Pages - Menu

Pages - Menu

Pages

Friday, November 16, 2007

การเพิ่ม Windows XP เวิร์กสเตชันเข้าเป็นสมาชิก Domain

แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 13 มกราคม 2551

การเพิ่ม Windows XP เวิร์กสเตชันเข้าเป็นสมาชิกโดเมน
โดยทั่วไปนั้น การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการวินโวส์ จะมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ Workgroup และ Domain โดยรายละเอียดของทั้ง 2 ลักษณะ มีดังนี้

Workgroup
การใช้งานในแบบ Workgroup นั้น ส่วนมากจะเป็นการใช้งานทั่วไปของผู้ใช้ตามบ้าน หรือว่าเป็นการใช้งานในสำนักงานที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก และไม่มีการการติดตั้งให้บริการ Acitve Directory อยู่บนระบบเครือข่าย โดยชื่อของ Workgroup นั้น จะถูกกำหนดในขั้นตอนการติดตั้ง ซึ่งค่าดีฟอลท์จะเป็น "Workgroup" และสามารถมีสมาชิกเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการว Windows 98, Windows ME, Windows 2000 Professional, Windows XP Home และ Professional, Windows 2000 Server, Windows Server 2003 และ Windows Vista

สำหรับการแชร์ทรัพยากรต่างๆ เช่น ไฟล์และโฟลเดอร์, เครื่องพิมพ์ เป็นต้น จะเป็นการแชร์ในแบบ Peer-to-Peer โดยในการเข้าใช้งานนั้นอาจมีความยุ่งยากมาก ถ้าหากมีการกำหนดยูสเซอร์และรหัสผ่านไว้ ดังนั้นการใช้งานจึงเหมาะกับการใช้ในระบบเครือข่ายที่มียูสเซอร์ไม่มากนัก

Domain
การใช้งานในแบบ Domain นั้น ส่วนมากจะนิยมใช้งานองค์การที่ขนาดกลางจนถึงใหญ่ โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญ คือ ต้องมีการติดตั้ง Acitve Directory ให้บริการบนระบบเครือข่าย โดยชื่อของ Domain นั้น จะถูกกำหนดในขั้นตอนการติดตั้ง Active Directory และแบ่งสมาชิกออกเป็น 3 ประเภทด้วกัน คือ
1. Domain Controller (DC) เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ Domain มีสมาชิกเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 2000 Server และ Windows Server 2003 เท่านั้น
2. Member Server เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ แก่ยูสเซอร์ เช่น File Server, Print Server, DHCP Server,Web Server เป็นต้น สมาชิกของกลุ่มนี้ สามารถเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 2000 Server และ Windows Server 2003 เท่านั้น
3 Member Computer เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สมาชิกของโดเมน ซึ่งจะเป็นผู้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ของโดเมน เช่น User Account, Services, System Policies เป็นต้น เครื่องคอมพิวเตอร์สมาชิกของโดเมนนั้นสามารถถูกควบคุมและจัดการได้โดย Acitve Directory และสมาชิกจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 98, Windows ME, Windows 2000 Professional, Windows XP Professional และ Windows Vista (Business/Ultimate/Enterprise)

การแชร์ทรัพยากรต่างๆ ในระบบ Domain นั้น จะเป็นการแบบรวมศูนย์ ซึ่งโดยทั่วไปจะรับหน้าที่โดยตัว Member Server ในการให้บริการแชร์ทรัพยากรต่างๆ เข่น ไฟล์และโฟลเดอร์, เครื่องพิมพ์ เป็นต้น และเมื่อยูสเซอรืต้องการเข้าใช้งานทรัยากรที่แชร์บนระบบโดเมนก็จะใช้ "Domain user" ซึ่งเก็บอยู่บน DC เป็นตัวตรวจสอบสิทธิ์ในการใช้งาน ทำให้การจัดการระบบ User & Password สามารถทำได้ง่ายกว่าแบบ Workgroup เนื่องจากสามารถจัดการจากส่วนกลางได้ ดังนั้นการใช้งานในลักษณะ Domain จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในระบบที่ใหญ่และมีผู้ใช้ค่อนข้างมาก

การเตรียมตัวก่อนเข้าเป็นสมาชิกของโดเมน
การเพิ่มคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP Professional เข้าเป็นสมาชิกของโดเมนได้นั้น จะต้องทำโดยยูสเซอร์ที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม Domain Admins โดยก่อนที่จะสามารถเพิ่มคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP Professional เข้าเป็นสมาชิกของโดเมนได้นั้น จะต้องทำการความพร้อมในด้านต่างๆ ดังนี้

1. มีโดเมนยูสเซอร์และพาสเวิร์ดที่มีสิทธิ์ในการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าเป็นสมาชิกของโดเมน
2. ทำการคอนฟิกค่า DNS Server ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเข้าเป็นสมาชิกของโดเมน ให้สอดคล้องกับของระบบ Active Directory
3. ทำการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเพิ่มเข้าเป็นสมาชิกของโดเมนเข้ากับระบบเครือข่าย และทดสอบการใช้งาน โดยจะต้องสามารถติดต่อกับ DNS Server และ Domain Controler ของ Active Directory ได้

ในกรณีนี้จะอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า เราทราบโดเมนยูสเซอร์และพาสเวิร์ดที่มีสิทธิ์ในการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าเป็นสมาชิกของโดเมน และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเพิ่มเข้าเป็นสมาชิกของโดเมน สามารถติดต่อการสื่อสารกับ DNS Server และ Domain Controller ของ Active Directory ได้อย่างไม่มีปัญหา สำหรับการคอนฟิกและตรวจสอบระบบ DNS Server ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเพิ่มเข้าเป็นสมาชิกของโดเมน ให้สอดคล้องกับของระบบ Active Directory มีขั้นตอนดังนี้

1. บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเพิ่มเข้าเป็นสมาชิกของโดเมน ให้คลิกที่ Start แล้วคลิกที่ Control Panel
2. ในหน้าต่าง Control Panel ให้ดับเบิลคลิกที่ Network Connections
3. ในหน้าต่าง Network Connections ให้คลิกขวาที่ Local Area Connection แล้วคลิก Properties ดังรูปที่ 1

Network Connections
รูปที่ 1 Network Connections

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Local Area Connection Properties ให้คลิกเลือก Internet Protocol (TCP/IP) แล้วคลิกที่ Properties ดังรูปที่ 2

Local Area Connection Properties
รูปที่ 2 Local Area Connection Properties

5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Internet Protocol (TCP/IP) Properties ให้ตรวจสอบค่า Preferred DNS server และ Alternate DNS server ว่าได้ตั้งค่าถูกต้องแล้วหรือไม่ ในกรณีที่ตั้งค่าเป็น Obtain DNS Server automatically ก้ให้ตรวจสอบว่าค่า DNS server ที่กำหนดบน DHCP server ตั้งค่าไว้ถูกต้องแล้วหรือไม่

Internet Protocol (TCP/IP) Properties
รูปที่ 3 Internet Protocol (TCP/IP) Properties

6. หากการตั้งค่าทุกอย่างถูกต้องแล้วให้คลิก OK สองครั้งเพื่อจบการทำงาน และออกจากการตั้งค่า DNS Server

การเพิ่มเครื่อง Windows XP เวิร์กสเตชันเข้าเป็นสมาชิกโดเมน
เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะทำการเพิ่มเข้าเป็นสมาชิกโดเมน ได้รับการตั้งค่าต่างๆ ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเพิ่มเข้าเป็นสมาชิกของโดเมนตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. คลิกปุ่ม Start คลิกขวาที่ My Computer แล้วคลิก Properties (หรือคลิกขวาที่ไอคอน My Computer บนเดสท็อปแล้วคลิก Properties / หรือกดปุ่ม Windows+Break พร้อมกัน)
2. ที่ไดอะล็อก System Properties ให้คลิกแท็บ Computer Name แล้วคลิก Change ดังรูปที่

Computer Name
รูปที่ 4 Computer Name

2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Computer Name Changes ในส่วน Member of ให้คลิกเลือก Domain แล้วพิมพ์ชื่อโดเมนที่ต้องการเข้าเป็นสมาชิกในช่องด้านล่างดังรูปที่ 5

Computer Name Changes
รูปที่ 5 Computer Name Changes

3. วินโดวส์จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ให้ใส่ยูสเซอร์และพาสเวิร์ดดังรูปที่ 6 ให้ใส่โดเมนยูสเซอร์และพาสเวิร์ดที่มีสิทธิ์ในการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าเป็นสมาชิกของโดเมน

Computer Name Changes
รูปที่ 6 Computer Name Changes

4. หากการเข้าเป็นสมาชิกโดเมนสำเร็จวินโดวส์จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ ดังรูปที่ 7 ให้คลิก OK

Welcome to your_domain
รูปที่ 7 Welcome to your_domain

5. จากนั้นวินโดวส์จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์แจ้งให้ทำการรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงมีผล ดังรูปที่ 8 ให้คลิก OK ซึ่งวินโดวส์จะถามว่าจะทำการรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ทันทีหรือไม่ ดังรูปที่ 9 ให้คลิก Yes เพื่อทำการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ในทันที

You must restart this computer
รูปที่ 8 You must restart this computer

Do you want to restart your computer now
รูปที่ 9 Do you want to restart your computer now

6. หลังจากที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการรีสตาร์ทแล้วเสร็จก็จะแสดงหน้า Welcome to Windows ดังรูปที่ 10 ให้กดปุ่ม Control+Alt+Delete พร้อมกัน ซึ่งจะได้หน้าต่างดังรูปที่ 11

Welcome to Windows
รูปที่ 10 Welcome to Windows

7. ในหน้า Log On to Windows ดังรูปที่ 11 (หากวินโดวส์แสดงเพียง 2 ช่อง คือ Username และ Password ให้ทำการคลิกที่ Options) ให้ทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่อง Log on to เลือกเป็น Domain ตามที่คอนฟิกในขั้นตอนที่ 2 จากนั้นใส่โดเมนยูสเซอร์และรหัสผ่าน เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อทำการ Log on เข้าสู่วินโดวส์

Log On to windows
รูปที่ 11 Log On to windows

8. หากใส่ยูสเซอร์เนมและรหัสผ่านถูกต้อง ระบบก็จะทำการ Log on เข้าสู่วินโดวส์ ซึ่งจะได้หน้า Desktop ดังรูปที่ 12 จากนั้นก็สามารถใช้งานต่างๆ ได้ตามปกติ

Windows Desktop
รูปที่ 12 Windows Desktop


Keywords: วิธีการ การเพิ่ม Add Windows XP Workstation to Domain join

© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

No comments:

Post a Comment

เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML