonomics ของ มาตรฐาน TCO นั้น จะเป็นการกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีช่อง USB อยู่ข้างหน้าของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 1 ช่อง และสำหรับการตรวจวัดการแผ่รังสีที่เกิดจากการใช้งานไม่เกินค่าที่กำหนดไว้

• Ecology
ด้าน Ecology หรือ ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยานั้น มาตรฐาน TCO จะเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับส่วนประกอบ/ส่วนผสมของแต่ละชิ้นส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในเบื้องต้นว่า ทุกชิ้นส่วนอุปกรณ์จะต้องผลิตโดยปราศจากสารตะกั่ว แคดเมียม และปรอท

• Maximum Energy Consumption
ด้าน Maximum Energy Consumption ของ มาตรฐาน TCO นั้น จะเป็นการกำหนดการใช้พลังงานสูงสุดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่เกิน 5 วัตต์ สำหรับ Sleep Mode และไม่เกิน 2 วัตต์ สำหรับ Standby Mode เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งแบบ Desktop และ Laptop ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน TOC’05 จะสามารถใช้เครื่องหมาย TOC’05 บนผลิตภัณฑ์ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติมของมาตรฐาน TCO สามารถสืบค้นได้ที่ www.tcodevelopment.com

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1. Thai environment เว็บไซต์ http://www.thaienv.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=367&Itemid=27
2. TCO Developmen เว็บไซต์ http://www.tcodevelopment.com

3. RoHS

RoHS

มาตรฐาน RoHS เป็นข้อกำหนดที่บังคับใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่ซื้อขายในสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี2006 ที่ผ่านมา สำหรับในประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอมริกา ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ในปัจจุบันก็เริ่มมีการกำหนดข้อบังคับในลักษณะนี้เช่นกัน

มาตรฐาน RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด ที่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้น ซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงสายไฟ จะต้องผ่านตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยสารที่จำกัดปริมาณในปัจจุบัน กำหนดไว้ 6 ชนิด ดังนี้

1.ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
2.ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
3.แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.01% โดยน้ำหนัก
4.เฮกซะวาเลนท์ (Cr-VI) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
5.โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
6.โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก

ชนิดของสารอันตรายที่ห้ามใช้ รวมถึงรายการข้อยกเว้นที่ได้มีการระบุในระเบียบนี้ อาจมีการเพิ่มหรือลด ได้อีกในอนาคตทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาที่เกี่ยวข้อง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1. Thai RoHS เว็บไซต์ http://www.thairohs.org
2. เว็บไซต์ http://ec.europa.eu/environment/index_en.htm

Keywords: Green PC Energy Star TCO RoHS

© 2008 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

No comments:

Post a Comment

เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML