แก้ไขล่าสุด: 21 กันยายน 2552
บทความนี้จะแสดงขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP Professional โดยภาพที่นำมาประกอบบทความนั้น จะเป็นการติดตั้ง Windows XP Professional Server Pack 2 เป็น Guest OS บนระบบ Virtual PC 2007 ซึ่งใช้เวลาติดตั้งประมาณเกือบ 1 ชั่วโมง สำหรับรายละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็น Host OS นั้น มีดังนี้
- ซีพียู Intel 3.0 GHz L2 1MB
- RAM 512 DDR2-533
- Windows XP SP2
- Hard Disk 80GB (SATA-150)
- Virtual PC 2007
- RAM Virtual Machine 256MB
การเตรียมตัวก่อนลงมือติดตั้ง
ก่อนที่จะทำการ Windows XP Professional นั้น ให้ท่านทำการสำรวจความพร้อมของระบบฮาร์ดแวร์เสียก่อน โดย Windows XP Professional นั้น มีความต้องการฮาร์ดแวร์ (Hardware) ขั้นต่ำตามคำแนะนำของไมโครซอฟต์ ดังนี้
- ซีพียู (CPU) ความเร็วขั้นต่ำ 133 MHz. โดยไมโครซอฟต์แนะนำที่ 550 MHz.
- RAM ขั้นต่ำ 64 MB. โดย Microsoft แนะนำที่ 256 MB.
- พื้นที่ Hard Disk อย่างต่ำ 1.5 GB
สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น คือ จอภาพ VGA/Super VGA, คีย์บอร์ดและเมาส์, CD-ROM Drive, แผ่น Windows XP Professional, และ การ์ดเน็ตเวิร์ค (Network Interface Card หรือ NIC)
ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP Professional
วิธีและขั้นตอนต่อไปนี้ เป็นการติดตั้ง Windows XP Professional เป็น Guest OS บนระบบ Virtual PC 2007 ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งนั้น จะเหมือนกับการติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ ทุกประการ
การติดตั้ง Windows XP Professional นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ การติดตั้งในเท็กซ์โหมด และ การติดตั้งในกราฟิกโหมด
การติดตั้งในเท็กซ์โหมด มีขั้นตอนมีดั้งนี้
1. ทําการบูตเครื่องโดยแผ่นซีดี Windows XP Professional จากนั้นเลือก Boot form CD ระบบจะทำการบูตจากแน CD ซึ่งจะได้หน้าจอดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 Windows Setup
2. ในหน้า Welcome to Setup ให้กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้ง Windows XP
รูปที่ 2 Welcome to Setup
3. ในหน้า Windows XP Licensing Agreement ให้อ่านรายละเอียดข้อตกลงการใช้งาน เสร็จแล้วกด F8 เพื่อยอมรับข้อตกลง
รูปที่ 3 Windows XP Licensing Agreement
4. ในหน้า Windows XP Professional Setup ให้เลือกการติดตั้ง ว่าจะติดตั้งบน Hard Disk หรือ Partition ดังรูปที่ 4 (โดยส่วนตัวนั้น ผมชอบการติดตั้งแบบแบ่งพาร์ติชันฮาร์ดดิสก์ มากกว่าการติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์ทั้งก้อน) ให้กดปุ่ม Enter หากเลือกติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์ทั้งก้อนโดยไม่แบ่งพาร์ติชัน แต่หากต้องการติดตั้งแบบแบ่งพาร์ติชันฮาร์ดดิสก์ ให้กดปุ่ม C เพื่อทำการสร้างพาร์ติชัน ในที่นี้จะติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์ทั้งก้อนโดยไม่แบ่งพาร์ติชัน
รูปที่ 4 Create Partition
5. ในหน้าถัดไปจะเป็นการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ (รูปที่ 5) ให้เลือก Format the partition using the NTFS file system (Quick) โดยใช้คีย์ลูกศร เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter
รูปที่ 5 Partition select
6. จากนั้นระบบก็จะทำการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ ดังรูปที่ 6 เมื่อฟอร์แมตเสร็จแล้วจะทำการก็อปปี้ไฟล์ต่างๆ สำหรับใช้ในการติดตั้ง ดังรูปที่ 7
รูปที่ 6 Format Hard Disk
รูปที่ 7 Copying Files
7. (ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการติดตั้งในเท็กซ์โหมด) เมื่อทำการก็อปปี้ไฟล์ต่างๆ สำหรับใช้ในการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำเริ่มทำการติดตั้ง Windows XP ดังรูปที่ 8 เสร็จแล้วจะทำการรีสตาร์ทระบบหนึ่งครั้ง ดังรูปที่ 9 ในขั้นตอนนี้ หากมีแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์อยู่ในไดรฟ์ A ก็ให้เอาแผ่นออก ในกรณีที่ต้องการรีสตาร์ทระบบในทันทีกดให้กดปุ่ม Enter จากนั้นรอจนระบบรีสตาร์ทเสร็จ
รูปที่ 8 Setup Initializes
รูปที่ 9 Restart
การติดตั้งในกราฟิกโหมด มีขั้นตอนมีดั้งนี้
8. ระบบจะทำการรีสตาร์ทซึ่งจะได้หน้าจอดังรูปที่ 10 เมื่อระบบรีสตาร์ทแล้วเสร็จก็จะทำการติดตั้ง Windows XP ในกราฟิกโหมด ดังรูปที่ 11
รูปที่ 10 Starting up
รูปที่ 11 Installing Windows
9. ในหน้าไดอะล็อก Regional and Language Options ดังรูปที่ 12 ทำการตั้งค่าโดยการคลิกที่ปุ่ม Customize และ Details เสร็จแล้วคลิก Next (ค่าเหล่านี้สามารถทำการเปลี่ยนแปลงในภายหลังได้)
รูปที่ 12 Regional and Language Options
10. ในหน้า Personalize Your Software ดังรูปที่ 13 ให้ใส่ชื่อเต็มของท่าน และชื่อขององค์กรของท่าน ในช่อง Name และ Organization ตามลำดับ เสร็จแล้วคลิก Next
รูปที่ 13 Personalize Your Software
11. ในหน้า Computer Name and Administrator Password ดังรูปที่ 14 ให้ใส่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในช่อง Computer name และใส่รหัสผ่านของผู้ดูแลระบบในช่อง Administrator password และในช่อง Confirm password (*ขอแนะนำให้ใส่รหัสผ่านให้กับ Administrator เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน) เสร็จแล้วคลิก Next
รูปที่ 14 Computer Name and Administrator Password
12. ในหน้า Your Product Key ดังรูปที่ 15 ให้ใส่ Product Key ให้ตรวจให้แน่ใจว่าค่าที่ใส่ถูกต้อง จากนั้นคลิก Next (Product Key หากเป็น Windows XP OEM version จะมี COA ติดบนเคสของเครื่องคอมพิวเตอร์ หากเป็น Retail version จะมีติดอยู่บนกล่องซีดี )
รูปที่ 15 Product key
13. ในหน้า Date and Time Settings ดังรูปที่ 16 ให้ทำการตั้งค่า วัน เวลาให้ตรงกับเวลาจริง และตั้งค่าโซนเวลาเป้น GMT+07.00 |Bangkok, Hanoi, Jakarta เสร็จแล้วคลิก Next
รูปที่ 16 Date and Time Settings
14. จากนั้นระบบก็จะทำการติดตั้ง Windows XP ต่อไป ดังรูปที่ 17
รูปที่ 17 Installing Windows
15. ในหน้า Networking Settings ดังรูปที่ 18 ให้เลือก Typical settings แล้วคลิก Next
รูปที่ 18 Networking Settings
16. ในหน้า Workgroup or Computer Domain ให้ใส้ชื่อของ Workgroup ที่ต้องการ ดังรูปที่ 19 เสร็จแล้วคลิก Next (หากต้องการเข้าโดเมนนั้น สามารถดำเนินการในภายหลังได้)
รูปที่ 19 Workgroup or Computer Domain
17. จากนั้นระบบก็จะทำการติดตั้ง Windows XP ต่อไป ดังรูปที่ 20 ให้รอจนการติดตั้งแล้วเสร็จ
รูปที่ 20 Installing Windows
18. เมื่อการติดตั้ง Windows XP แล้วเสร็จ ระบบก็จะทำการรีสตาร์ทเครื่องอีกครั้งหนึ่งดังรูปที่ 21 เมื่อรีสตาร์ทเสร็จก็จะเข้าสู่หน้าจอสำหรับการล็อกออน
รูปที่ 21 Windows Starting up
19. เมื่อรีสตาร์ทเสร็จ Windows XP ก็จะทำการปรับแต่งการแสดงผล (Display Settings) ให้เหมาะสมกับระบบฮาร์ดแวร์โดยอัตโนมัติ ดังรูปที่ 22 ให้คลิก OK บนป็อปอัพเมสเซส เพื่อให้ Windows XP ทำการปรับแต่งการแสดงผล ให้เหมาะสมกับระบบฮาร์ดแวร์โดยอัตโนมัติ
รูปที่ 22 Display Settings
20. เมื่อ Windows XP ทำการปรับแต่งการแสดงผลเสร็จ ก็จะแสดงป็อปอัพเมสเซส ให้ยืนยันว่ายอมรับการตั้งค่า ดังรูปที่ 23 ให้คลิก OK เพื่อยืนยัน
รูปที่ 23 Confirm Display Settings
21. Windows XP จะทำการเริ่มต้นระบบใหม่ดังรูปที่ 24 เสร็จแล้วจะทำการบังคับใช้การตั้งค่าต่างๆ ดังรูปที่ 25
รูปที่ 24 Restart
รูปที่ 25 Applying Computer Settings
22. เมื่อทำการบังคับใช้การตั้งค่าต่างๆ จะแสดงหน้าจอสำหรับให้ล็อกออนเข้าใช้งาน ดังรูปที่ 26 ให้ใส่รหัสผ่านของผู้ดูแลระบบที่กำหนดในขั้นตอนที่ 11 เสร็จแล้วกด Enter หรือ คลิกเครื่องหมายลูกศรที่อยู่ทางด้านขวามือ
รูปที่ 26 Log On Windows
23. ในการล็อกออนเข้าใช้งานครั้งแรกของผู้ใช้แต่ละคนนั้น Windows XP จะทำการสร้าง Profile ของผู้ใช้ ดังรูปที่ 27 เมื่อสร้าง Profile เสร็จแล้วก็จะเข้าหน้า Default Desktop ของผู้ใช้ ดังรูปที่ 28 ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้ทำงานต่างๆ เช่นพิมพ์เอกสาร ท่องอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
รูปที่ 27 Creating User Profile
รูปที่ 28 Default Desktop
ขั้นตอนต่อไป
เมื่อทำการติดตั้ง Windows XP เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปขอแนะนำให้ดำเนินขั้นตอนต่อไป ดังนี้
1. ทำการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส (และอย่าลืมทำการอัพเดทไวรัสซิกเนเจอร์อย่างสม่ำเสมอ) ซึ่งมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบฟรีแวร์ เช่น
- AVG Free Edition ของ Grisoft (http://www.grisoft.com)
- AntiVir Personal Edition ของ AVIRA (http://www.avira.com/en/pages/index.php)
หรือแบบเชิงพานิชย์ เช่น ผลิตภัณฑ์ของบริษัท
- McAfee (http://www.mcafee.com/us/)
- Symantec (http://www.symantec.com/index.jsp)Symantec
- FSecure (http://www.fsecure.com")
- Trend Micro (http://us.trendmicro.com/us/home/index.html)
- Eset (NOD32) (http://www.eset.com)
- BitDefender (http://www.bitdefender.com/)
- Grisoft (AVG) (http://www.grisoft.com/)
- AVIRA (AntiVIR) (http://www.avira.com/en/pages/index.php)
2. ทำการอัพเดทกับไมโครซอฟท์ โดยไปที่เว็บไซต์ (เฉพาะท่านที่แน่ใจว่า Windows XP ที่ใช้งานมีลิขสิทธิ์ถูกต้อง) Windows Update
3. เปิดใช้งาน Windows Firewall ขอแนะนำให้ตั้งค่า Windows Firewall ให้ทำงานโดย Default หากต้องการใช้งาน Personal Firewall ตัวอื่นๆ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือดาวน์โหลดมาใช้งานได้จากเว็บไซต์ Download.com (http://www.download.com)
4. ติดตั้งโปรแกรม Anti Spyware ซึ่งมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบฟรีแวร์ เช่น Windows Defender ของ Microsoft หรือ Ad-Aware 2007 Free ของ Lavasoft สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือดาวน์โหลดมาใช้งานได้จากเว็บไซต์ Download.com (http://www.download.com)
5. (ถ้าทำได้จะเป็นประโยชน์มาก) ทำการสำรองระบบโดยการเก็บเป็นอิมเมจโดยใช้ Norton Ghost (วิธีการทำ Image ของ Hard Disk ด้วยโปรแกรม Norton Ghost) หรือ Acronis True Image หรือสำรองระบบโดยใช้โปรแกรมอื่นๆ ที่ท่านใช้งานอยู่ก็ได้
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
Windows XP Installation step-by-step
© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.
No comments:
Post a Comment
เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อความ HTML